เรียนแบบเยอรมัน | ร้อยเรื่องรอบโลก EP203

  Рет қаралды 233,770

รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี

รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี

Жыл бұрын

เยอรมนีคือหนึ่งในประเทศก้าวหน้าในหลายๆด้าน หนึ่งในนั้นคือด้านการศึกษา
ที่นั่นมีโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ไม่ได้มีอาคารเรียนโอ่อ่าหรูหรา ผนังเต็มไปด้วยศิลปะแนวกราฟิตี้ ฝีมือของเด็กนักเรียน
เป็นโรงเรียนที่นอกจากจะไม่มีการให้คะแนนด้วยเกรดแล้ว นักเรียนยังสามารถช่วยอออกแบบวิธีการเรียนการสอนและเลือกเรียนหัวข้อที่ตัวเองสนใจได้อีกด้วย ขณะที่บทบาทของครูก็ปรับเปลี่ยนจากคนสอน มาเป็นโค้ช ที่คอยสังเกตว่าเด็กต้องการอะไรและให้คำปรึกษา
เพราะโรงเรียนแห่งนี้เชื่อว่านักเรียนทุกคนมาพร้อมความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป หน้าที่ของครูคือการแกะสิ่งนั้นออกมาและเจียระไนให้เปล่งประกายตามความถนัดของแต่บุคคล
_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _
ติดตามชมวิดีโอใหม่ๆ ได้ใน “เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี“
แล้วอย่าลืมกด Subscribe!
หรือแวะมาทักทายพูดคุยกันได้ที่
Facebook: / karunabuakamsri
E-mail: online@alkalink.com

Пікірлер: 585
@rakchanokinthanam6594
@rakchanokinthanam6594 Жыл бұрын
ลูกชาย เรียนที่โรงเรียนที่ไทย ตั้งเเต่อนุบาล จนถึง ป.3 เขียนได้เเค่ชื่อตัวเอง ครูพูดกรอกหู ทุกครั้งว่าโง่ ให้นั่งหลังห้อง พอย้ายมาเรียน ที่เบลเยี่ยม จากเด็กหลังห้อง ตอนนี้เค้าอายุ 19 ผลการเรียนโดดเด่น ได้ผลคะเเนนระดับต้นๆ สิ่งทีเห็น ครูที่นี้สอน คือให้ความอิสระ ในความคิด รับฟัง พูดคุย เพื่อเข้าถึงเด็ก เพื่อช่วยชี้เเนะ ให้เด็ก เเละคอยพูดชมตลอด จนเด็กมีความมั่นใจ เเละกล้าที่จะ เเสดงความคิด เเละเลือกเรียนในสิ่งที่ ตัวเองชอบ ถ้าครูไทย ทำได้เเบบนี้ จะเสร้างผู้ใหญ่ที่มี คุณภาพ ได้อีกมากมาย ความเห็นส่วนตัวนะคะ
@bj-benyintira9942
@bj-benyintira9942 Жыл бұрын
ถูกต้อง เอาตรงๆ การเรียนการสอนในไทย จะเป็นแบบที่คุณเล่า การจะได้ครูดีๆ ครูก็คือคนเหมือนๆเรา คนที่เป็นครูจะต้องมีความคิดอารยะอย่างมาก ต้องเป็นครูเพราะความอยากเป็น ไม่ใช่เป็นครูเพราะแค่อยากได้เงิน การทำงานจะออกมาต่างกัน ให้ดูคนยุโรป กับคนไทยสิ ความคิดเห็น ความประพฤติ การแสดงออก การกระทำ ต่างกันมาก บ้านเมืองเลยแตกต่างอย่างที่เห็นอย่างสิ้นเชิง เราอยู่เยอรมัน คนที่นี่ไปทำงานเขาจะไปกังวลกับการต้องแต่งหน้าแต่งตัวเปะเว่อ แต่เขาจะเน้นที่การทำงานมากกว่าการแต่งตัวภายนอก หรือออฟฟิศต้องเริดหรู แต่คุณภาพต่ำ ประเทศที่เจริญแล้ว จะคิดต่าง สิ่งต่างๆเลยออกมาต่าง
@somchitgalbas1413
@somchitgalbas1413 Жыл бұрын
ถูกเอาง่ายๆขนาดเราทำงานที่นี้เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องคอยเกรงใจเจ้านายเจ้านายก็แค่คนจ้างงานส่วนเราก็ทำงานให้เขาสรุปมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากันไม่เหมื่อนที่ประเทศไทยกลัวเจ้านายจนไม่ต้องได้พูดได้จากันเลยที่เดี่ยวเชี่ยว😂
@user-so3ds7fh8i
@user-so3ds7fh8i Жыл бұрын
คนในครอบครัวเราหลายคนก็มีอาชีพครูนะคะ ก็เคยคุยปัญหากันคือมันอย่างเยอะนะคะอย่างเรื่องคุณภาพขอครูเราเชื่อนะคะ ว่าส่วนใหญ่ก็เก่งสอบคัดเลือกเข้ามาได้ แต่หลังจากเข้ามาแล้วคุณภาพและการพัฒนามวลรวมความรู้ที่จะสอนนี้สิ คุณเชื่อไหมค่ะทุกวันนี้เด็กอยู่กับครู โรงเรียน มากกว่าพ่อแม่ อยู่กับการนั่งน่าคอมพิวเตอร์เล่นเกมส์ โทรศัพท์มากกว่า
@bj-benyintira9942
@bj-benyintira9942 Жыл бұрын
@@user-so3ds7fh8i มันยากที่จะแก้ไขค่ะ เพราะขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของแต่ละคนเลยเรื่องแบบนี้ แต่ที่เยอรมัน เค้าเริ่มจากที่บ้าน พอโตขึ้นมาเป็นพ่อเป็นแม่คน เค้าก็จะป้อนสิ่งเหล่านี้ให้กับลูกๆจากที่บ้าน พอเด็กๆที่เติบโตไปเป็นครูหรืออื่นใด มันก็ง่าย เพราะ บ้าน โรงเรียน และระบบ มันสอดคล้องกันหมดเลยค่ะ มันต้องเริ่มที่ระบบก่อนบ้านเมืองเรา และค่อยเป็นค่อยไปทุกๆบ้านต้องทำตาม กฏ ระเบียบ ที่ระบบออกมา วินัย วินิจฉัน ทัศนคติ กฏระเบียบสังคม ทุกอย่างค่ะ ต้องเริ่มจากที่รู้จักเคารพกฏของสังคม เคารพตนเองเป็น เคารพผู้อื่นเป็น เราเห็นว่าต่างกันมาก เพราะมีคนจากประเทศอื่นมาอยู่เยอรมัน แม้ว่าจะอยู่นานแล้ว เค้าก็ยังคงเป็นแบบที่เค้าเกิดมา คือติดพฤติกรรมในแบบที่ที่เค้าเกิดมา ถึงมาอยู่เยอรมันนานแล้วก็ตาม ความคิด นิสัย และพฤติกรรม ก็ยังนำความเคยชินมาใช้ค่ะ
@championandit3687
@championandit3687 Жыл бұрын
ปี 2012 อยู่ ป.3ใช่ไหมครับ
@gsstyles2641
@gsstyles2641 Жыл бұрын
หนู ก็เป็น คนไทย คนหนึ่ง ที่เรียนอยู่เยอรมัน ตอนนี้อยู่ปี3แล้วค่ะ เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย มีความสุขมากค่ะ บังเอิญผ่านมาเห็น คลิปนี้ เลยอยากมาบอกอีกเสียงว่า ระบบการเรียนที่เยอรมัน คือเข้มข้นจริง ๆ
@suchittrabird8836
@suchittrabird8836 Жыл бұрын
You are one of the most lucky Thai persons. Congratulations. I live in The UK. May I ask you a question please > Will you go back to Thailand after finished your education in Germany.? I don't mind if you said NO.
@user-sg6ud5ce5
@user-sg6ud5ce5 Жыл бұрын
@@suchittrabird8836 That's his right to decide to go back to Thailand or continue working in Germany, you don't have the right to interfere and dictate his decision 😠
@suchittrabird8836
@suchittrabird8836 Жыл бұрын
@@user-sg6ud5ce5 I am not trying to interfere. I said to her that " she is one of the most lucky person " to get a chance to study in that school. I am not surprise if she wants to continue working in Germany because myself I am not going back to live in Thailand either. I asked her that question because she might have a plan in her head for example : she has some projects to do in her own country etc. You are so hard.
@bj-benyintira9942
@bj-benyintira9942 Жыл бұрын
🤩😍🥰 เพราะเขาเน้นไปที่มนุษย์คุณภาพ ประเทศจะได้มีคุณภาพ เราชอบเยอรมันมาก
@gsstyles2641
@gsstyles2641 Жыл бұрын
@@suchittrabird8836 Ich werde keine unsinnigen Fragen im Internet beantworten.
@romran8201
@romran8201 Жыл бұрын
อย่างทุกวันนี้ผมมานั่งดูยูทูปที่ตัวเองชอบ อย่างความรู้ด้านต่าง ๆ สารคดี การเมือง เศรษฐกิจ หรือเกษตร จิปาถะทั่วไป ผมว่า แค่วันเดียว ผมได้ความรู้มากกว่าเรียนในห้องเรียนของ รร ไทย ทั้งปีซะอีก นี้เรื่องจริง
@KIMKIMUU
@KIMKIMUU Жыл бұрын
จริงค่ะ
@ronnachaiaramraks3336
@ronnachaiaramraks3336 Жыл бұрын
อย่างน้อยไปโรงเรียนเป็น เรียนรู้การเข้าสังคม คือ เจอผู้คนได้ทะเลาะกับผู้คน ได้มีความรัก
@thewawason2270
@thewawason2270 Жыл бұрын
ใช่ ยูทูป คือ แหล่ง ความรู้ จริงๆ. ผม ซื้อ ขาย หุ้น เป็น จาก การดู ยูทูป. น่ะ. ศึกษาด้วย ตัวเอง
@ginagavleb5662
@ginagavleb5662 Жыл бұрын
ช่าย
@ginagavleb5662
@ginagavleb5662 Жыл бұрын
@@ronnachaiaramraks3336 ที่สวีเดน นอรืเวยื ไป รร เพื่อ ร่วมกีฬา กับกิจกรรม
@siriboonkotchaseth297
@siriboonkotchaseth297 Жыл бұрын
ผมจบจากมหาวิทยาลัยในเยอรมัน ผมพอรู้จักระบบการศึกษาเยอรมันอยู่บ้าง เพราะเคยเขาไปสอนในโรงเรียนมัธยม โรงเรียนในเยอรมันมีหลายรูปแบบครับ ประเทศไทยก็อปปี้ระบบของเยอรมันมาใช้เหมือนกัน ตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทางด้ารเทคโนโลยี โดยเฉพาะอาชีวะศึกษาเราก็อปปี้ระบบของเยอรมันทั้งระบบ เรามีระบบ Dual System แบบเยอรมัน ที่บ้านเราเรียกว่า ระบบทวิภาคี เราเริ่มเอาระบบนี้มาใช้นานมากแล้วตั้งแต่ช่วงปลายๆทศวรรษ 2530 ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นปี 2538 เรานำระบบเยอรมันมาทดลองใช้ในโรงเรียนอาชีวะศึกษาจำนวนมากในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตอนแรกก็คึกคักดี แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าเป็นยังไง.. ยังมีอยู่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ที่ทราบคือไม่ได้รับความนิยม เพราะมีสาเหตุมาจากหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวสถานประกอบการที่จ้องเอาประโยชน์จากเด็กในด้านแรงงานโดยไม่คำนึงถึงความรู้ที่เด็กจะได้รับ ส่วนโรงเรียนก็มีเวลาน้อยเกินไปที่จะให้ความรู้เด็ก และอีกหลายปัญญา ทวีภาคีซึ่งเป็นระบบที่ดีก็เลยไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเรียนในวงกว้าง ส่วนระดับมหาวิทยาลัยที่เอาระบบของเยอรมันมาใช้ก็ได้แก่พวกมหาวิทยาลัยที่มีจุดกำเนิดจากโรงเรียนอาชีวศึกษาทั้งหลาย เริ่มต้นจากมหวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง และตอนนี้ก็มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศที่ต่างก็ใช้ระบบนี้ เป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี แต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการศึกษามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบการศึกษาอย่างเดียว มันมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายเช่น ตัวเด็กผู้เรียน (ความรับผิดชอบ วินัย และความตั้งใจ) ครูผู้สอน (ความรู้ การทุ่มเท และความตั้งใจ) สถานประกอบการที่รับเด็กไปฝึกงาน (ให้ความรู้เด็กไห หรือใชแรงงานเด็กอย่างเดียว) ฯลฯ ประเทศไทยเราชอบวิภาควิจารณ์และเพ่งโทษที่ระบบการศึกษา บอกว่าระบบนั้นดีระบบนี้ดี และเราก็มีการนำระบบต่างๆเหล่านั้นมาลองใช้หมด แต่ผลที่ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนที่เขาใช้ในประเทศต้นกำเนิด เพราะเราเอาแต่ตัวระบบหรือโครงสร้างมันมา แต่เราไม่เราไม่เน้นอย่างจริงจังทั้งในเรื่องวิธีการ.. ตัวครู.. ตัวเด็ก.. และสถานประกอบการที่เป็นหุ้นส่วนในการจัดการศึกษา
@moonrivervalley8708
@moonrivervalley8708 Жыл бұрын
วินัย และความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างเขาและเรา
@user-ne7sf1hi8o
@user-ne7sf1hi8o Жыл бұрын
ต้องมีรร.ที่ทำเริ่มต้นจริงจังโดยเริ่มที่เรียน Minesets ก่อนทั้งเรียนและปฏิบัติโดยครู อาจารย์ที่มี mineset ดีดีเพื่อสร้างmineset ดีดีให้เด็กๆควบคู่กันไปกับการเรียนกการสอนและการปฏิบัติ เห็นด้วยกับระบบนี้ค่ะ
@nanogangs
@nanogangs Жыл бұрын
มีแต่ระบบแต่สภาพแวดล้อมไม่ให้ ก็คือ ผู้สอน ครอบครัว สังคม ไม่เอื้ออำนวยเหมือนประเทศต้นกำเนิด ระบบต่างๆ ที่ประเทศอื่นเขาว่าดี เอามาประเทศไทยแล้วไม่เกิดเยอะมาก
@siriboonkotchaseth297
@siriboonkotchaseth297 Жыл бұрын
@@nanogangs ใช่ครับ ทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับทัศนคติของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผูบริหารการศึกษาทกระดับ
@somjadeindee1701
@somjadeindee1701 Жыл бұрын
ชัดเจนครับ...เพราะว่าตัวผมเอง...ก็ได้เคยไปศึกษาที่นั่นเช่นกันครับ...คุณเขียนได้ถูกต้องและชัดเจนดีครับ.ขอบคุณครับ
@kittileerativong2713
@kittileerativong2713 Жыл бұрын
ต้องสร้างครูและบุคลสกรการศึกษาแบบนี้ขึ้นก่อน ครูแบบนี้ต้องมีความรู้รอบตัวและจิตวิทยาค่อนข้างสูง ถ้าใช้ครูแบบที่เรามีอยู่ตอนนี้รับรองเหละแน่
@aimansadiyamu4898
@aimansadiyamu4898 Жыл бұрын
เปลี่ยนระบบก่อนไหม
@user-ic7be6qf9y
@user-ic7be6qf9y Жыл бұрын
แบบคุณก็หนักเลยจากเละเป็นเหละ
@kao6245
@kao6245 Жыл бұрын
ระบบห่วย ยากที่จะรั้งคนมีคุณภาพไว้ แม้มีจิตวิญญาณก็ยังต้องกินต้องใช้ต้องพักผ่อนให้เพียงพอเน้อ
@MrDookDik
@MrDookDik Жыл бұрын
บ้านเราเคยลองทำแล้วครับช่วงปี 45-46 เละจริงๆ นั่นแหละ อย่างที่ท้ายคลิปพูดถึง บุคคลากรยังอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ มันก็ยากที่จะเปลี่ยน
@milkyway1392
@milkyway1392 Жыл бұрын
เคยอยู่ในระบบที่กล่าวว่าให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง แต่ก็ยังสอนเหมือนเดิม แค่ไม่มีหนังสือ แต่แจกชีสทุกคาบทุกวิชา และยังต้องสอบวัดผลแบบเดิม ตัดเกรดเหมือนเดิม และยังต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบเดิม คำถามคือ อะไรคือการเปลี่ยนแปลง?
@uthairathboonchudecha8982
@uthairathboonchudecha8982 Жыл бұрын
ชอบคำว่า การเรียนรู้สิ่งที่ล้าสมัย ก็เหมือนกับการไม่สนใจกับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 👏👏
@kongegme
@kongegme Жыл бұрын
จากที่มาเรียนที่เยอรมัน สิ่งที่น่าเป็นจุดแข็งของมหาลัยเขาคืออาจารย์แทบทุกคนเคยทำงานนสายงานที่สอนมาก่อน ทำให้มีเคสจากการทำงานมาแบ่งปันให้นศ.ฟัง ทำให้เข้าใจเรื่องที่เรียนได้ง่ายขึ้นมากครับ
@biozee7722
@biozee7722 Жыл бұрын
ว้าว ชอบมากเลยค่ะแบบนี้
@chonphetchon8471
@chonphetchon8471 Жыл бұрын
ของไทย เปลี่ยน Mindsetของระบบราชการก่อน ปัจจุบันยังเช้าชามเย็นชามอยู่ส่วนใหญ่ ระบบอุปถัมภ์ ใครจะมาเปลี่ยนแปลงยังโดนต่อต้านด้วยบุคคลและองค์กรไดโนเสาร์อยู่
@user-uo8yj8xn3c
@user-uo8yj8xn3c Жыл бұрын
ใช่คะ คงจะแก้ไขไม่ได้เพราะประเทศไทยชินชากับระบบแบบนี้แล้ว มองประเทศแล้วรูสึกอยากจะร้องไห้ปัญหามากมายที่ผุ้คนไม่คิดอยากแด้ไขเลย
@atitmod8656
@atitmod8656 Жыл бұрын
ชอบที่เขาบอกว่าเขาไม่ได้เป็นผู้รู้ คนที่มาอยู่ที่นี่มีความเชี่ยวชาญในแบบของตัวเอง มันเห็นภาพได้ชัดเลยอ่ะว่าทำไมประเทศเขาถึงพัฒนาได้ขนาดนั้น เพราะเขา Accept ความคิดแบบใหม่ๆ หนทางใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ อาจารย์เขาไม่สอนให้ทำตาม แล้วก็ไม่ได้บอกว่าที่เคยทำมานั้นดีที่สุดแล้ว แต่เขาคอยดูและเสริมสร้างสิ่งที่นักเรียนคิด ไม่เหมือนกับของเรา มันเลยทำให้เห็นว่าทำไมบ้านเราไม่พัฒนา ต้องทำตามคนอื่น ต้องมีคนทำก่อนฉันถึงจะทำตาม แม้แต่การทำงานในองค์กรเอกชนเล็กๆ ไปจนใหญ่ๆ บางครั้งหัวหน้าก็ไม่ฟังความเห็นลูกน้องนะ เอาแบบฉัน ทำแบบนี้ ที่เคยทำมาดีแล้ว
@veeravision9138
@veeravision9138 Жыл бұрын
จริงคับ
@nipaprogoulis7088
@nipaprogoulis7088 Жыл бұрын
ความรักเริ่มต้นที่รากเหง้าคุณภาพเกิดตามมาพ่อแม่อย่ารังแกลูก?ด้วยคำว่าบูณคุณที่ทำให้เกิดมาเด็กที่มาจากรากเง่านี้มาสู่อุ้งมือคนชั่วมันจะสอนให้พูดว่าสนุกกันจะมาทวงบุณคุณทำไมเมืองไทยที่มีคนส่วนหนึ่งขาดคุณภาพทรามมากขึ้นกว่าที่เคยทราม?
@user-fc8sm4cy4g
@user-fc8sm4cy4g Жыл бұрын
คือประเทศไทย ไม่มีเงินรองรับความล้มเหลวไง มันก็เลยต้องทำตามแบบ และทำให้เสียหายน้อยที่สุด
@aoaojung
@aoaojung Жыл бұрын
ของไทยต้องเปลี่ยนค่านิยมของพ่อแม่ก่อน เช่น ลูกต้องเรียนได้ที่ 1 ลูกต้องเรียนวิทย์คณิต ลูกต้องเป็นหมอ เป็นวิศวะ เป็น สถาปนิก เป็นหมอฟัน อย่างนี้เป็นต้น ต้องเปลี่ยนความคิดพ่อแม่ ถึงจะเกิดโรงเรียนลักษณะนี้ได้ เพราะพ่อแม่ยังเชื่อว่า ถ้าลูกเรียนรร.แบบนี้ จะไปแข่งขันกับใครไม่ได้ พ่อแม่ต้องสนับสนุนสิ่งที่ลูกชอบ ไม่ชี้นำ และยอมรับให้ได้ว่าไม่ว่าจะอาชีพอะไร ถ้าลูกทำแล้วมีความสุข ก็เป็นชีวิตของลูก มันอาจไม่มีหน้ามีตา หรือร่ำรวย แต่ความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ชอบสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
@nakinariya7038
@nakinariya7038 Жыл бұрын
ทำที่ชอบ และเอาตัวอยู่​รอดทำมาหากินได้
@i78q902c
@i78q902c Жыл бұрын
ระบบการสอนแบบนี้ผมพร้อมนานแล้ว ทำนานแล้ว แต่ระเบียบราชการไม่เอื้ออะไรสักอย่าง บ้านเราเลวร้ายมากครับ พวกอาจารย์-นักวิชาการอุดมศึกษา คนพวกนี้ไม่ได้หวังดีต่อประเทศเลย ขยันเป่าหูข้าราชการการเมืองให้ออกโครงการสารพัดแลกกับค่าทำวิจัยพอให้เข้ากระเป๋าไปวันๆ บ้างก็เอาไปเคลมเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการในมหาวิทยาลัย บ้างก็เลียดีจนได้เป็นคณะกรรมการเป็นเห็บเหาในระดับกรม คนลำบากก็คือครูกับนักเรียนครับ พวกข้าราชการระดับสูงพอมีข่าวครูบางคนลาออก ผูกคอตาย มันยังมีหน้ามาบอกสื่อว่าเรื่องส่วนตัว แล้วเราจะไปข้างหน้าได้ยังไง
@thatchaicherd.2424
@thatchaicherd.2424 Жыл бұрын
ระดับสมองผู้หลักผู้ใหญ่ในระบบราชการไทยยังอ่อนกว่ายอรมันมากครับ คิดหรือทำเพื่อประโยชน์ประชาชนยังไม่เป็น คงต้องทำใจ แต่ก็ต้องพยายามช่วยกันถูไถไป
@data2517
@data2517 Жыл бұрын
แต่มีคนกลุ่มนึงบอกไทยดีมากนะครับ ไม่เคยยอมรับว่าเรามีข้อบกพร่อง
@justchilling7459
@justchilling7459 Жыл бұрын
เห็นด้วยค่ะ
@nackyoyo
@nackyoyo Жыл бұрын
ตัดภาพมาที่ไทย เด็กชายหัวเกรียน เด็กหญิงผมสั้นเสมอติ่งหู เข้าแถวเป็นระเบียบ ยังกะฝึกทหาร 5555555555555555
@iamcheck.thisout
@iamcheck.thisout Жыл бұрын
โอ้โหห เห้นน้องๆอายุแค่ 15 แต่ความคิดความอ่าน ประสบการณ์ความมั่นใจในชีวิต เกินคนอายุ 25 30 บางคนอีก สุดยอดจริงๆระบบแบบนี้ เห้นแล้วอยากย้อนอายุไปสักสิบปี เข้าไปเรียน รร.แบบนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมประเทศเค้าถึงมีคนคุณภาพ เรียนเอาไปใช้ ไม่มช่เรียนจำๆๆไปสอบ จบมาทำไรไม่ได้เลย ต้องไปเริ่มงานระดับล่าง ไต่จาก 0 เฮ้ออ
@i78q902c
@i78q902c Жыл бұрын
นาทีที่ 12 นี่คือการเรียนรู้จริงๆ คือการหมกมุ่นต่อสิ่งที่สนใจที่จะนำไปประกอบอาชีพ ไม่ใช่ฐานสมรรถนะบ้าบอแบบบ้านเราที่เน้นหลากหลายจับฉ่ายอย่างเท่าๆกันจนเด็กจับจดอะไรไม่ได้ ไม่มีทักษะอะไร แล้วผู้ใหญ่ก็มาโทษเด็กว่าทำไมทำงานไม่เป็น
@user-jw7sl9iu8w
@user-jw7sl9iu8w Жыл бұрын
จริงสึดๆครับหลักสูตรแม่งนำมาใช้กับวิชาชีพและการดำเนิดชีวิตไม่ได้เลยด้วยซ้ำ จะมีก็แค่บวก ลบ คูณ หาร แค่นั้นแหละ
@neti1136
@neti1136 Жыл бұрын
😹ทุกสาขาวิชาบนโลก สามารถบรรลุได้ในสามเดือน ถ้ามากกว่านั้นคือไม่ถูกทาง 😜
@emoohm
@emoohm Жыл бұрын
สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่อาคารเรียน แต่อยู่ที่ทัศนคติ พลังในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา และแรงบันดาลใจของผู้ร่วมงานของเรา โครตชอบคำพูดนี้เลยครับ การสร้างพลังให้เด็กเกิดการเรียนรู้ มีบทบาทในการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ผู้สอนคือ พลังสำคัญที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่ดีได้ครับ คุณครูมีความรู้แต่ไม่ใช่ศูนย์กลาง แต่สอนให้แนวทางและนักเรียนมีส่วนร่วมออกแบบวิชาเรียนนั้นๆด้วยกัน โครตเยี่ยมยอดสังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้ใหญ่ในบ้านเราต้องดูไว้น่ะครับ ต้องดูคลิปนี้เลย ดูและนำไปปรับใช้
@nakinariya7038
@nakinariya7038 Жыл бұрын
ต้องไปดูครับ คือเตรียมตั้งงบไปดูงาน แต่กลับมาทำและประเมินผลไม่ทราบเลยครับ ยังไม่เห็นใครออกมาอ้างความสำเร็จในการไปดูงานเลย...
@qazer4445
@qazer4445 Жыл бұрын
ถูกแล้วที่เค้าจัดการศึกษา ตามธรรมชาติความต้องการมนุษย์ ต่างกับไทยที่ผู้เรียนไม่มีทางเลือก ทุกอยา่งถูกกำหนดโดยผู้บริหารที่ล้าหลัง ยากที่จะเปลี่ยนแปลง ผลก็ได้คุณภาพอย่างที่เห็น
@saimaikokyai45
@saimaikokyai45 Жыл бұрын
ชอบตรงที่ครูเยอรมันบอกว่า ตัวเองเป็นโค้ช ไม่ใช่ผู้รู้ และนักเรียนแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญของตัวเอง ครูต้องพยายามดึงมันออกมา 😊
@user-lk4lz5fw6i
@user-lk4lz5fw6i Жыл бұрын
เขาก็เลือกเรียนได้ในบางวิชาครับ หลักสูตรเขาก็ไม่ค่อยต่างจากบ้านเราหรอกครับ..ที่ต่างคือครูผู้สอนและตัวนักเรียนเอง.. ผมจบจากเยอรมันครับ.. เราอย่ามัวโทษแต่ระบบเลย.. ผมยอมรับว่า Structure สำคัญ.. แต่ Function(Action) ของทุกๆ stakeholder สำคัญมากกว่า..
@user-cy2qj5ym6y
@user-cy2qj5ym6y Жыл бұрын
ขณะที่เด็กไทยม. ต้น ม.ปลาย ยังก้มหน้าก้มตา ฝึกทำข้อสอบเพื่อคะแนนเยอะๆ เพื่อสนองมาตรฐานของกระทรวงศึกษาพิศดาร
@user-tw3kx4to2k
@user-tw3kx4to2k Жыл бұрын
ขอให้ไทยมีแบบนี้ซักที่ดูเถอะ เปิดกะลาเลย
@waywayu4822
@waywayu4822 Жыл бұрын
เป็นการปลูกฝังความเป็นผู้นำให้เด็กจริงๆ สุดยอด โตไปคือ พร้อมเป็น Leader หรือ CEO ได้เลย ส่วนเด็กที่เรียนตามหลักสูตร ก็จะเป็นแนวๆ ผู้ตาม อยู่ในกรอบ
@mommy.insure
@mommy.insure Жыл бұрын
ปปท แทบหาไม่เจอ รร แบบนี้ ถึงมีค่าเรียนก็แพงติดเพดาน บ้านนี้เลยเลือกจัดการศึกษาให้ลูกเองเลย Homeschool คือทางเลือก และทางออกที่ดีของเราค่ะ☺️
@tanyaasset9730
@tanyaasset9730 Жыл бұрын
โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาก็เช่นกันต้องมีการเปลี่ยนแปลง ที่เยอรมันทันสมัยหลายๆอย่างเป็นระบบ ผู้คนมีระเบียบวินัย น่าสนใจมากๆค่ะ
@user-kf9mu7ox7l
@user-kf9mu7ox7l Жыл бұрын
เยอรมันเก่งเรื่องการศึกษาจริงๆ ดูจากนักวิทยาศาสตร์มีแต่สัญชาติเยอรมันทั้งนั้น
@wittayatanamai2764
@wittayatanamai2764 Жыл бұрын
อยากให้เป็นแบบนี้มากๆครับ พอเอาเข้าจริง เจอแต่เด็กกดโทรศัพท์ตั้งแต่ 2ขวบ ยัน ป.ตรี สมาธิสั้น ขาดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เรียนแค่สอบๆให้ผ่านๆไปโดยมาก ออกนอกเรื่องเข้าไปการใช้ชีวิตบ้างก็ไม่ฟัง ทำอะไรไม่เป็น ออกนอกกรอบก็ไปไม่เป็น ถามว่าถ้าไม่ให้เกรดจนอายุ 15 พอจะจินตนาการได้มั้ยว่าเกรดจริงจะเป็นเท่าไร บางทีเผลอเป็นพ่อแม่เด็กกันแล้วยังไม่รู้เลยว่าเกรดเท่าไร ไปช่วยเหลือสังคม1ปี เด็กและผู้ปกครองจะปลื้มมั้ย ไปต่างที่ต่างถิ่นด้วยเงินไทยเทียบเท่า 150 ยูโร พ่อแม่คนไทยไม่เป็นอันทำอะไรหรอกครับ สถานศึกษาก็ไม่กล้ารับผิดชอบหรอก ผิดพลาดมามีแต่บรรลัย ผู้ปกครองฟ้อง สังคมประณาม ตกงานอีก ระบบที่ดีมันก็ต้องเกิดขึ้นจากการร่วมมือตั้งแต่การเลี้ยงดู การประสานของบ้านและโรงเรียน ประชาสังคม ระบบราชการ ตลาดงาน ฯลฯ จะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำก็ไม่รอด หรือโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเดียวก้ไม่แฟร์ ต้องขอโทษด้วยที่แสดงความคิดเห็นไม่ค่อยถูกใจบางคนนะครับ
@somethingforlife
@somethingforlife Жыл бұрын
ได้เห็นการศึกษาที่ไม่จำกัดกรอบ มันดีมาก ไม่เหมือนของเราที่ยังล้าหลัง และชอบมากที่มีวิชาความรับผิดชอบ อยากให้กระทรวงเพิ่มวิชาแนวนี้ให้เด็กไทยบ้าง ขอบคุณคุณกรุณาและทีมงานสำหรับความรู้นะคะ
@kondinchannel2487
@kondinchannel2487 Жыл бұрын
ทำไมต้องเพิ่มวิชา ควรลดวิชาลงมากกว่าเพราะทุกวันนี้เด็กเรียนเยอะเกินไปละ
@bellkaisod4191
@bellkaisod4191 Жыл бұрын
@@kondinchannel2487 รื้อระบบใหม่ดีกว่าครับ
@kondinchannel2487
@kondinchannel2487 Жыл бұрын
@@bellkaisod4191 ยากมากครับกับกระทรวงนี้จริงๆต้องเอาคนจบการศึกษาจริงๆมาเป็นรัฐมนตรีแต่เพราะการเมืองจึงมีทั้งหมอทั้งทหารทั้งสส.อะไรต่อมิอะไรมาเป็นรมว.เลยเละ เปลี่ยนหลักสูตรทีก็ลำบากครูลำบากข้าราชการระดับล่างที่ต้องมาสนองนโยบายเหนื่อยแทนครู บางทีแทบไม่ได้สอนต้องมาทำเอกสาร วิชาก็ไม่รู้จะเยอะไปไหน การบ้านเด็กป. 2 สังคหวัตถุ ที่สอนหลานคือเกินวัยที่เด็กจะเข้าใจละ เอาแต่ป้อนต้องทำต้องงั้นต้องงี้ เขียนแผนต้องเริดหรูดูดีแต่บางทีสอนจริงไม่ได้เลย รื้อระบบได้น่าจะดีที่สุดอย่างว่า อย่าเอาสส.อาราเล่ไก่กา นายแพทย์ทหารมาเป็นรมว.ศึกษาอีก
@siriboonkotchaseth297
@siriboonkotchaseth297 Жыл бұрын
ผมจบจากมหาวิทยาลัยในเยอรมัน ผมพอรู้จักระบบการศึกษาเยอรมันอยู่บ้าง เพราะเคยเขาไปสอนในโรงเรียนมัธยม โรงเรียนในเยอรมันมีหลายรูปแบบครับ ประเทศไทยก็อปปี้ระบบของเยอรมันมาใช้เหมือนกัน ตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทางด้ารเทคโนโลยี โดยเฉพาะอาชีวะศึกษาเราก็อปปี้ระบบของเยอรมันทั้งระบบ เรามีระบบ Dual System แบบเยอรมัน ที่บ้านเราเรียกว่า ระบบทวิภาคี เราเริ่มเอาระบบนี้มาใช้นานมากแล้วตั้งแต่ช่วงปลายๆทศวรรษ 2530 ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นปี 2538 เรานำระบบเยอรมันมาทดลองใช้ในโรงเรียนอาชีวะศึกษาจำนวนมากในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ตอนแรกก็คึกคักดี แต่ตอนนี้ไม่ทราบว่าเป็นยังไง.. ยังมีอยู่หรือเปล่าก็ไม่ทราบ แต่ที่ทราบคือไม่ได้รับความนิยม เพราะมีสาเหตุมาจากหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวสถานประกอบการที่จ้องเอาประโยชน์จากเด็กในด้านแรงงานโดยไม่คำนึงถึงความรู้ที่เด็กจะได้รับ ส่วนโรงเรียนก็มีเวลาน้อยเกินไปที่จะให้ความรู้เด็ก และอีกหลายปัญญา ทวีภาคีซึ่งเป็นระบบที่ดีก็เลยไม่ค่อยได้รับความนิยมจากนักเรียนในวงกว้าง ส่วนระดับมหาวิทยาลัยที่เอาระบบของเยอรมันมาใช้ก็ได้แก่พวกมหาวิทยาลัยที่มีจุดกำเนิดจากโรงเรียนอาชีวศึกษาทั้งหลาย เริ่มต้นจากมหวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง และตอนนี้ก็มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศที่ต่างก็ใช้ระบบนี้ เป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี แต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการศึกษามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบการศึกษาอย่างเดียว มันมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายเช่น ตัวเด็กผู้เรียน (ความรับผิดชอบ วินัย และความตั้งใจ) ครูผู้สอน (ความรู้ การทุ่มเท และความตั้งใจ) สถานประกอบการที่รับเด็กไปฝึกงาน (ให้ความรู้เด็กไหม หรือใชแรงงานเด็กอย่างเดียว) ฯลฯ ประเทศไทยเราชอบวิภาควิจารณ์และเพ่งโทษที่ระบบการศึกษา บอกว่าระบบนั้นดีระบบนี้ดี และเราก็มีการนำระบบต่างๆเหล่านั้นมาลองใช้หมด แต่ผลที่ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมือนที่เขาใช้ในประเทศต้นกำเนิด เพราะเราเอาแต่ตัวระบบหรือโครงสร้างมันมา แต่เราไม่เน้นอย่างจริงจังทั้งในเรื่องวิธีการ.. ตัวครู.. ตัวเด็ก.. และสถานประกอบการที่เป็นหุ้นส่วนในการจัดการศึกษา
@user-ms6fk6ut8x
@user-ms6fk6ut8x Жыл бұрын
@@kondinchannel2487 เรียนจริงๆไม่เยอะหรอก แต่หลักสูตร วิชาการเยอะมากจริงๆเด็กจะเรียนได้ยังไงแค่3-4วิชาต่อวัน ความสนใจก็หมดแล้ว..มันคือความล้มเหลวของการศึกษานั่นเอง..ผู้ที่
@rionia2st
@rionia2st Жыл бұрын
คนเยอรมันพูดอังกฤษเก่ง ทั้งที่มีภาษาของตัวเอง
@anns564
@anns564 Жыл бұрын
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่2 และคาบเรียนเยอะต่อสัปดาห์ ตัวหนังสือตัวเดียวกัน แต่ออกเสียงคนละแบบ ภาษาเขียน และคำ เกือบครึ่ง ใช้ตัวเดียวกัน แค่อ่านแบบเยอรมัน จะยุ่งยากก็คือแกรมม่า แต่การใช้ไกล้เคียงมาก เค้าถึงพูดได้ดี
@katekatetarada2589
@katekatetarada2589 Жыл бұрын
@@anns564 ใช่ค่ะและแตกต่างที่สระด้วยค่ะ อย่างเช่น a e i o u เยอรมันจะเปลี่ยนไปตามจำนวน ä ö ü
@kao6245
@kao6245 Жыл бұрын
เคยบอกเพื่อนต่างชาติว่า นักเรียนไทยเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งแต่อนุบาล เขาฮือฮากันใหญ่ ส่วน efficiency น่ะเหรอ หึหึ ดอยช์เขาเรียนภาษาอังกฤษกันก็จริง แต่คนทั่วไปเขาไม่ค่อยใช้เลย คนอินเดียยังพูดปนๆ เป็น phrase เป็น sentence บ้าง คะแนนวัดผลการใช้ภาษาอังกฤษเทียบระดับโลกด๋อยชลันด์ก็อยู่อันดับสูงนา ชาตินิยมล่ะมั้ง 😅
@MeoMeo-wh7jf
@MeoMeo-wh7jf Жыл бұрын
ภาษาอังกฤษมีต้นกำเนิดมาจากภาษาเยอรมัน และถูกปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้นจนเป็นภาษาอังกฤษแบบทุกวันนี้ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่ยากมากๆ คนไทยคนไหนถ้าเรียนอังกฤษเก่ง จะเรียนเยอรมันได้ง่ายขึ้น
@katekatetarada2589
@katekatetarada2589 Жыл бұрын
@@MeoMeo-wh7jf +1
@StephenKrugerTH
@StephenKrugerTH Жыл бұрын
เศร้าที่การศึกษาเรากลับใช้เป็นเครื่องมือล้างสมองทางการเมือง และเป็นฐานความก้าวหน้าทางการงาน บนความยโส บนหลังนักเรียน ของอาจารย์จำนวนไม่น้อย แถมที่สำคัญคือไม่ให้เกิดการตรวจสอบและคัดคานอำนาจ จนทำให้ยากต่อการตรวจสอบและพัฒนา
@anyaanya4486
@anyaanya4486 Жыл бұрын
นอกจากเป็นเครื่องมือ ก็ยังมีบางส่วนจากครูที่มีทัศนคติทางการเมือง(ในทุกระดับการศึกษา) ยัดแนวคิดของตัวเองให้เด็ก..ผ่านทั้งคำพูด การกระทำ และสื่ออย่างเฟสบุค ยังมีความล้าหลังทางการศึกษา การคอรัปชันที่งบประมาณลงไม่ถึงปลายทาง การอยู่รอดทางตำแหน่งโดยลืมนักเรียนไว้ข้างหลัง การศึกษาของไทยจึงล้าหลังไปทุกวัน
@nomadx1704
@nomadx1704 Жыл бұрын
สร้างคนที่มีบุคลิกเข้มแข็ง ประโยคตอนท้ายผมเห็นด้วยอย่างมาก เพราะโลกเดี๋ยวนี้มันไปไวมากๆ
@ingermany2022
@ingermany2022 Жыл бұрын
สามีเป็นครูมัธยมที่เยอรมัน ครูที่นี่ต้องวางแผนการสอนเยอะมากๆ ระบบการเรียนการสอนจะไม่เน้นเฉพาะในตำรา
@Bell-ty8wu
@Bell-ty8wu Жыл бұрын
การศึกษาแบบคู่ขนาน dual system คือดีมาก สายงานช่าง เทคนิคอลหรือกระทั่งวิศกรในประเทศไทยควรเป็นแบบนี้ เมื่อก่อนคยมีหลักสูตร ไทย-เยอรมัน ปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่าไม่แน่ใจ เพื่อให้ไปปฎิบัติงงานจริงได้เลยไม่ต้องเสียเวลา training นาน สายงานช่างควรได้รับผลตอบแทนตามฝีมือแรงงาน+ภาษา มากกว่าวุฒิหรือสถาบันที่จบมา
@orawanpanbualuang4591
@orawanpanbualuang4591 Жыл бұрын
มี จ้า เราจบเทคนิคไทยเยอรมัน ทุกวันนี้เป็นอยู่จ้า วิศวะ ม.รัฐ ระบบนี้หมด
@vr2qu611
@vr2qu611 Жыл бұрын
โครตเจ๋งอะ ไม่มีเกรดจนกว่าเด็กจะอายุเกิน15ปี เขาคิดได้ไง มันดีมากๆเลยนะ อีกอย่าคงือให้เด็กออกแบบการเรียนการสอนเอง แล้วผลคือตามที่คุณกรุณาบอก โรงเรียนได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยเสียอีก เพราะอะไรนะหรอ เพราะเด็กไม่มีความเครียดกับระบบการเรียน เอาความเครียดเหล่านั้นไปลงกับการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิผลมากกว่า
@sonnetfan3302
@sonnetfan3302 Жыл бұрын
+++
@mtha7796
@mtha7796 Жыл бұрын
เด็กออกแบบการเรียนการสอนเอง ิ---> ระบบ student center มาจากอเมริกา โรงเรียนไทยก็เคยเอามาประยุกต์ใช้ แต่มันแป้กแม้แต่ที่อเมริกาเองก็ไม่เวิร์ค เพราะเด็กเองยังไม่มีความรู้และประสบการณ์เลยจะมาไกด์การเรียนตัวเองได้ยังไง เยอรมันกับอังกฤษ ภาษาใกล้เคียงกันมาก การที่อังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ก่อน เยอรมันก็ได้อานิสงส์ได้ความรู้ไปด้วย เค้าติดต่อไปมาหาสู่กันมานานแล้ว ตอนนั้นยังไม่มีระบบ student center เลย
@kittikielikhooney2585
@kittikielikhooney2585 Жыл бұрын
พอมาลองนึกดูจริงๆ วิชาอื่นๆนอกจาก 4 วิชาหลักที่ รร นี้สอน วิชาอื่นๆก็แทบไม่มีประโยชน์อะไรในการใช้ชีวิตประจำวันเลย (นอกจากคนที่จะไปเรียนต่อในสายอาชีพนั้นๆ) วิทยาศาสตร์ทุกวันนี้ยังสงสัยว่าเอามาใช้อะไรกับชีวิตประจำวันบ้าง พละศึกษา ลูกเสือ/เนตรนารี สุขศึกษา ดนตรี/นาฏศิลป์ ศิลปะ เอามาทำอะไร แทนที่จะให้เด็กได้เลือกเรียนด้านที่ตนสนใจมากๆ หรือให้เด็กเรียนเท่าที่จำเป็น ในเวลาที่เหมาะสมกับแต่ละวัยที่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้ในเวลาที่จำกัด
@griengwootboonsittichock3004
@griengwootboonsittichock3004 Жыл бұрын
เป็นรายการที่ทุกตอนชองคุณกรุณา นำมาเสนอ เป็นเรื่องดีๆทั้งหมด ชื่นชมในความสามารถและความพยายาม หาข้อมูลติดตามและจัดทำให้งานออกมายอดเยี่ยม ขอชื่นชมจากใจจริง
@baib2723
@baib2723 Жыл бұрын
ดีจัง เราอยู่ตามกรอบการศึกษาไทยมาตลอด จนถึงทุกวันนี้ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรเลย555555 แค่เดินตามกรอบไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกแย่อะไรนะ งง😅
@voradaNaddhamon
@voradaNaddhamon Жыл бұрын
เป็นประเทศที่น่าทึ่ง น่าชื่นชมที่สุดในโลกนี้ พลิกจากผู้แพ้สงคราม นักวิทยาศาสตร์เก่งๆ ย้ายออกไปต่างประเทศจำนวนมาก แต่ก้าวมาเป็นผู้นำของยุโรป และชั้นนำของโลก อยากไปอยู่ที่นี่มากที่สุด
@maethineesangsuwan6890
@maethineesangsuwan6890 Жыл бұрын
อยากให้ประเทศไทยมีแบบนี้บ้างจัง คือมีสาขามากมายให้เลือกเรียนตามที่ชอบหรือสนใจ และมีทั้งทฤษฎีกับปฏิบัติงานไปพร้อมๆกัน..เลิศมาก....
@chanay1377
@chanay1377 Жыл бұрын
อยากให้ลงลึกในการเรียนระบบอาชีวะศึกษา บ้านเราก็นำเอาระบบอาชีวะของเยอรมันมาใช้แต่ไม่ได้ผล เด็กยังตีกัน ยิงกันตาย พ่อแม่ก็ปล่อย และโลกเทคโนโลยีเปลี่ยนไป เทคนิคเชิงช่างของเขาจะเป็นอย่างไร รบกวนด้วยนะครับ คิดว่าช่วยอาชีวะเมืองไทย ให้ไปได้ดีกว่านี้
@wilaiwanpornpat5901
@wilaiwanpornpat5901 Жыл бұрын
เรียกผอ รรที่เด็กเค้าตีกันมาคุย แล้วเอาเด็กเหล่านั้นมาเรียนด้วยกันในห้องเรียนเดียวกัน แล้วให้เด็กเค้าได้คุยกันต่อหน้าซึ่งกันและกัน โดยมีครูที่ปรึกษาทั้ง2ฝั่งเข้าร่วมรับฟังด้วย และให้เด็กเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาที่พวกเค้ายกพวกตีกัน
@chanay1377
@chanay1377 Жыл бұрын
@@wilaiwanpornpat5901 แบบนี้ใช้กันมาเป็นสิบปีแล้วครับ ยังไม่ได้ผลเลย เห็นว่าในเยอรมันเอาพ่อแม่มาคุยด้วยเลย
@chanay1377
@chanay1377 Жыл бұрын
ระบบ โซตัส ก็ทำให้การเรียนอาชีวะล้มเหลวเหมือนกัน และระบบการเข้าทำงานกับบริษัท บ้านเรายังไม่มี
@wilaiwanpornpat5901
@wilaiwanpornpat5901 Жыл бұрын
@@chanay1377 อ้าว เหรอ? ผอ รรที่เด็กเค้ายกพวกตีกัน เคยเรียกเด็กของแต่ละฝั่งมานั่งคุยกันซึ่งๆหน้าแล้วเหรอ? ให้เด็กเค้าได้บอกเหตุผลของตัวเองแล้วเหรอว่าทำไมเค้าถึงต้องตีกัน? แล้วตีกันมันได้ปย อะไร?
@rv1361
@rv1361 Жыл бұрын
ควรเป็นระบบเรียนด้วยทำงานไปด้วยค่ะ เด็กจะมีความรับผิดชอบ เหนื่อยจากการทำงาน ไม่มีเวลาไปตีกัน แต่ปัญหาคือ อุตสาหกรรมหรือบริษัทในเมืองไทยไม่ได้มีเยอะพอที่จะรองรับระบบนี้
@sassythey194
@sassythey194 Жыл бұрын
ที่ครูไทยไม่ได้แบบนี้ก็เพราะระบบราชการ มาเป็นครูด้วยเหตุผลที่ไม่ใช่เพราะอยากสอนเป็นหลัก เงินบำนาญ​ ไม่รู้จะทำไร พ่อแม่ให้รับราชการ ลองสอบแล้วสอบได้ ครูที่ตั้งใจสอนเข้าไปก็เจอระบบที่ทำให้ไฟสอนหมอดลงเรื่อยๆ เสนออะไรก็ไม่ได้ เรียนอังกฤษสอนสังคมบ้างล่ะ ต้องทำเอกสารอย่างอื่นบ้างล่ะ ต้องทำอาหารให้เด็กบ้างล่ะ ต้องคอยประจบว่าหัวหน่้าว่าไงบ้างล่ะ ไม่แปลกที่โดยรวมการศึกษา​ไม่ไปไหน นอกจากเงิน้ดือนไม่คุ้มเหนื่อยยังอยู่กับสภาพแวดล้อม​ที่ไม่ส่งเสริมเลย
@wiewowas4514
@wiewowas4514 Жыл бұрын
เราเห็นด้วยกับคุณในส่วนนี้ค่ะ
@ravineevaranonchuti4114
@ravineevaranonchuti4114 Жыл бұрын
เป็นอีกหนึ่งตอนที่ยอดเยี่ยมมาก ชอบมากๆ ค่ะ หวังว่าจะมีผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองมาฟังบ้าง เอาไปพัฒนาให้ลูกหลานเราบ้าง
@user-wh8cs3we9j
@user-wh8cs3we9j Жыл бұрын
นี่แหละถูกต้องที่สุด..เรียนในวิชาที่ชอบและสร้างอาชีพ
@tippipy
@tippipy Жыл бұрын
ส่วนตัวคิดว่าหลักสูตรของเยอรมันทำให้นักเรียนเครียด คือประมาณ ป.4 จะถูกตัดสินว่าได้ไปต่อที่โรงเรียนประเภทไหน จะได้ไปโรงเรียนสายวิชาการ หรือสายวิชาชีพ ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะสามารถเรียนโดรวเรียนสายวิชาการ (Gymnasium) เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ยกเว้นครอบครัวที่มีเงินส่งลูกเข้าโรงเรียนเอกชน เด็กเพียง 10% ที่จะมีโอกาสได้เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนคนที่เรียนสายวิชาชีพใดๆมาแล้วการเปลี่ยนวิชาชีพเป็นไปได้ยากมากๆ และจะทำอาชีพอะไรต้องมีใบรับรองสำหรับอาชีพนั้นๆ ไม่อิสระเหมือนประเทศอื่นๆ
@tomnfella11
@tomnfella11 Жыл бұрын
แค่ดูยังรู้สึกว่าเจ๋งมาก ครูยังบอกเองมันอยู่ที่ทัศนะคติไม่ใช่ตัวตึก แนวคิดในการเรียนสอนเจ๋งมาก ยอมเลยยูเป็นเบอร์1ยุโรปไอไม่แปลกใจ เป็นเบอร์1โลกยังได้เลย👏👏👍👍
@user-jc2lw4eb6t
@user-jc2lw4eb6t Жыл бұрын
ประเทศเรายังยึดติดระบบเจ้าขุนมูลนาย เจ้าคนนายคน ผู้นำน่าจะนำระบบการเรียนการสอนแบบนี้มาใช้บ้าง นอกเหนือจากหลักสูตรในโรงเรียนสารพัดช่างของเรา ที่เก็บตกเด็กเรียนไม่จบในระบบค่ะ
@natthaphong4000
@natthaphong4000 Жыл бұрын
โรงเรียนในฝันเลย ครับ เราควรเลือกเรียนในวิชาที่เราสนใจได้ ในขณะที่ ยังมีวิชาบังคับไปในตัว เด็กจะได้ไปในทางทีตนเองสนใจ ได้ดีกว่าที่เรียนไปแต่ไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตของพวกเค้าเลย มันไม่แฟร์ วิชาบางวิชาก็ไม่ได้จำเป็นกะชีวิตเค้าเลยด้วยซ้ำ ควรพัฒนาได้แล้วการศึกษาไทยเอ๋ย
@lisalisa6063
@lisalisa6063 Жыл бұрын
เพราะที่นี่พ่อแม่ไม่บังคับให้เด็กเรียนเป็นเจ้าคนนายคนเหมือนบ้านเราค่ะ.เขาจะให้เด็กเลือกอาชีพที่เขาชอบและถนัด แบะไม่ต้องสอบแข่งขัน ติวก่อนสอบเหมือนบ้านเรา
@DaorungThomas
@DaorungThomas Жыл бұрын
ผมมาเรียนมัธยม กศน ที่ประเทศเยอรมัน การศึกษาที่นี้เข้มข้นและให้อิสระการเรียน การเลือก วิชาบังคับก็ไม่ได้เยอะ การทำงานหรือทำการบก็ให้การสนับสนุนมากกว่าการต่อต้าน เรียนแบบไม่ต้องท่องจำแต่เรียนแบบใช้ความเข้าใจเป็นหลัก อันไหนไม่เข้าใจตั้งคำถามแล้วโต้ ช่วยกันวิเคราะห์ ไม่มีที่คนอื่นพูดอะไรผิดแล้วเด๊กคนอื่นหัวเราะ ถ้ามีก็จะน้อยมาก
@DaorungThomas
@DaorungThomas Жыл бұрын
แล้วการไปยื่นหน้าห้องเรียน พรีเซน งาน ในเยอรมันคือเป็นเรื่องปกติมาก เพราะนี้คือส่วนหนึ่งของผลการเรียน การมีส่งนร่วมในห้องเรียนคือผลคะแนน เช่น การสนใจการเรียน การตอบโต้ในห้องเรียน 50% ผลคะแนนสอบ50% นี้ก็คือส่วนหนึ่งของความกล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด
@nanogangs
@nanogangs Жыл бұрын
@@DaorungThomas เด็กไทยส่วนใหญ่จึงไม่กล้าคิดแสดงออก เพราะไม่มีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น จะพูดก็ต่อเมื่อโดนบังคับกลัวโดนหักคะแนน
@DaorungThomas
@DaorungThomas Жыл бұрын
@@nanogangs มันน่าเสียดายน่ะครับที่มันต้องเป็นแบบนี้ ผมจบมัธยมปลายมาจากไทยก็เรียนมาแบบนั้น พอมาเข้าเรียนที่นี้คือปรับตัวเยอะเพราะเราไม่กล้าแสดงความคิดเห็น กลัวเพื่อนหัวเราะ ใช้เวลาเป็นปีที่เราจะกล้าแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องต่างๆมี่ครูยกประเด็นมาโดยไม่มีใครด่าหรือพูดว่าอันนั้นผิดอันนี้ถูก
@nanogangs
@nanogangs Жыл бұрын
@@DaorungThomas มันทำให้การทำงานเป็นทีมของไทยไม่ค่อยเก่ง เพราะแทนที่จะพูดแลกเปลี่ยนความคิดกันแต่กลับกลายเป็นใครพูดเยอะโดนเพ่งเล็ง ใจไม่กว้างพอ
@DaorungThomas
@DaorungThomas Жыл бұрын
@@nanogangs เสียดายน่ะครับ โลกหมุนไปเร็วกว่าที่เราคิดมาก การแลกเปลี่ยนคือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผมว่าก่อนอื่นเราต้องเป็นคนใจกว้างพอก่อนที่จะรับฟังคนอื่นแล้วจะทำให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะตามมา ขอบคุณน่ะครับ ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยินดีที่ได้รู้จักครับ
@KvangDM
@KvangDM Жыл бұрын
ดีจังเลยค่ะ เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีรากที่หยั่งลึก และปีกที่พร้อมบินบ้างคะ การศึกษาทุกวันนี้ด้อยค่า ยังเดินวนอยู่ทีเดิมอยู่เลยค่ะ
@user-lt5zh4nw1l
@user-lt5zh4nw1l Жыл бұрын
ฟังแล้วนึกถึงหนังสือโต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง วิธีคิดของครูในการพัฒนาเด็กเหมือนกันเลย สามารถผลิตคนที่มีคุณภาพและเป็นคนดีได้เช่นกัน คือสอนให้ค้นหาตัวเอง และส่งเสริมให้คนที่ค้นหาตัวเองเจอเร็วขึ้น ได้ทำงานที่ตัวเองถนัดเร็วขึ้น มีความนับถือตัวเองและให้เกียรติผู้อื่น ลดความเหลื่อมล้ำได้หลายเรื่องทีเดียว ถึงจะใช้เวลานานในการเพิ่มคนเหล่านี้ในสังคม แต่อยากให้ใจเย็น ๆ และเริ่มทำกันก่อนที่สังคมสูงอายุของเราจะมีแต่ผู้สูงอายุทำงานในอีก 20 ปีข้างหน้า ....ขอบคุณทีมงานคุณภาพค่ะ
@ranchnoksrichakkote2971
@ranchnoksrichakkote2971 Жыл бұрын
ชอบคุณครูใหญ่โรนัลด์ค่ะ ชอบความคิด ทัศนคติค่ะ ไม่แปลกใจทำไมประเทศแพ้สงครามอย่างเยอรมนีสามารถสร้างชาติและผู้คนได้มีศักยภาพแบบนี้ ชื่นชมค่ะ ขอบคุณพี่นามากค่ะเอามานำเสนอค่ะ ยอดเยี่ยมเหมือนเดิม ดูเพลินเลยค่ะ สนุก เนื้อหาดี
@patpatchannel4019
@patpatchannel4019 Жыл бұрын
โรงเรียน นี้ เยี่ยมยอด จริงๆ ถ้า โรงเรียนใน ประเทศไทย นำแนวนี้มาสอน 😩😩รับรองได้ โรงเรียนกวดวิชา น้ำตาล่วง เพราะไม่ต้องเรียน หนักๆๆๆๆๆๆ เพื่อ เอาเกรด 🤔🤔🤔เด็ก ที่นี้เลือกได้ว่า จะเป็นอะไร มี 350 วิชาชีพ ให้เลือก👏🏻👏🏻👏🏻👏🏻👏🏻 🌷🌷🌷เฉพาะเจาะจงลงไปใน วิชาชีพนั้นๆ ❤️❤️❤️❤️วิชาความรับผิดชอบ❤️❤️❤️
@rosefelice4925
@rosefelice4925 Жыл бұрын
ชอบวิชาความรับผิดชอบ และ วิชาความท้าทาย ..แสดงถึงทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม ไม่ใช่เน้นแต่วิชาการ (ที่บางวิชาในชีวิตจริงไม่เคยได้ใช้เลย)
@emmyakira429
@emmyakira429 Жыл бұрын
ไปดูงานรอบโลก แต่พี่กรุณาคลิปเดียวสรุปเกือบหมด สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในประเทศ รวมถึงแนวทางการสอบหนังสือหลานเลยค่ะ🙏♥️♥️♥️
@ravineevaranonchuti4114
@ravineevaranonchuti4114 Жыл бұрын
มันต้องเริ่มที่การนิยามความสำเร็จของชีวิตก่อน ถ้าไม่ได้เป็นหมอ เป็นวิศวะ ถ้าไม่รวย แปลว่าไม่เก่ง ไม่สำเร็จ ถ้าสังคมยังคิดแค่นี้ พ่อแม่ที่ยังยึดมาตราฐานสังคม ก็จะมาบังคับลูก และโรงเรียนก็ยังคงต้องสร้างคนเก่งตามมาตราฐานเดิมๆ
@lisalisa6063
@lisalisa6063 Жыл бұрын
ใช่ที่สุดค่ะ เพราะพ่อแม่ที่นี่เขาให้เด็กเลือกตามใจที่ชอบ ทุกอาชีพมีความสำคัญ
@Coca_Cola2531.
@Coca_Cola2531. Жыл бұрын
ย่อโลกทั้งใบให้มาอยู่ในโทรศัพท์ ... ชอบรายการนี้มากครับ​ ได้เห็นโลกกว้าง​ ผู้คนหลากหลาย​ ฐานะ​ ความแตกต่าง​​ สถานที่​ สิ่งสวยงามต่างๆ​ ตื่นเต้นทุกครั้งที่ดูรายการนี้​ เหมือนเราได้ไปท่องเที่ยว​ อีกเยอะแยะมากมายที่บรรยายไม่หมด *... ชอบครับ​ ชอบรายการนี้มากๆครับ​
@cicadarangs6026
@cicadarangs6026 Жыл бұрын
บริบท​ หลังจบจากโรงเรียน สังคม​ นอกโรงเรียน ต้องสอดรับกัน
@user-pb2kn5pp9y
@user-pb2kn5pp9y Жыл бұрын
เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม…การมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลก ของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องของต่อการศึกษา สำหรับในประเทศไทยเอง การศึกษาลักษณะนี้คงเป็นได้แค่ การศึกษาทางเลือก เพราะคงจะยากที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะ ระบบ ระเบียบ กฎที่ค่อนข้างทับซ้อน ถึงจะเกิดได้แต่คงไม่ใช่เวลาอันใกล้นี้…..
@bj-benyintira9942
@bj-benyintira9942 Жыл бұрын
ยากมากค่ะ เพราะมันมีคนบน และบน และบน ต่อๆไปอีกที
@user-in6me9em2z
@user-in6me9em2z Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆแบบนี้ค่ะ💓💓💓
@wawachaiyasak9731
@wawachaiyasak9731 Жыл бұрын
ขอบคุณเรื่องราวดีๆนะคะ👍❤️
@bigsister887
@bigsister887 Жыл бұрын
อยากให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีส่วนรับผิดชอบเข้ามาดูจัง แต่ก็นั่นแหละจะคิดได้หรือเปล่านะ คงฝากความหวังได้ยากจริงๆ ปท.เราการเข้าถึงระบบการศึกษาดีๆ มีไว้สำหรับคนมีเงิน
@englishbysamtaylor
@englishbysamtaylor Жыл бұрын
ขอบคุณที่แบ่งปันนะคะ มีประโยชน์มากคะ
@seasunset4361
@seasunset4361 Жыл бұрын
ประเทศเราคนเก่งๆของแต่ละรุ่นไม่ได้เลือกเป็นครู ยังวนอยู่กับทรงผม เครื่องแต่งกาย คะแนนจิตพิสัยอยู่เลย แล้วครูบางคนจะกี่ปีก็ยังสอนแบบเดิมไม่พัฒนาการสอนของตัวเองเลย
@optimus8740
@optimus8740 Жыл бұрын
ของไทยเราจะทำแบบนี้ได้ไหม เพราะบุคคลากรห่วย ระบบก็ไดโนเสาร์อีก .... จำได้เลย ยุคนั้นเรียนมัธยมฯอยู่ ครูก็บอกว่า ต่อไปนี้มีการเรียนระบบใหม่แล้วนะ child center นักเรียนเป็นศูนย์กลาง แหมชื่อฟังโคตรเท่ พวกเราก็เย้ๆกันใหญ่ จะได้มีอิสระมากขึ้น ครูก็ชอบด้วยระบบนั้น เพราะครูได้สบายมากขึ้น(จากที่สบายกันอยู่แล้ว) ครูไปตีความเอาว่า ให้นักเรียนหาความรู้กันเองในหนังสือเรียน ทั้งชั่วโมงจึงปล่อยนักเรียนนั่งตามสวนหย่อมบ้าง ไปนั่งตากแอร์เล่นกันในห้องสมุดบ้าง นั่งชิวๆตามม้านั่งหินอ่อนบ้าง จนหมดคาบของตัวเองไปวันๆ ผลสรุปก็คือ เละอย่างที่บอก เพราะครูก็ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจอะไร ... จนพวกเรานักเรียนตั้งชื่อให้ใหม่เป็น ระบบควายเซ็นเตอร์
@user-ib5ex7yo5v
@user-ib5ex7yo5v Жыл бұрын
เน้นการใช้งานจริง ทำได้จริง ดึงความสามารถออกมา ให้เค้าเป็นในสิ่งที่เป็น
@salfaria
@salfaria Жыл бұрын
เป็นคลิปที่มีค่ามากครับ มันคือการศึกษาในแบบที่อยากให้เป็น ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ยากในความเป็นจริง แต่หากวันหนึ่งมีโอกาสและทุนทรัพย์เพียงพอ ตั้งใจว่าจะทำแบบนี้เลยครับ ขอบคุณมากสำหรับคลิปดีๆครับ
@manothaitermsaithong2097
@manothaitermsaithong2097 Жыл бұрын
Content ดีมากเลยครับ ดูแล้วจรรโลงใจมากๆ สร้างสรรค์มากครับ 👍✨❤️
@veeravision9138
@veeravision9138 Жыл бұрын
อยากให้มีการเรียนแบบนี้ในไทยบ้าง ให้กับคนรุ่นใหม่ การมันสามารถทำให้เด็กไทยการแสดงออกและความคิด
@023571138
@023571138 Жыл бұрын
ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ เพราะทุกวันนี้สมัครงานที่ไหนถามหาแต่ใบปริญญา คนไทยทุกวันนี้อาจจะจบปริญญาตรี โท เอก มากว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเสียอีกถ้าเทียบเป็นเปอเซ็นต์ แต่ความสามรถรึไม่มีเลยเก่งแต่ในตำรา
@kirtipetchaeawech3948
@kirtipetchaeawech3948 Жыл бұрын
ที่ไทยมีหมดเลย ทั้งการสอนแบบพีบีแอล หรือการเรียนแบบดูอัล วอเคชั่น(วิชาชีพทวิภาคี) เพียงแต่ผู้ปกครองไม่ค่อยชอบที่จะส่งให้ลูกไปเรียน
@user-di7dc9ei4u
@user-di7dc9ei4u Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
@jarungtaan8571
@jarungtaan8571 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ ที่เปิดมุมมองใหม่ๆ เต็มอิ่ม รอติดตามเรื่องใหม่ๆค่ะ
@kawhao3757
@kawhao3757 Жыл бұрын
เขาว่าเยอรมันเป็น ประเทศ แห่งนักวิจัย (วิทยาศาสตร์) และ วิศวกรรม แสดงว่าการศึกษาเขาดีมาก
@bacondelipanom6522
@bacondelipanom6522 Жыл бұрын
คลิปนี้ คือที่สุดคับ ขอบคุณมากครับ
@powerpoint9480
@powerpoint9480 Жыл бұрын
ประเทศไทยเน้นสะกดจิตเด็กๆ ต้องรัก ชาติ ศาส กษัตริย์ ต้องมีระเบียบวินัย กฏเกณฑ์เยอะแยะ ยิ่งเรียน ยิ่งเครียด
@mixmikimikyhibara1854
@mixmikimikyhibara1854 Жыл бұрын
จริง ที่ไทยมีเคารพธงชาติทุกวัน มันต่างกับเด็กเยอรมัน ที่ไม่มีแม้แต่เคารพธงชาติ และไม่มีอภิปรายจากครูใหญ่หน้าเสาธงเหมือน รร ไทยเรา
@tomtangmoful
@tomtangmoful Жыл бұрын
ไอนส์สไตน์ ก็คนเยอรมันเก่า ก่อนย้ายไปเข้าพวก อเมริกา…….ผมเคยทำงานวิศวะกับคนเยอรมัน ทำให้เราเก่งขึ้นมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เพราะเขาเก่งมากๆ เขาจะถามตลอดเวลาและคิดตลอดเวลา
@user-pk6sl1bm9q
@user-pk6sl1bm9q Жыл бұрын
การศึกษาไม่ใช่สถานที่ แต่คือผู้คน
@mimitao722
@mimitao722 Жыл бұрын
คุณภาพการศึกษาดีมากๆค่ะ ❤
@pacman1187
@pacman1187 Жыл бұрын
ผมไปเรียนโทที่เยอรมันมา ค่อนข้างชื่นชมระบบ dual studium ของเค้านะ เพราะบางวิชาชีพมันไม่ต้องจบ ป.ตรีก็ได้ บ้านเราหลายๆสาขาน่าจะย้ายมาเรียนในโรงเรียนอาชีวะได้ และให้น้องๆฝึกงานแบบได้ค่าตอบแทนด้วย เด็กก็ได้เงินตั้งแต่ ม.4 เลย จบ ม.6 ทำงานได้เลย ไม่ต้องรออีก 4 ปีเรียน ป.ตรีให้จบก่อน แต่ก็ยังทำงานไม่ค่อยเป็น บ้านเราจริงๆคนจบตรีมากเกินไปนะ บ้านเราควรจะมีคนทำอาชีพวิชาชีพมากกว่านี้ แต่ค่าตอบแทนมันไม่ดี มันไม่ดึงดูด ก็พอเข้าใจ
@M24nopparat
@M24nopparat Жыл бұрын
เนื้อหาสนุกมากครับ ติดตามชมตลอด
@chaivtim
@chaivtim Жыл бұрын
เด็กบ้านเราถูกจำกัดด้วยคำว่าเกรด เด็กบ้างคนเรียนไม่เก่ง แค่มีความสามารถด้านอื่นๆ ก็จะถูกมองว่าไม่เก่งด้วยเกรดและผลการเรียน โดยที่ระบบการศึกษาบ้านเรามองไม่เห็นถึงเรื่องแบบนี้เลย
@anns564
@anns564 Жыл бұрын
เราอยู่ที่นี่ 🇦🇹 มหาวิทยาลัยที่นี่ Europaschule มีนักเรียนนำเข้า กว่าครึ่งจาก เยอรมัน สาธารณะรัฐเช็ค สเปน และประเทศเพื่อนบ้าน เพราะนักเรียนไม่เต็มห้อง ที่นั่งว่าง เพราะมีประชากรน้อย แต่ทุกอย่างฟรี มีแค่ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่านั้นที่จ่ายเอง
@sepsagy
@sepsagy Жыл бұрын
ที่ไทยก็จะเป็น รร แบบสายอาชีวะ ถ้าทางสถานบัน/โรงเรียน ส่งเสริมแนะแนวทางให้เด็กมันก็จะส่งผลดีขึ้นไปต่อการพัฒนาฝีมือและสามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้ง่าย แต่ค่านิยมของคนไทยส่วนมากยังติดอยู่กับชื่อเสียงของสถาบัน ติดในเรื่องของปริญญาสูงๆ ที่ต้องได้มาซึ่งหน้าตาและค่านิยมผิดๆ คนไทยต้องหันมาแก้ไขเรื่องค่านิยมแบบนี้ให้ได้เสียก่อน
@smmtsm4311
@smmtsm4311 Жыл бұрын
เคยมีโอกาสไปสัมผัสที่ประเทศเยอรมันเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว นักเรียนที่นั่นมีความสุขมาก การเดินทางก็ปลอดภัยไม่ต้องนั่งรถไปให้แออัดเห็นแต่ละคนไถลสเก็ตบอร์ด การแต่งกายก็ตามสไตล์ของตัวเอง ทรงผมก็ตามสไตล์ตัวเองไม่มีใครมาบังคับ ไม่มีการเข้าแถวทุกคนเข้าห้องเรียน ผลลัพธ์การศึกษาออกมาดีมาก คุณภาพชีวิตก็ดี บ้านเมืองก็สะอาดเรียบร้อย
@user-ru8jq5pm4r
@user-ru8jq5pm4r Жыл бұрын
เมื่อมีการแข่งขันในสิ่งเดียวกันจะเกิดปมด้อยขึ้นมา หากพัฒนาไปตามความสามารถและต้องการของแต่ละกลุ่มเพื่อสังคมและอนาคตของเด็กทุกคนจะเข้าใจว่าตัวเองต้องทำอย่างไร คือมีความรับผิดชอบรวมอยู่ด้วย.
@thitipanritthamlert5180
@thitipanritthamlert5180 Жыл бұрын
ผมเคยคุยกับเพื่อนร่วมงานชาวเยอรมันเกี่ยวกับการเรียนของเค้าว่าทำไมถึงมาทำงานที่บริษัทนี้ได้ เขาบอกว่าเรียนจบประมาน ม.3 แล้วก็เข้าไปเรียนในระบบของบริษัทเป็นอะเคเดมี่ โดยเรียนทุกๆอย่างที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับเครื่องจักรของบริษัท โดยจะมีทั้งทฤษฏีและปฦิบัติจริงตามสายการผลิต ระยะเวลาประมาน3-5ปี โดยจะไดรับค่าจ้างด้วยตลอดระยะเวลาที่เรียน เป็นข้อดีของประเทศผู้เป็นต้นเทคโนโลยี คือบริษัทได้คนทำงานตรงตามที่ต้องการ และประชาชนมีรายได้ตั้งแต่ยังเด็ก คุยกับเพื่อนแล้วยังอิจฉาเค้า ส่วนตัวเรากว่าจะเรียนจบ กว่าจะได้งานที่ชอบ กว่าจะชำนาญ....มีลูกต้องเลี้ยงลูกต่อ 😂
@nanogangs
@nanogangs Жыл бұрын
มองเหมือนฟุตบอลเลยครับ แต่ละทีมสร้างอคาเดมี่ของตนเองขึ้นมามีส่วนช่วยต่อทีมหลักมากๆ จะย้ายทีมก็ได้เงินจากการขายเพราะเป็นงานแล้ว
@souksida
@souksida Жыл бұрын
ที่ เยอรมันถ้า เรียนสาย อาชีพ เขา จะให้ เรียน ทฤษฎี สลับ กับ ปฏิบัติกันไป เดือนต่อเดือน , จนกว่าจะเรียนจบ พอเรียน ผู้ ที่ จบ ก็ จะมีประสบการณ์ทำงาน และ สามารถทำงาน ได้ , เราดีมากๆเลยน่ะ
@user-nf5zq1zd3i
@user-nf5zq1zd3i Жыл бұрын
ได้ความรู้ดี
@sirivid7100
@sirivid7100 Жыл бұрын
ชอบคอนเท้นครับ ได้เห้นโลกในหลากหลายมุมมอง ได้แนวคิด
@user-jk2hs9jc9m
@user-jk2hs9jc9m Жыл бұрын
จากคนที่ป่วยเป็นซึมเศร้าจากการเรียนในระบบไทยจนจบมหาวิทยาลัยก็ยังไม่หายป่วย ดูไปก็นั่งร้องไห้ไป เด็กไทยคงไม่มีวันได้โอกาสนี้
@chainanphophakdee6154
@chainanphophakdee6154 Жыл бұрын
ขอบคุณที่ทำให้มีความรู้เพี่มขื้น
@surasakboon-ngarm2503
@surasakboon-ngarm2503 Жыл бұрын
ครูไทย(โดยเฉพาะราชการครู)จำนวนไม่น้อยโดนบั่นทอนความรู้ความสามารถและเวลาโดยระบบราชการที่อุ้ยอ้ายของไทย สอน 20% อีก 80% ไปทำประเมิน ไปทำงบประมาณ ทำงานเอกสาร ไปทำโครงการ ไปอบรม ไปสัมมนา ไปดูงาน ไปยืนเข้าแถวรับ-ส่งผู้หลักผู้ใหญ่ ไปเตรียมกิจกรรมอิลุ่ยฉุญแฉก สารพัดสารเพ ฯลฯ ก็น่าเห็นใจคุณครูนะครับ เพราะถ้าไม่ทำเยี่ยงนี้ก็จะไม่เจริญในหน้าที่การงาน
@wassanasribut8477
@wassanasribut8477 Жыл бұрын
ชอบมากเลย ชัดเจน ตรงไปตรงมา
@pakinpakinn8819
@pakinpakinn8819 Жыл бұрын
ยอดเยี่ยมครับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
@user-qf9te1wl1t
@user-qf9te1wl1t Жыл бұрын
วิชาแปลกๆกับมีเกรดออกตอนอายุ15เป็นอะไรที่ฟังแล้ว สว่างมาก ผอ.รร น่าจะช่วยกันดันน่ะ ผมจบจาก กศน.ครับ มีวิชาแปลกๆเช่นวิชาชีวิตค่อนข้าวครอบคลุม​ในหลายวิชา เรียนไปทำงานด้วย จะจบ ป.ตรีแล้วครับ
@lisalisa6063
@lisalisa6063 Жыл бұрын
ใช่ค่ะ เด็กประถมจะไม่มีเกรดให้ มี แค่ ดีมาก ดี พอใช้ ต้องปรับปรุง และแย่
@user-sq4gu7zz2j
@user-sq4gu7zz2j Жыл бұрын
การศึกษา..บ้านเราคือกลัวเรียนมาจบแล้วจะตกงาน......เป้าหมายการศึกษาไทยคือการได้วุฒิการศึกษา..เพื่อไปทำงานในระบบทุนนิยม...มิใช่การศึกษาเพื่อให้ได้คนที่คิดเป็น..กลุ่มที่อยู่ดอกบัวใต้น้ำ..ก็จะอยู่ใต้น้ำต่อไป..การศึกษาช่วยเด็กๆกลุ่มนั้นไม่ได้..สภาพสังคมก็เริ่มเสื่อมโทรมมี..ความรุนแรง...ยาเสพติด..มุ่งเน้นวัตถุ...รัฐ.นโยบายรัฐ...กฏหมายผู้บังคับใช้กฏหมาย...เมื่อที่พึ่งของเด็กๆนับจาก.พ่อแม่..รร..สังคม..พูดถึงค่าเฉลี่ย..เริ่มเสื่อม..อีกไม่นาน...เกินเยี่ยวยา....ในเมื่อแค่นักการเมือง...ยังแก้ปัญหาในสภายังไม่ได้..แก้ปัญหา EQ..ตัวเองยังไม่ได้..แล้วเด็กๆอนาคตของชาติคงจะหวังอะไร...
@WarinPartita6
@WarinPartita6 Жыл бұрын
น่า​สนใจ​มาก​ครับ​ ขอ​เรื่อง​การศึกษา​ใน​ประเทศ​อื่น​ๆ​ ด้วย​ก็​ดี​ครับ​
@kacy4810
@kacy4810 Жыл бұрын
ประเทศไทยการบริหารประเทศตกต่ำอะไรก็ตำ่เรียนจบไปก็ตกงานภาษีก็แพง โรงงานไปเปิดที่ประเทศเพื่อนบ้านหมด
@user-ym4rw1gx9e
@user-ym4rw1gx9e Жыл бұрын
ต้นเหตุเขาย้าย รง.หนีไปที่อื่นเพราะอะไรหรอครับ
@raiponcemignonne1590
@raiponcemignonne1590 Жыл бұрын
มันดีตรงค่าเทอมถูก แต่ไม่ใช่ไม่เก็บเลย ถ้าบางมหาวิทยาลัยเอกชน (มีอันนึงในBerlin อย่างแพง เพราะเค้าเปิดกว้างในนักศึกษาต่างชาติ) แต่มีทุน และไม่ใช่ทุกคนที่ได้ เพราะเป็นสถาบันเอกชนและเปิดกว้างในนักศึกษาต่างชาติ เป็นสาขาเฉพาะด้าน แต่ด้วยความเป็นเอกชนและความGlobal เค้าถึงมีค่าเทอมต่างกับที่อื่น แต่ยอมรับ ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันมาบ้างเพราะนอกห้องเรียนอะไรต่างๆเช่นป้ายตามทาง ร้านอาหาร ป้ายรถเมล์ ต่างประเทศดี เรียนแบบไม่กดดันมาก (ประถม-มัธยม) ไทยเรียนติวตั้งแต่ประถมแล้วเดี๋ยวนี้ เห็นสภาพเด็กเครียดเพื่อจะได้เข้าโรงเรียนดีๆ เรายอมรับว่ามัธยมเครียดมาก เพราะมีคนแต่แข่งกันเรียน พอคะแนนน้อยเวลาสอบเก็บคะแนนเพื่อนเหมือนเมิน พอเราได้คะแนนดีแล้วมาสนใจ เครียดเพือจะนั่งติว คนเก่งก็ได้เรียนที่ดีๆ คนพลาดโอกาสต้องยอมรับ และหาที่ใช่สำหรับตัวเอง (มหาวิทยาลัยในไทยดีๆ คือค่านิยมให้เด็กต้องเครียดเพื่อจะสอบเข้า ส่วนมหาวิทยาลัยกลางๆไปถึงล่างๆ เวลาสมัครงานโดนเมิน แต่ไม่ใช่ทุกที่ แต่ถ้าที่ดังๆ ก็เลือกมหาวิทยาลัยที่มีชื่อ มันwidely gap class ทุกมหาวิทยาลัยในเยอรมันคือเท่าเทียมในด้านความรู้ ต่างกับมหาวิทยาลัยในไทย มันมีความไม่เท่ากันเยอะ แต่แบบระบบที่ไม่ใช้เกรด ใช้ไม่ได้หรอกกับที่ไทย ถ้าเกเรและขี้เกียจนี่ความรู้แทบไม่เข้าสมอง คนตั้งใจเรียนมันมี แต่อยากออกแบบให้ไม่ต้องเข้มข้นมาก เรียนจบสอบเก็บคะแนนไปเรื่อยๆ มันดีกว่าสอบใหญ่
@dayroadtrip9553
@dayroadtrip9553 Жыл бұрын
ในขณะที่เด็กไทยต้องเรียน สังคม หน้าที่พลเมือง พระพุทธศาสนา อยู่นั้น ขนะเดียวกันเด็กในระดับเดียวกันในเยอรมันเขาสามารถมองเห็นถึงอนาคตของตัวเองมีเป้าหมายในชีวิตเลื่อกสิ่งที่ตัวเองอยากทำได้เด็ก16บ้านเขาได้ไปทำค่ายจิตอาสาที่เกิดประโยชน์จริงๆแต่ที่ไทยยังจัดกิจกรรมประชุมสัมนาตีกลองเต้นกันอยู่เลย😂
@lisalisa6063
@lisalisa6063 Жыл бұрын
แม้แต่เด็กเล็กๆก็กินข้าวเอง เก็บจานเองค่ะ ต้องเรียนรู้ และช่วยเหบือตัวเองตั้งแต่เด็กๆค่ะ
@pianocello2451
@pianocello2451 Жыл бұрын
ชอบมากค่ะ พาไปเปิดโลกกว้างอีกแล้ว ขอเป็น เรียนแบบสวิสเซอร์แลนด์บ้างได้ไหมคะ
@chevasit
@chevasit Жыл бұрын
สุดยอดมาก!
@bancompuikai6345
@bancompuikai6345 Жыл бұрын
อยากเข้าไปเรียน โรงเรียนน่าเรียนมากการจัดบรรยากาศ วิธีการสอน น่าเรียนสุดๆ
โรงงานผลิตเด็ก | ร้อยเรื่องรอบโลก EP212
21:19
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Рет қаралды 539 М.
Clown takes blame for missing candy 🍬🤣 #shorts
00:49
Yoeslan
Рет қаралды 43 МЛН
Why Is He Unhappy…?
00:26
Alan Chikin Chow
Рет қаралды 29 МЛН
What it feels like cleaning up after a toddler.
00:40
Daniel LaBelle
Рет қаралды 82 МЛН
เพราะความเหงาฆ่าคนได้ | ร้อยเรื่องรอบโลก EP.244
19:06
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Рет қаралды 173 М.
อาหารเลี้ยงโลกอนาคต | ร้อยเรื่องรอบโลก EP137
17:29
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Рет қаралды 271 М.
A day in the Beer Capital of Munich, Germany | VLOG
29:47
Go Went Go
Рет қаралды 347 М.
ยาใจวัยร่วงโรย | ร้อยเรื่องรอบโลก EP.288
23:19
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Рет қаралды 142 М.
ผู้ลี้ภัยความเหงา| ร้อยเรื่องรอบโลก EP.345
18:33
รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
Рет қаралды 200 М.
Clown takes blame for missing candy 🍬🤣 #shorts
00:49
Yoeslan
Рет қаралды 43 МЛН