No video

ไกลโฟเสต กับ กลูโฟซิเนต ต่างกันยังไง?

  Рет қаралды 57,510

นาดีดี.คอม

นาดีดี.คอม

Күн бұрын

ไกลโฟเซต หรือ N-(ฟอสโฟโนเมทิล) ไกลซีน เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม (systemic herbicide) และทำให้แห้งตาย (crop desiccation) จัดเป็นสารประกอบจำพวกออแกโนฟอสฟอรัส (organophosphorus compound) โดยฟอสโฟเนตในสารประกอบดังกล่าวจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ EPSP synthase ในพืช ในอดีตเคยมีการใช้สารดังกล่าวเพื่อกำจัดวัชพืช โดนเฉพาะวัชพืชใบกว้าง (broadleaf weeds) รวมไปถึงวัชพืชอื่นที่เจริญเติบโตกับพืชเกษตรกรรม สารปะกอบไกลโฟเสตถูกพบว่ามีฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืชเมื่อ ค.ศ. 1970 โดย John E. Franz นักเคมีของบริษัทมอนซานโต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้มีการผลิตสารประกอบนี้ออกสู่ตลาดเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในปี คศ. 1974 ภายใต้ชื่อการค้า ราวด์อัพ (Roundup) โดยสิทธิบัตรในการผลิตไกลโฟเซตเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าของมอนซานโต้ในสหรัฐอเมริกาได้หมดความคุ้มครองลงในปี คศ. 2000 ปัจจุบันผู้ผลิตรายอื่นจึงสามารถผลิตและจำหน่ายไกลโฟเซตในท้องตลาดได้ในชื่อทางการค้าต่าง ๆ กัน
หลังจากมีการผลิตไกลโฟเซตออกสู่ตลาดเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชโดยมอนซานโต้ ทำให้มีการใช้สารดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการพัฒนาสายพันธุ์พืชเกษตรกรรมโดยการตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซต (Roundup Ready Crop) ยิ่งทำให้มีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งในปี คศ. 2007 ไกลโฟเซตเป็นยากำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการใช้งานในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกในการจัดการเกษตร การตกแต่งสวนหย่อม ภาคอุตสาหกรรม และการใช้ในเชิงพาณิชย์อื่น โดยนับตั้งมีการผลิตไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชในปลายทศวรรษ 1970 จนถึง คศ. 2016 พบว่าทั่วโลกมีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากถึง 100 เท่าตัวทั้งในด้านความถี่และปริมาณการใช้ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต การใช้ไกลโฟเซตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ได้ว่ามีการกระจายตัวของพืชที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซตไปทั่วโลก โดยกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมดังกล่าว รวมถึงการใช้ไกลโฟเซตในภาคเกษตรกรรมนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงมากขึ้น
ไกลโฟเซตถูกดูดซึมได้ทางใบ และถูกดูดซึมได้เล็กน้อยทางรากของพืช จากนั้นสารเคมีชนิดนี้เข้าไปออกฤทธิ์ในส่วนที่มีการเจริญเติบโตของพืชนั้นๆ โดยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนจำพวกอะโรมาติกที่สำคัญของพืช 3 ชนิด คือ ไทโรซีน ทริปโตเฟน และฟีนิลอะลานีน ดังนั้นการใช้ไกลโฟเซตจึงมีประสิทธิภาพเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นสารควบคุมก่อนงอกได้ (preemergent herbicide) การเพิ่มขึ้นของพืชเกษตรที่มีการพัฒนาสารพันธุ์พืชเพื่อให้ทนต่อไกลโฟเซต (เช่น ถั่วเหลือง Roundup Ready ซึ่งเป็นพืชทนไกลโฟเซตสายพันธุ์แรกที่มอนซานโต้ปรับแต่งพันธุกรรม) ทำให้มีการใช้ไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารควบคุมวัชพืชหลังงอกมากขึ้น (post-emergence herbicide)
ในขณะที่ไกลโฟเซตและสารกำจัดวัชพืชสูตรที่มีส่วนผสมของไกลโฟเซตหลากหลายสูตรได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่กำกับดูแลให้ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชในหลายประเทศทั่วโลก ความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากการที่มีการใช้ไกลโฟเซตมากเกินไปก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Пікірлер: 42
@user-lr5ws9ek6r
@user-lr5ws9ek6r 2 ай бұрын
ยาฆ่าหญ้าที่ดีที่สุดไม่มีตัวไหนดีเท่าพาราพอตไม่มีสารตกค้างในดินถ้าลงดินกลายเป็นปุ๋ยทันทีดินไม่เสียหญ้าตายแล้วทำให้ดินร่วนซุยใส้เดือนมากินหญ้าทำให้ดินร่วนดีแต่น่าเสียดายถูกแบนไม่ให้ใช้เพราะมีบางคนเสียผลประโยชน์แต่ยังพอหาใช้ได้แต่แพงเท่าตัวที่สระแก้วแถวชายแดนเขมร 13:15
@user-uc8wh8pg4t
@user-uc8wh8pg4t 2 ай бұрын
ถ้าเราคนใช้จะรู้ดีที่สุดถูกต้องแล้ว
@ketzaa88
@ketzaa88 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
@hunhuinay3979
@hunhuinay3979 3 күн бұрын
หลังจากฉีดแล้วจะมีสารตกค้างในดินนานเท่าไหร่ถุึงจะเข้าไปปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ได้โดยที่ไม่เป็นอันตราย
@user-rf2eh9rd8i
@user-rf2eh9rd8i Жыл бұрын
โดยรวมแล้วกลูโฟซิเนตตายดีกว่าแต่ดินต้องมีความชื้นถึงจะได้ผลดีแตราคาค่อนข้างแพงและต้องใช้ในปริมาณมากสำหรับถัง200ลิตรต้องใส่1.5-2ลิตรหลังจากใช้ดูแล้วบอกเลยว่าดีมากต่อไปใช้กลูโฟซิเนตตัวเดียวเลยผม
@durianchumphae
@durianchumphae Ай бұрын
ต้องใส่สารจับใบด้วยเปล่าค่ะ
@sathirasrathongploy1961
@sathirasrathongploy1961 29 күн бұрын
ไม่ต้องครับ ​@@durianchumphae
@user-lm7de5ob5g
@user-lm7de5ob5g 10 ай бұрын
ทั้งสองชนิดฉีดแล้ว ฝนตกลงมาซึมลงดินรากพืชประทาน(มะม่วง ขนุน)จะดูดสารนี้ใหม(ฉีดไม่โดนใบและลำต้นพืชประทาน) ครับ
@Aof_Kaset_Easy
@Aof_Kaset_Easy Жыл бұрын
เยี่ยมครับผม
@user-uc8wh8pg4t
@user-uc8wh8pg4t 2 ай бұрын
ไกลโฟเสตใช้บ่อยดินเสียทำให้ดินแข็งดินด้านไม่ซึมน้ำรากพืชประธานเน่าพืชจะชงักหยุดการเจริญเติบโต45-60วันผมทดลองกับสวนผลไม้เมื่อก่อนใช้พาราคอทหญ้าตายแล้วดินจะดำและร่วนซุยครับ
@nesthanakrit142
@nesthanakrit142 2 ай бұрын
ไม่เกี่ยวเลยที่มันไม่โตเพราะระอองของยามันไปโดน ไกลโฟเซตย่อยสยายเร็วมากถ้าอยู่ในดินไม่มีผลทำให้ดินเสีย ที่ตกค้างในดินนานคือพาราควอต
@user-uc8wh8pg4t
@user-uc8wh8pg4t 2 ай бұрын
@@nesthanakrit142 ผมผู้ใช้และขายด้วยในระยะที่แบนด์สารพาราคอตชาวสวนส้มเขาใช้ไกลโฟเสตปรากฎส้มรากเน่าดินขาวตายยกสวนกว่า40%ถ้าอยากรู้ให้มาพิสูจน์กับกลุ่มสวนส้มเขียวหวานตำบลแม่สินได้ครับ
@user-uc8wh8pg4t
@user-uc8wh8pg4t 2 ай бұрын
@@nesthanakrit142 ถ้าพูดตามหลักวิชาการอย่างที่ท่านพูดแต่คนที่ทำประจำทุกปีมันจะย้อนแย้งกับวิชาการ ขนาดลูกผมจบโทวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เขายังยอมรับวิชาการไม่เท่าคนทำประจำเพราะเรียนรู้และสังเกตจากประสบการณ์จริง
@escapehardship
@escapehardship 10 ай бұрын
ใช้อยู่ครับ ฉีดในสวนทุเรียน
@durianchumphae
@durianchumphae Ай бұрын
ต้องใส่สารจับใบหรือเปล่าค่ะ
@plebb3643
@plebb3643 Жыл бұрын
หาซื้อได้ที่ไหนค่ะกลููโฟซิเนต จะใชักับข้าวดีด ราคาเท่าไรค่ะ
@yoonjaehyuktreasure3971
@yoonjaehyuktreasure3971 9 ай бұрын
สารแบบดูดซึม จะซึมและตกค้าง นานแค่ไหนค่ะ จะเป็นอันตรายต่อผลไม้ที่ปลูก ไหมค่ะ
@user-uk1ey7lh8r
@user-uk1ey7lh8r 8 ай бұрын
😅😅😅คุยสนุกดีครับ
@zerou2325
@zerou2325 2 ай бұрын
ทำไมกลูโฟซิเนส น้ำถึงมีหลายสี และมีหลายราคาที่ต่างกันมากครับ
@1rst-tq8bx
@1rst-tq8bx 2 ай бұрын
มันผสมหัวเชื้อให้เจือจางตามราคาค่ะ แกลลอลสีแดงก็จะดีกว่าเหนียวเข้มหน่อย
@user-hn8gd6uu2k
@user-hn8gd6uu2k 5 ай бұрын
ลอใช้มาปีนี้รอบ2
@tkkt8974
@tkkt8974 6 ай бұрын
ผมใช้กลูโฟซิเนต ไปปีมาน4ชั่วโมงฝนตกเป้นไรป่าวคับ
@user-dm1im3zp2y
@user-dm1im3zp2y 9 ай бұрын
ฉีดฆ่าหญ้าในนาก่อนไถ เตรียมดิน ประมาณ 7 วัน ก่อน หยอดข้าวโพด ได้ไหมครับ
@user-ec1pv8kw4t
@user-ec1pv8kw4t 10 ай бұрын
ฉีดในเผือกได้ไหมครับ
@dashlimsakul1390
@dashlimsakul1390 10 ай бұрын
ไม่ได้ครับ
@user-de8gs8pk6o
@user-de8gs8pk6o Жыл бұрын
กลูโพซิเนตแอมโมเนียม มาฉีดข้าวตอน30 วัน ข้าวจะตายได้ไหม
@user-op7xi9kn9g
@user-op7xi9kn9g 11 ай бұрын
อย่านะ ยานี้ไม่เลือกทำลายตายหมดขอแค่โดนทั้งต้น พวกเลือกทำลายถึงจะใช้ได้กับพวกข้าว แต่ผ่านมาเป็นเดือนแล้วคาดว่าคุณคงไม่ได้ใช้
@user-th6ix9on2x
@user-th6ix9on2x 5 ай бұрын
หาซื้อได้ที่ใหนคัรบ
@user-hw6wq1fu9g
@user-hw6wq1fu9g Жыл бұрын
ลองใช้มาแล้วครับได้ผลดีมากเลยคร้บไม่กระทบต้นมันสำปะหลังเลย(กลูโฟซืเนต)
@kjhqwe6745
@kjhqwe6745 3 ай бұрын
ดินแห้งขีดตายไหมคับ
@user-ym1xv8zh3p
@user-ym1xv8zh3p Жыл бұрын
ใช้ฉีดในนาข้าวตัวไหนคะ แก้ข้าวดีคะ
@khaphayutcmt9963
@khaphayutcmt9963 Жыл бұрын
ตอนไปซื้อไกลโฟเสต ผมต้องเตรียมบัตรเกษตรกรไปไหมครับ และต้องไปอบรมตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดไหมครับ
@pnat-sr3nh
@pnat-sr3nh 11 ай бұрын
ไกลโฟเสท 48 ผมซื้อทีละ 2 แกลลอน ไม่เคยใช้บัตรครับ แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปสั่งซื้อจากลาซาด้าแทนแล้ว รวมค่าขนส่ง กะหักส่วนลดแล้ว ตกแกลลอน(4ลิตร) ละไม่เกิน 400 บาท นั่งรอรับสบายๆ อยู่ที่บ้าน ขี่รถไปซื้อตามร้านยี่ห้อเดียวกันขายอยู่ 700 บาท ไม่รวมค่าน้ำมันไปกลับ
@suwatchai3397
@suwatchai3397 11 ай бұрын
@@pnat-sr3nhใช่ครับสั่งผ่านแอปปถูกกว่า200-300บาทเลยเเถวบ้านดูดซึม650-750เผาไหม้800-850 สั่งในเเอป415-450
@wuttinan278
@wuttinan278 5 ай бұрын
หญ้าคาตายไหมครับ
@user-pd3he5rb9b
@user-pd3he5rb9b Күн бұрын
ตายครับ ตายดีด้วย
@user-og4fk1bz2r
@user-og4fk1bz2r 19 күн бұрын
กลูโฟซิเนตพ่นสวนพริกจะมีผลข้างเคียงเช่นนวลใบพืชไหม้หรือใต้ใบไหม้จากการระเหยไหมครับ
@suwatchai3397
@suwatchai3397 11 ай бұрын
ดูดซึมต้องใช้ร่วมกับยาหมาแดงเเบบผงครับตายดีแถมมคุมหญ้านานกว่าแบบเผาไหม้ใส่สารจับใบยิ่งดีหญ้าตายเรียบ
@za_-ip1un
@za_-ip1un 11 ай бұрын
อัตตราการใช่ ไกลโฟเซต เท่าไหร่ หมาแดงผง เท่าไหร่ น้ำกี่ลิตรครับ
@escapehardship
@escapehardship 10 ай бұрын
@@za_-ip1un ยา 1 ปลากระป๋อง 125 cc หมาแดง 1 ช้อนแกง น้ำ 20 ลิตร
แนะนำ 4 ยาฉีดหญ้า  กลูโฟซิเนส ตัวไหนดีใช้ยังไง ดีจริงไหม ??
8:01
เจพีที แทรกเตอร์ ปากช่อง ลํานารายณ์
Рет қаралды 67 М.
王子原来是假正经#艾莎
00:39
在逃的公主
Рет қаралды 7 МЛН
女孩妒忌小丑女? #小丑#shorts
00:34
好人小丑
Рет қаралды 79 МЛН
ความแตกต่าง ไกลโฟเสท***กลูโฟซิเนต*** พาราควอต
23:01
Kasetworld โลกแห่งการเกษตร
Рет қаралды 100 М.
กลุ่มสาร  ฟังเข้าใจ ใน 5 นาที
4:39
นาดีดี.คอม
Рет қаралды 26 М.
หญ้ากระจุย เคนย่า ลุยเรียบ
9:13
อารักขาพืชเจียไต๋
Рет қаралды 34 М.
王子原来是假正经#艾莎
00:39
在逃的公主
Рет қаралды 7 МЛН