โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา

  Рет қаралды 77,521

Doctor Tany

Doctor Tany

Жыл бұрын

สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Пікірлер: 434
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ Atrial Fibrillation หรือ AF พบได้ค่อนข้างบ่อย Atrial Fibrillation คือ หัวใจเรามีห้องบนเรียกว่า Atrium และห้องล่าง เรียกว่า Ventricle อยู่ด้านซ้ายและขวา Atrial Fibrillation ปัญหาจะอยู่ที่ห้องด้านบน ห้องด้านบนมีหน้าที่นำไฟฟ้ามาสู่ห้องด้านล่างแล้วทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และส่วนหนึ่งส่งไปปอดด้วย ตอนที่1
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
ถ้าหัวใจห้องด้านบนบีบตัวปกติ (สามารถดูลักษณะการบีบตัวของหัวใจได้ในนาทีที่ 1:34) ก็จะบีบเลือดส่งมาให้ห้องล่าง ห้องล่างก็จะบีบต่อ และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้าห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน ห้องบนมีการบีบแบบสั่นพริ้ว (สามารถดูลักษณะการบีบตัวของหัวใจได้ในนาทีที่ 1:47) จะเรียกว่า Atrial Fibrillation ปัญหาของ Atrial Fibrillation เลือดที่ส่งมายังห้องล่างของหัวใจได้ไม่เต็มที่ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้าย และ ล่างขวา ส่งออกไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหา - อวัยวะขาดเลือดก็จะทำให้เหนื่อยง่าย - ใจสั่น หน้ามืด ความดันตก ช๊อก เสียชีวิตกระทันหัน - หัวใจจะมีติ่งพิเศษ Atrium จะเป็นห้องกลมๆอย่างหนึ่ง และจะมีห้องข้างๆ เรียกว่า Atrial Appendage ห้องนี้จะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ เวลาที่หัวใจสั่น ทำให้เลือดไม่ค่อยเดิน เมื่อเลือดอยู่ที่เดิมนานๆ ก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ ลิ่มเลือดนี้ก็มักจะชอบอยู่ตรง Atrial Appendage วันดีคืนดีหัวใจปั๊มเอาลิ่มเลือดนี้ออกไป ลิ่มเลือดนี้สามารถไป สมอง ก็ทำให้เกิด Stroke คนไข้อาจเป็นอัมพฤกได้ เวลารักษา Atrial Fibrillation ก็ควรจะคำนึงถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมา ตอนที่2
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
สาเหตุที่เกิด Atrial Fibrillation 1. สาเหตุที่แก้ได้และมักเป็นชั่วคราว เช่น - Hyperthyroid จะมีการหลั่งของฮอร์โมนมากผิดปกติ ทำให้โอกาสหัวใจเต้นสั่นพริ้วเพิ่มขึ้น บางครั้งถ้าเรารักษาที่ Thyroid บางครั้งก็หายขาดไม่จำเป็นต้องรักษาต่อ - จะพบบ่อยในคนที่มีการหยุดหายใจในขณะหลับ อาจเกิด Atrial Fibrillation หากแก้ไขแล้วอาจหายได้ - อดนอนมากๆ มีความเครียด รับประทานยาบางชนิด ดื่มกาแฟเข้าไปเยอะ เราต้องไปแก้ที่สาเหตุ ก็อาจหายได้ - หากมีการผ่าตัดของหัวใจก็อาจมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้ ตอนที่3
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
2. สาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ เช่น - จะพบได้มากหากเป็นความดันโลหิตสูงแล้วเราไม่รักษา รอจนเกิด Atrial Fibrillation ไปแล้ว ถึงแม้จะรักษาความดันแล้ว Atrial Fibrillation โอกาสจะกลับมาเป็นปกติได้น้อยมาก - บางคนเป็นโรคปอดเรื้อรัง ความดันในช่องปอดสูงมาก จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ กลุ่มนี้เป็นแล้วอาจจะไม่หาย แต่อาจดีขึ้นได้ หากเรารักษาโรคปอด หรือได้รับการปลูกถ่ายปอด ก็อาจหายไปได้ - คนที่มีปัญหาเรื่องลิ้นหัวใจห้องด้านซ้าย ระหว่าง Atrium ด้านบนซ้าย และ Ventricle ด้านล่างซ้าย จะมีลิ้นหัวใจเรียกว่า Mitral valve ถ้าเราเป็นโรคหัวใจรูมาติก (คนละโรคกะรูมาตอยด์ที่ปวดข้อ) เป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่ง เข้าไปทางคอ หรือ ผิวหนัง วันดีคืนดีเข้าไปในลิ้นหัวใจทำให้เกิดการตีบขึ้นมาได้ จะเรียกว่า Rheumatic Heart Disease พอตีบมากๆ (ถ้าขนาดเล็กกว่า 1.5 cm ถือว่าตีบขั้นรุนแรง โอกาสที่จะเกิด Atrial Fibrillation ก็จะสูงขึ้น เราต้องทำการรักษา คนที่จะเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมก็จะมีการพิจารณาที่แตกต่างกันไป ตอนที่4
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
อาการที่ควรจะต้องไปพบแพทย์ - ใจสั่นบ่อยๆ - คนที่มีโรคความดันโลหิตสูง - Stroke หรือลิ่มเลือดอุดตันตามที่ต่างๆ จะต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นจาก Atrial Fibrillation หรือเปล่า คนส่วนมากบังเอิญตรวจเจอมากกว่า บางคนอาจใจสั่น หน้ามืด แล้วไปตรวจจึงพบ เมื่อแพทย์ตรวจพบแล้ว - แพทย์จะแก้ไขปัจจัยที่แก้ไขได้เสียก่อน เช่น คนที่ดื่มกาแฟเยอะๆ จะต้องงดกาแฟ งดคาเฟอีน คนที่เสพยาเสพติดก็ต้องงด หากไม่งดนอกจากไม่หายก็อาจเสียชีวิตด้วยซ้ำไป - หากแก้ไขแล้วไม่หาย ต่อไปเราจะ 1. Rhythm control (เปลี่ยนจังหวะการเต้นหัวใจไม่ได้เต้นสั่นพริ้วหรือ AF ) and rate control จะทำให้หัวใจภาวะ AF กลับมาเต้นปกติ หรือ Normal sinus rhythm และอีกแบบคือ Rate control จะแค่ควบคุมไม่ให้เต้นเร็วเกินไป ไม่ให้เกิน 100-120 ครั้งต่อนาที เป็นต้น ตอนที่5
@pattarapornsovarattanaphon8892
@pattarapornsovarattanaphon8892 Жыл бұрын
กรณีที่เลือกเป็น Rate control จะง่ายกว่าและไม่ค่อยอันตรายมากมาย เพราะ ยาที่ใช้ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเท่าไหร่ จะเลือกใช้กรณีนี้เมื่อตรวจพบโดยบังเอิญ ไม่มีอาการใดๆ และผู้สูงอายุ (ส่วนใหญ่คุณหมอจะตัดที่อายุ 80 ปีขึ้นไป แต่บางเคสก็ต้องรักษาแบบ Rhythm control ) เพราะผู้สูงอายุจะทนผลข้างเคียงของยาเหล่านี้ไม่ค่อยไหว กรณีที่เลือกเป็น Rhythm control จะทำให้หัวใจภาวะ AF กลับมาเต้นปกติ คุณหมอมักจะใช้ในกรณีที่ - คนไข้อายุต่ำกว่า 75 หรือ ต่ำกว่า 65 จะยิ่งดี เพราะคนอายุน้อยส่วนมากมักจะใช้แรง หากการทำงานของหัวใจไม่สัมพันธ์กันบางครั้งจะทำให้ ทำหน้าที่นั้นได้ไม่เต็มที่ - คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจวายอยู่แล้ว เราจะรู้อยู่แล้วว่าหัวใจห้องด้านล่างจะบีบตัวไม่ค่อยดี หรือที่เรียกว่า Congestive heart failure ถ้าบีบไม่ดี แล้วข้างบนเป็น AF หัวใจเต้นพริ้วเลือดก็ส่งไปได้น้อยอยูแล้ว ถ้าด้านล่างบีบไม่ดีอีก ก็จะยิ่งเกิดปัญหา - คนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เช่น คนที่เคยเป็น Stroke ไม่ว่าอดีต หรือ เพิ่งเป็น คนที่มีโรคหลอดเลือดต่างๆ - คนที่เคยทำ Rate control แล้วไม่สำเร็จ ก็ต้องทำแบบ Rhythm control ตอนที่6
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
🧡 อาการของโรคหัวใจเต้นผิดปกติ AF ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่มาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอัมพาตตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนที่เหลือผู้ป่วยมาพบแพทย์เนื่องจากอาการดังต่อไปนี้ ◽️ มีอาการสมองขาดเลือดไม่ทราบสาเหตุ ◽️ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เต้นไม่สม่ำเสมอ ◽️ เจ็บหรือแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ◽️ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ◽️ เหนื่อยมากขณะออกกำลังกาย ◽️ เป็นลมหมดสติ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
หัวใจเต้นผิดจังหวะ AF หัวใจเต้นพลิ้ว หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา
@user-np3uz2zb6q
@user-np3uz2zb6q Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ
@user-ss5hu2hl4u
@user-ss5hu2hl4u Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ..
@sorattyahattapasu7765
@sorattyahattapasu7765 Жыл бұрын
กราบขอบพระคุณมากคะ
@user-em7ys1ir4o
@user-em7ys1ir4o Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ🙏🙏🙏🙏🙏🙏
@teerapatsrikriddiyakorn527
@teerapatsrikriddiyakorn527 5 ай бұрын
ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ
@rungnapakaewmaliwong9114
@rungnapakaewmaliwong9114 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ❤
@peamitmaiteetour1111
@peamitmaiteetour1111 Жыл бұрын
อธิบายดีค่ะ... 💬✅
@user-xu9zi8lq6f
@user-xu9zi8lq6f Жыл бұрын
ขอบคุณหมอค่ะที่ให้ความรู้
@user-yw7gq2ku9u
@user-yw7gq2ku9u Жыл бұрын
ฟังค่ะ
@comserveitserve7165
@comserveitserve7165 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่
@leo-jx2mh
@leo-jx2mh Жыл бұрын
ขอบคุณครับพีหมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️
@user-qi8iz6bp5t
@user-qi8iz6bp5t Жыл бұрын
คุณหมอมีสาระมากๆค่ะ
@juth5229
@juth5229 Жыл бұрын
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
@yingp6104
@yingp6104 Жыл бұрын
มองคุณหมอแล้วหัวใจเต้นผิดปกติค่ะ😂😂 เดี๋ยวภรรยาคุณหมอมาเห็นอาจจะซวยได้555
@nichaphatphonyut8435
@nichaphatphonyut8435 Жыл бұрын
ชอบฟังคุณหมอมากค่ะ
@user-ve4hv6eq3f
@user-ve4hv6eq3f Жыл бұрын
ดีมากเลยค่ะ
@user-lk7mh7lu2u
@user-lk7mh7lu2u 7 ай бұрын
ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ
@supatrasernvongsat6328
@supatrasernvongsat6328 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์ทุก clip เลยค่ะ
@user-mr8fp6lo6g
@user-mr8fp6lo6g Жыл бұрын
สวัสดีเจ้าขอบคุณเจ้า💞💞💞💞💞
@toifarrell7949
@toifarrell7949 Жыл бұрын
Very good information.thank you doctor
@user-fx8sv6yy8q
@user-fx8sv6yy8q Жыл бұрын
🧡💙💝💞🙏สุขในทุกสถานการณ์นะคะ
@taniareya
@taniareya Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายค่ะ 💙
@praneewernlim
@praneewernlim Жыл бұрын
MANY THANKS DOCTOR GOD BLESS
@rinkorinrinrin
@rinkorinrinrin Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ
@Spt_N_25
@Spt_N_25 Жыл бұрын
โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา#โรคหัวใจ หัวใจเต้นพลิ้ว Atrial Fibrillation หรือ AF คือ การที่หัวใจเต้นเร็วและมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ในระหว่างที่เป็น AF หัวใจสองห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอและเป็นคนละจังหวะกับหัวใจทั้งสองห้องล่าง ทำให้การปั๊มเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ มักมีอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน และร่างกายอ่อนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงต่อ การเกิดลิ่มเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หัวใจล้มเหลว และ โรคหัวใจอื่นๆ ตามมา อาการของภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว AF 🧊ใจสั่น 🧊 หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ 🧊 เหนื่อยง่าย 🧊 อ่อนเพลีย 🧊 เหนื่อยขณะออกกำลังกาย 🧊 ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง 🧊 เจ็บหรือแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ 🧊 หายใจลำบาก 🧊 เป็นลมหมดสติ อีกหนึ่งความรู้วันนี้เรื่องหัวใจ มีประโยชน์ จะได้ สังเกตว่าเรา ครอบครัว มีอาการแบบนั้นไหม ไม่เจ็บป่วย ดีที่สุด พยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้ก่อน ทานอาหารครบหมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนนอนให้มีคุณภาพ ไม่เครียด ตรวจสุขภาพ เหล้า บุหรี่ ไม่ดีต่อสุขภาพก็ควรเลิก ขอให้คุณหมอปลอดภัย พักบ้างนะคะ ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️
@user-nl3do1vr2n
@user-nl3do1vr2n Жыл бұрын
ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ🙏🍀
@chaweewanbierly5044
@chaweewanbierly5044 Жыл бұрын
Merry Christmas Ka Doctor
@raksaswallow2563
@raksaswallow2563 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ
@maxprivate
@maxprivate Жыл бұрын
กลัวเลยครับ งืออออ
@chittipornchuatram5703
@chittipornchuatram5703 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณคลิปนี้มากๆนะค่ะ พอดีพี่สาวเป็นอยู่ค่ะ ค่ารักษาแพงมากๆเลยค่ะ 🤗😘❤
@anutinyaemnam8180
@anutinyaemnam8180 Ай бұрын
ผมเป็นอยู่ครับ
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
สวัสดึค่ะคุณหมอธนีย์ จริงค่ะคุณหมอเป็นเรื่องที่ยาก เยอะ และยาวค่ะ คุณหมอบรรยายได้ละเอียด เหมือนได้ฟังคุณหมอเฉพาะทางโรคหัวใจอยู่ค่ะ ที่อันตรายคือ เวลาที่หัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันได้ AF มีทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้ และแก้ไขไม่ได้ หนึ่งสาเหตุที่แก้ไขได้ที่คุณหมอเคยอธิบายไว้ในคลิปหยุดหายใจขณะหลับหลายๆคลิปค่ะ คุณหมอบรรยายเรื่อง"หัวใจ" มา 2 วัน คงมีต่อพรุ่งนี้อีกนะคะ ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายใจ และมีความสุขนะคะ 🌻🧡🌻
@arombless6144
@arombless6144 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากค่ะ ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรคุณหมอและครอบครัวนะคะ
@overatedgames4233
@overatedgames4233 Жыл бұрын
กราบขอบคุณคุณหมอตลอดเวลา ขอให้คุณหมอเจริญๆ ...ที่ทำให้มีความรู้ มีความรู้ก็สามารถดูแลตนเอง แนะนำคนรอบข้างได้ในส่วนหนึ่ง . มีประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ
@kalyamonosathanond
@kalyamonosathanond Жыл бұрын
ใกล้วันหัวใจโลกแล้ว คุณหมอเลยมาพูดหัวข้อหัวใจบ่อยๆแน่เลย ช่วงนี้เหนื่อยจากการอ่านนส. ไม่ค่อยมีเวลาได้เข้ามาดูเหมือนแต่ก่อน 🥲 เป็นกำลังใจให้เหมือนเดิมนะคะ Keep a healthy heart so we won’t be apart.
@KunlayaneeToy
@KunlayaneeToy Жыл бұрын
ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลง คุณหมอแทน ดูแลรักษา สุขภาพด้วยค่ะ
@suriyawong75
@suriyawong75 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคกับคุณหมอ เป็นคลิปที่มีประโยชน์ทุกคลิปค่ะ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍
@sdfPZXC
@sdfPZXC Жыл бұрын
ให้คนไข้ดูคลิปนี่แทนอธิบายเองจะดีไหมครับ ดีมาก😂
@kiartinitikun
@kiartinitikun 10 ай бұрын
ชอบฟังคุณหมอมากค่ะ เนื้อหาทุกอย่างตรงกับที่นู่เรียนพยาบาลอยู่ตอนนี้เลยค่ะ 🎉🎉
@asmeyawara3875
@asmeyawara3875 9 ай бұрын
ขอบคุณเนื้อมากครับ กำลังเรียน นศ .เเพทย์ เนื้อหาครบ มากค่ะ
@aorta1977
@aorta1977 Жыл бұрын
อาจารย์อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับ AF สาเหตุ ภาวะต่างๆการรักษาได้เข้าใจง่ายเห็นภาพเลยค่ะ 👍🏻ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ 😁
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 1) ❤️‍🩹โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ ทำไมถึงเกิดขึ้นได้❓ใครที่เป็นจะต้องทำอย่างไร❓ ไม่ดีอย่างไร❓ มีวิธีดูแลรักษาอย่างไร❓ในเวลาที่หมอพิจารณาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง❓ Atrial Fibrillation คืออะไร❓ หัวใจของเราจะมีห้องบนกับห้องล่างห้อง ห้องบนจะเรียกว่า Atrium มีทั้งด้านซ้ายและขวา ห้องล่างเรียกว่า Ventricle มีทั้งด้านซ้ายและขวาเช่นกัน ปัญหาจะอยู่ตรงส่วนที่เป็นห้องด้านบน ซึ่งมีหน้าที่นำกระแสไฟฟ้ามาสู่ห้องด้านล่างและทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และมีส่วนหนึ่งส่งไปปอดด้วย ถ้าหัวใจด้านบนบีบตัวปกติ ก็จะบีบเลือดส่งมาให้ห้องล่าง ห้องล่างก็จะบีบต่อและเอาเลือดส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้ามันไม่สัมพันธ์กันเช่น ถ้าห้องบนมีการบีบ”แบบสั่นพลิ้ว”ก็จะเรียกว่า Atrial Fibrillation ทำให้เลือดที่ส่งมาสู่ห้องล่างของหัวใจก็จะได้ไม่เต็มที่ พอได้ไม่เต็มที่ก็จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาส่งเลือดออกไปตามส่วนต่างๆของร่างกายได้น้อยลง ทำให้เกิดปัญหาเช่น 💓1 เหนื่อยง่าย 💓2 ใจสั่น 💓3 หน้ามืด 💓4 ความดันตก เกิดอาการช็อกได้หรือบางคนเสียชีวิตกระทันหัน แต่ปัญหาที่นอกเหนือจากนั้นคือ หัวใจของเราหัวใจจะมีคล้ายๆเป็นติ่งพิเศษอยู่ข้างๆ Atrial เรียกว่า Atrial Appendage เป็นห้องที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ เวลาที่หัวใจสั่นพริ้ว จะทำให้เลือดไม่ค่อยเดิน เมื่อเลือดอยู่ที่เดิมนานๆก็จะกลายเป็นลิ่มเลือดได้ ลิ่มเลือดนี้จะชอบไปอยู่ใน Atrial Appendage หากวันดีคืนดีหลุดออกมาแล้วหัวใจเราปั้มออกไป ลิ่มเลือดก็จะไปที่สมองอุดตันที่สมองก็เกิด Stroke ได้ ทำไมถึงเป็น Atrial Fibrillation❓ แบ่งออกได้เป็น สาเหตุที่แก้ได้ และสาเหตุที่แก้ไม่ได้ สาเหตุที่แก้ได้และมักจะเป็นชั่วคราว เช่น 💗1 ถ้ามีอาการ Hyperthyroid ฮอร์โมนหลั่งมากจนเกินไปทำให้หัวใจมีการเต้นสั่นพลิ้วเพิ่มขึ้น ถ้าเราแก้ที่ ไทรอยด์ บางทีก็หายขาด 💗2 มีการหยุดหายใจในขณะหลับ 💗3 จากการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น อดนอนนานๆ เครียดมากๆ บางคนรับประทานยาบางชนิด ดื่มกาแฟเยอะๆ 💗4 มีการผ่าตัดของหัวใจ สาเหตุที่แก้ไม่ได้ทำให้มีปัญหาระยะยาว 💟1 ความดันโลหิตสูง 💟2 โรคปอดเรื้อรัง ความดันในช่องปอดสูงมากๆ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 2) เหตุผลอื่นๆที่เอามาร่วมคิดด้วยก็คือ คนที่มีปัญหาเรื่องลิ้นหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจห้องด้านซ้าย มีด้านบนและด้านล่าง Left atrium และ Left ventricle ระหว่างห้องจะมีลิ้นกั้นอยู่ตรงกลาง ลื้นกั้นด้านซ้ายเรียกว่า Mitral Valve ถ้าเราเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease) เป็นการติดเชื้อชนิดหนึ่งที่เข้าทางคอ หรือบางคนก็ติดเชื้อทางผิวหนังแล้ววันดีคืนดีไปที่ลิ้นหัวใจ ทำใก้ลิ้นหัวใจตีบ พอตีบมากๆ ถ้าขนาดเล็กว่า 1.5 ตร.ซม.ถือว่าตีบขั้นรุนแรง โอกาสที่จะเกิด Atrial Fibrillation จะสูงขึ้นต้องรีบรักษา อาการแบบไหนที่ควรไปตรวจ❓ ❣️1 ใจสั่นบ่อยๆ ❣️2 มีโรคต่างๆเช่นโรคความดันโลหิตสูง Stroke โรคลิ่มเลือดอุดตันตามที่ต่างๆ แต่คนส่วนมากมักตรวจเจอโดยบังเอิญเสียมากกว่า เมื่อพบว่าเป็น Atrial Fibrillation หมอมีวิธีในการคิดรักษาอย่างไร❓ อย่างแรกคือ ปัจจัยที่แก้ไขได้ต้องรีบแก้ไขก่อน แต่ถ้าแก้ไขแล้วยังไม่หาย ก็มีวิธีในการดูแลรักษาโดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักๆด้วยกันคือ ❤️1️⃣ เราจะสามารถทำให้ AF เป็นวิธีการเต้นปกติหรือจะแค่ควบคุมไม่ให้เต้นเร็วจนเกินไป ทางการแพทย์เรียก Rhythm control and Rate control Rhythm control เป็นการเปลี่ยนจังหวะการเต้นไม่ให้เป็นการสั่นพลื้วของหัวใจ AF แต่ให้เป็นการเต้นปกติของหัวใจที่เรียกว่า Normal sinus rhythm Rate contro ปล่อยให้เป็น AF แต่จะไม่ให้เร็วจนเกินไปไม่ให้เกิน 100 ครั้ง หรือบางกรณีให้ถึง 120 ครั้งต่อนาที
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 3) จะให้ยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่จะไปอุดตามสมองของเราหรือเปล่า โดยเลือกที่จะให้หรือไม่ให้ และถ้าให้จะให้อะไร❓ จะเลือกเป็นการควบคุมจังหวะหัวใจให้ปกติหรือจะควบคุมความเร็ว คือ Rate and Rhythm control กรณีเลือก Rate contro จะง่ายกว่า และยาก็จะไม่ค่อยมีผลข้างเคียง คนไหนที่จะเลือก Rate contro❓ ♦️1 ถ้าเป็นคนที่ตรวจเจอโดยบังเอิญไม่มีอาการใดใดทั้งสิ้น ♦️2 และคนสูงอายุมากๆ เพราะจะมีปัญหาในแง่ของการทนยากลุ่มที่มีผลข้างเคียงเยอะๆ ไม่ค่อยไหว เรามักจะเลือก Rate contro กรณีเลือก Rhythm control คือพยายามทำให้ AF กลับไปเป็น Normal sinus rhythm ใช้ในกรณีไหนบ้าง❓ 🔺1 คนไข้ที่อายุต่ำกว่า 75 ถ้าเป็นไปได้ก็ 65 จะพยายามทำให้กลับไปเป็นปกติ 🔺2 คนไข้ที่มีโรคหัวใจเช่นหัวใจวาย ถ้าเป็นหัวใจวายอยู่แล้วจะรู้ว่าห้องด้านล่างจะบีบตัวไม่ค่อยดี เรรยกว่า Congestive Heart Failure 🔺3 คนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เช่นคนที่เคยเป็น Sttoke แล้ว 🔺4 คนที่เป็นพวกโรคหลอดเลือดต่างๆ 🔺5 คนที่พยายามทำวิธี Rate contro แล้วไม่สำเร็จ ก็จะเปลี่ยนมาทำ Rhythm control วิธีทำให้เป็น Rhythm control ทำอย่างไร❓ เริ่มจากทำการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) กรณีนี้มีสองแบบคือ 🔻1 วางแผนตั้งแต่ต้นว่าจะทำ จะให้ยาต้านเกร็ดเลือดก่อน ทำการ echo ดูว่าไม่มีลิ่มเลือดในนั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นมานานแล้วหรือยัง ทำแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ เมื่อทำจนเป็นปกติแล้วก็ต้องทานยาต่อไปเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ 🔻2 กรณีฉุกเฉินเช่น ถ้ามี AF แล้วมีการเต้นของหัวใจเร็วเกินไป คือส่งกระแสไฟฟ้าทุกอย่างลงที่ห้องล่างซ้าย บางคนอาจจะเห็นหมอเขียน AF with RVR (Atrial fibrillation : AF) with Rapid Ventricular Response (RVR) เช่น ความดันตกที่เรียกว่าช็อกในกรณีนี้เป็นกรณีเร่งด่วนต้องรีบช็อตหัวใจให้กลับมาเป็นปกติให้ได้เพื่อช่วยชีวิตคนไข้ไว้ได้ ยาที่นิยมใช้ที่สุด Amiodarone เป็นยาที่สามารถทำให้คนไข้กลับมาอยู่ในวิธีการเต้นปกติได้เยอะที่สุด แต่ก็มีผลข้างเคียงระยะยาวหลายๆอย่าง เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ทำงานต่ำจนเกินไปมีปัญหาเรื่องของตา เรื่องของตับ เรื่องของปอดได้ ยาตัวอื่นเช่น โซทาลอล (Sotalol) โดฟีทิไลด์ (Dofetilide) แต่ถ้าต้องการแค่ให้หัวใจเต้นช้าลง แต่ยังเป็น AF อยู่ ใช้ยาในกลุ่มที่เรียกว่า Beta-blockers ได้
@thisisnathathai
@thisisnathathai Жыл бұрын
(ส่วนที่ 4) ❤️2️⃣ต้องให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเปล่า❓ ในทางการแพทย์พิจารณาจาก ❤️‍🔥1 โอกาสในการเกิดลิ่มเลือดของคนไข้ ใช้การคำนวณที่เรียกว่า CHADS-VASc score ถ้าคะแนนตั้งแต่ 2 ขึ้นไป มีโอกาสเป็นลื่มเลือดสูงจะเริ่มยา ยกเว้นกรณีเดียวคือในผู้หญิง ยาที่ให้คือ วาร์ฟาริน (warfarin) ปัญหาของยาตัวนี้คือ มีผลกระทบกับยาตัวอื่นๆ รวมถึงวิตามินเคด้วยถ้าทานร่วมกันยาจะทำงานลดลง ยาในกลุ่ม โนแอ็ก NOAC เช่น Dabigatran Rivaroxaban Apixaban Edoxaban ข้อดีก็คือไม่ต้องเจาะเลือดดูค่า "ไอเอ็นอาร์" (INR: International Normalized Ratio) บ่อยๆ ข้อเสียก็คือ ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินเช่นท่านเลือดออกและจะใช้ยาแก้พิษของมันเพื่อไม่ให้เลือดออก ยาหายาก แพงและ ก็อาจไม่มีในโรงพยาบาลที่ท่านไปรักษา ซึ่งแตกต่างจากการใช้ยา Warfarin ซึ่งมียาแก้ฤทธิ์ของมันมากมาย เช่นให้วิตามินเค ❤️‍🔥2 โอกาสในการเกิดเลือดออก เช่นหกล้มบ่อย หรือเป็นโรคเลือดออกง่าย หรือคนที่เพิ่งเป็นเส้นเลือดแตกในสมอง หรือป่าตัดใหญ่มาใหม่ๆ หรือเป็นมะเร็งในทางเดินประสาทส่วนกลาง สมองหรือไขสันหลัง ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดได้ไหม เช่น เช่น แอสไพริน ยากลุ่ม dual antiplatelet หรือ DAPT เช่นยา clopidogrel + aspirin ❓ คำตอบคือ ไม่ได้ครับ ไม่มีประโยชน์ใดๆทั่งสิ้น แอสไพริน ตัวเดี่ยวๆ ไม่ช่วยเลยเรื่องของลิ่มเลือด ❤️สรุป ❤️ ถ้าเป็น AF จะหาสาเหตุก่อน เช่น เป็นไทรอยด์ กินกาแฟเยอะๆ อดนอนบ่อยๆ มีการหยุดหายใจในขณะหลับ ต้องแก้ปัญหาพวกนี้ก่อน แต่ถ้าเราตรวจเจอโดยบังเอิญและไม่มีสาเหตุอะไรเลย แบ่งการรักษาเป็นสองอย่างคือ ♥️1 จะทำ Rhythm control and Rate control ถ้าเลือกที่จะควบคุมอัตราการเต้นไม่ให้เร็วจนเกินไปจะเรียกว่า Rate control ใช้ในกรณีคนที่ไม่ค่อยมีอาการใดๆทั้งสิ้นหรืออายุมากๆ เช่นอายุมากเกิน 75 ปี ไม่ต้องทำอะไร แค่ทำให้มันช้าลง เช่นการให้ยา Beta-blockers แต่ถ้าจะทำเป็น Rhythm control จะทำในคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี หรือคนที่มีอาการมากๆคนที่ทำ Rate control ไม่สำเร็จ คนที่มีหัวใจวาย เคยเป็น Stroke มาก่อน ยาที่ใช้ก็มีหลายตัว แต่ละตัวก็มีข้อบ่งชี้แตกต่างกัน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ยาที่นิยมใช้ที่สุด Amiodarone 💊2 ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือไม่ จะประเมินตาม CHADS-VASc ถ้ามันสูงๆ ก็มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดสูง แต่ก่อนจะให้ยาพวกนี้ก็ต้องดูว่าคนไข้มีโอกาสเลือดออกมากน้อยแค่ไหน ถ้าโอกาสเลือดออกสูงกว่าโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดก็จะพิจารณาไม่ให้ยา แต่ถ้าพิจารณาแล้วโอกาสเกิดลิ่มเลือดสูงกว่าแบบนี้เราก็จะให้ยา ยาที่ให้คือ วาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยาแบบเก่า ซึ่งจะมีข้อดีที่ว่ามีประสบการณ์การใช้ยามานาน และมียาที่ใช้สามารถแก้ฤทธิ์ของมันได้ทันท่วงทีถ้าหากเกิดเลือดออกขึ้นมา ข้อเสียก็คือมีปัญหากับอย่างอื่นๆค่อนข้างที่จะเยอะ และต้องเจาะเลือดตรวจอยู่บ่อยๆ เพื่อดูค่า INR ถ้าเป็นยากลุ่มใหม่ๆ เช่น Dabigatran Rivaroxaban Apixaban Edoxaban จะไม่ค่อยมียาที่จะไปลบล้างปัญหาของมันได้ถ้าเกิดเลือดออกขึ้นมาก็ต้องไปโรงพยาบาล ยาต่างๆไม่ค่อยมี แล้วก็หายากและแพง แต่ข้อดีก็คือไม่ต้องไปตรวจ INR บ่อยๆ
@piroadsam446
@piroadsam446 Жыл бұрын
เป็นอยู่คะ. หัวใจเต้นช้าคะคุณหมอ
@peawchindakul9315
@peawchindakul9315 Жыл бұрын
ผู้ให้ย่อมมีความสุขขอให้อ.จโชคดี มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวย
@SFung-hv2ov
@SFung-hv2ov Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน สำหรับความรู้เรื่องหัวใจเต้นผิดปกติ(AF) มีประโยชน์ค่ะ คุณหมอทำมืออธิบายการสั่นพริ้วของหัวใจทำให้เข้าใจการเคลื่อนไหวได้ดีเลยค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ ✌️✌️ค่าคุณหมอ🌞
@tarungtiwa2710
@tarungtiwa2710 Жыл бұрын
สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณคะคุณหมอที่มาให้ความรู้โรคหัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงอัมพฤกษ์ ได้ความรู้ มีประโยชน์มากคะ👍😊 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️
@amphan17413
@amphan17413 Жыл бұрын
🙏🏻
@piroadsam446
@piroadsam446 Жыл бұрын
คุณหมอเก่งมากๆๆคะรู้ว่าอะไรควรเอามาคุย..ตรงประเด็น.ดีสุดๆๆ
@nung-noppapat
@nung-noppapat Жыл бұрын
ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰 AFทำให้นึกถึงเวลา​เรียนการอ่านEKGเบื้องต้นของพยาบาล​ ไม่เก่งและไม่ได้ใช้​ทำให้ลืมค่ะ​ จำกราฟEKGสับสนกับAtrial Flutter , P​waveจะคล้ายฟันเลื่อย Atrial Fibrillationไม่เห็น​P​wave, QRSไม่สม่ำเสมอก็จะงงๆไปค่ะ​ 😵😅😁
@chantanaolsson6833
@chantanaolsson6833 Жыл бұрын
คุณหมออธิบายได้ดี และละเอียดที่ทำให้พอเข้าใจได้ดี ขอบคุณคุณหมอมากคะ
@user-vi3lv5qk9t
@user-vi3lv5qk9t Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน ป้ามาชมย้อนหลังขอโทษค่ะขอบคุณข้อมูลที่ดีๆๆน่ะค่ะกับทุกๆๆวันทุกๆๆคริปล้วนแต่มีประโยชน์และมีความรู้ที่มากมาย🙏🏼♥️♥️♥️🥰สุขภาพดีมีสุขน่ะค่ะคุณหมอแทนและน้องโรชี่ด้วยน่ะค่ะ🥰
@user-em7ys1ir4o
@user-em7ys1ir4o Жыл бұрын
สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🙏♥️♥️♥️♥️♥️👍👍👍👍👍🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭
@user-wn1wt9kn6e
@user-wn1wt9kn6e Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ😑💛💛ขอบคุณมากความรู้ที่มาบอก..เคยเป็นใจสั่นค่ะตอนเหนื่อยมากๆ
@ployyy.2107
@ployyy.2107 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้มากๆค่ะมารับความรู้ต่อจากเมื่อวานมีประโยชน์มากค่ะขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ...🥰🥰🥰
@khuanchitsaichan4576
@khuanchitsaichan4576 Жыл бұрын
ฟังอาจารย์หมอเมื่อวานไปรอบแรก ก็สงสัยตัวเองขึ้นมาทันทีค่ะ ก็เลย Search หาข้อมูลเจอบทความเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจห้องบนที่รุนแรงที่สุด เรียกว่า (AF : Atrial Fibrillation) ของโรงพยาบาลที่เคยไปตรวจคลื่นหัวใจ ซึ่งคุณหมอบอกว่าจังหวะของหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ คุณหมอก็ชี้ให้ดูคลื่นที่ไม่สม่ำเสมอ #เป็นที่มาของการอยากกลับไปตรวจที่โรงพยาบาลเดิมค่ะ😊 วันนี้อาจารย์หมอนำเรื่อง AF มาให้ความรู้เพิ่มเติม เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากค่ะ จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อนค่ะ💗😁#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰
@KarnTovara
@KarnTovara Жыл бұрын
ขอบคุณค่าคุณหมอ สำหรับความรู้เรื่อง Atrial Fibrillation ค่ะ 🙇‍♀️ เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ ฟังเพลินค่ะ 💬 - คนสูงอายุที่มีอาการใจสั่น มักมาขอซื้อยา β-Blocker ค่ะ (ส่วนใหญ่จะเรียกว่า "ยาใจดี" "ยาแก้ใจสั่น" "ยาใจดีเม็ดสีชมพู") มาขอซื้อเองโดยไม่ได้ไปพบแพทย์นะคะ มีมาเรื่อยๆ ค่ะ .... อันตรายเนอะคะ ก็จะอธิบายไปและบอกให้ไปพบแพทย์ก่อนค่ะ ให้ตรวจก่อนว่าทำไมใจสั่น 💓 - สำหรับผู้ที่...ผู้สูงอายุที่บ้าน ออกไปซื้อของนอกบ้านด้วยตนเอง ... อาจแอบเปิดดูของที่เค้าซื้อมา โดยเฉพาะ "ยา" ค่ะ ... บางครั้งเค้าไม่สบายแล้ว ไม่ยอมบอกลูกหลานในบ้านค่ะ และหลายครั้งชอบวินิจฉัยโรคด้วยตนเองค่ะ .... ใช้ยาผิด ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ค่า 😃 - คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🍵🍏🫐😃
@sangthailofthouse2511
@sangthailofthouse2511 Жыл бұрын
ส่วนตัวนะคะการฟังคุณหมอ อธิบายโรคต่าง ๆ เป็นการพักผ่อน ทางสายตาอย่างหนึ่งค่ะ....ฟังอย่างเดียวไม่ต้องมองจอค่ะ...ในกรณีฟังไม่เข้าใจในภาษาทางการแพทย์ค่ะ...
@banyatmr.srisom4644
@banyatmr.srisom4644 8 ай бұрын
ผม wafarin มา 2ปีแล้วครับ มี inr 3 มีสุขสบายปกติ อายุนี้ 73 ปี 4 เดือน / ค่าไต 60 gfr น้ำตาล 104 มี A1C 6.0 มีเบาหวานขึ้นตา กิน metformin พร้อมๆ wafarin / คุม ความดัน 125 / 65 puls 75 กินmetroprolol นัดเจาะเลือด ทุก 3 เอือน ไขมันดีแล้ว แต่กังวลที่ฉีดยาบาเข้วตา ตลอด 2 ปีนี้ 8 ครั้ง แล้ว / ค่าไตคงที่ ตลอด 2 ปีอยู่ ขอบพระคุณ ครับ Dr Tang 😂❤
@user-ux5xu9lw8p
@user-ux5xu9lw8p Жыл бұрын
ขอบคุณ คุณหมอมากๆๆ อีกแล้ว เพราะเคยเล่าให้คุณหมอฟังว่าใจสั่น แต่ทุกวันนี้กินยาเบบี้แอสไพลิน 81 มก. และไปหาหมอทุกอย่างแล้วเพราะเคยเป็นเส้นโลหิตในสมองตีบ และแคลเลสเตอร์รอลสูงก็ต้องกินยาด้วย แต่เมื่อได้ฟังคุณหมออธิบายแล้วทำให้เข้าใจมากขึ้น ขอบคุณมากค่ะ
@wanphensuknirandon3791
@wanphensuknirandon3791 7 ай бұрын
ข บคุณคุณหมอมากๆค่ะ สามีตอนนี้ หัวใจเต้น ไม่สมำเสมอค่ะ มึอาการเหนื่อยง่าย short breath เขาขาดเซลเม๋ดเลือดแดงด้วย และเกิดท้องเสียด้วยก่อนหน้าที่จะเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะค่ะ
@Channel-xv2oo
@Channel-xv2oo Жыл бұрын
ดีใจภาคบ่ายเข้าเรียนคลาสระบบทางเดินหายใจ เรียนอย่างละเอียด เอาไว้ดูแลตนเอง ครอบครัว ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ แชร์ให้ญาติเพื่อนไป คิดว่ามีประโยชน์มากต่อทุกคนค่ะ
@ALL86898
@ALL86898 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์คุณหมอแทน🙏😍วันนี้เรื่องที่พูดดีมากๆ คุณหมอก็ดูดีมากเลย พูดในเรื่องหัวใจเต้นผิดปกติ (A F) มีการสั่นพริ้วของหัวใจห้องบน แล้วส่งเลือดมาที่ห้องล่างซ้าย ไม่ได้ทำให้หัวใจห้องล่างไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เมื่อทำงานไม่ได้บีบตัวปั้มไม่ได้จะมีเลือดไปขังในห้องเล็ก ข้างๆหัวใจมีติ่ง เหมือนช่องเล็ก ถ้ามีเลือดเข้าอยู่ในนั้นเมื่อเวลาหัวใจบีบตัว และบีบแบบผิดปกติก็อาจจะมีเลือดเข้าไปอยู่ตามเส้นเลือดสมองเป็นสโตรกได้ ถ้าเรากินกาแฟ มาก แล้วทำให้ใจสั่นควรเลย กินกาแฟ ลดยาเสพติด ฟังเพลิน เลยค่ะถ้าเป็นนักเรียนแพทย์คงได้ความรู้มากในเรื่องหัวใจ เรื่องยา ต่างๆ การตรวจเจอ ต้องรักษา ห้วใจให้เต้นเป็นปกติก่อน เรื่องอายุสำคัญ คนที่มีโรคต่างๆอยู่ต้องดู การใช้ยาละลายลิ่มเลือดต้องพิจารณาเรื่องอายุ 65-74 เพศหญิงมีโอกาสมากในการเป็นลิ่มเลือด คนเป็นเบาหวาน คนเคยเป็นสโตรก มีความเสี่ยงมากต้องให้ยาละลายลิ่มเลือดแต่ ถ้ามีโรคเลือดออกง่ายมากผ่าตัดมาใหม่ ๆ ก็ไม่ควรให้ยาละลายลิ่มเลือด ถ้ากาแฟ มีปัญหาก็หยุด ขอบคุณค่ะฟังเข้าใจดีค่ะขอบคุณคุณหมอค่ะ ตัวเองเคยหัวใจสั่นเวลาตกใจ แต่ปัจจุบันไม่เป็นแล้ว หายไป แต่จะหาโอกาสไปตรวจค่ะ ป้องกันไว้ก่อน ไม่มีโรคความดันสูง ขอบคุณความรู้ในเรื่องนี้ค่ะ🙏👍❤
@mamdt9176
@mamdt9176 Жыл бұрын
ชอบฟังมากค่ะ ฟังทุกวันเลย ขอเรื่อง hashimoto ไทรอยต่ำหน่อยนะคะ ตอนนี้ทานยาอยู่ เคยทราบมาว่าไม่มีทางหาย ขอความรู้แบบละเอียดๆเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ถูกต้องครับ เป็นแล้วไม่มีทางหาย ต้องทานฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทนไปตลอดครับ
@sutatiputtasart1075
@sutatiputtasart1075 Жыл бұрын
เคยรู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างบางครั้งค่ะ..แล้วตอนนี้ก็ปรับยาลดความดันมาพักนึงแล้วรู้สึกว่าชีพจรบน -ล่างลดลงกว่าปกติ..ก็มีหมุนๆเซๆ..แต่คุณหมอที่นี่ก็ดูแลอยู่ค่ะยังไม่มีปัญหาหัวใจเต้นรัวๆแบบที่คุณหมอว่า.. แต่ก็ต้องคุมความดันให้ดี..ทานยาประจำ hypotyroid อยู่ด้วยค่ะ..ตอนนี้ก็ต้องพักผ่อนเยอะหน่อยค่ะ..อย่างอื่นปกติดีไมีปัญหาค่ะ..🐯🦝😁
@CherryChonny
@CherryChonny Жыл бұрын
🤟✌️👊 👊👊👊 🐶 320,000 ผู้ติดตามแล้วค่ะ 🎉h🎉o🎉o🎉r🎉a🎉 y🎉
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิปใหม่มาแล้วค่ะ... วันนี้เรื่อง โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและรายละเอียดเยอะ อาจารย์จะอธิบายเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆค่ะ... ก่อนอื่น ขอโพสต์รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้พอสังเขป ดังนี้ค่ะ ▶โรคหัวใจเต้นผิดปกติ (เต้นพลิ้ว) (Atrial Fibrillation) หรือ ที่เรียกกันทั่วไปว่า AF เป็นภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติที่รุนแรงที่สุด โดยที่หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบนี้ นอกจากจะทำให้เกิดอาการใจสั่นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวได้ ▶การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วมากขนาดนี้ทำให้หัวใจห้องบนไม่สามารถบีบตัวพร้อมกันได้ทั้งห้องส่งผลให้ห้องบนบีบตัวไม่ดี เกิดมีลิ่มเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจ ลิ่มเลือดอาจหลุดออกจากหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดต่างๆ ของร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพาตได้ ▶นอกจากนี้ผู้ป่วย AF ยังมีอัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย... AF เป็นหัวใจเต้นผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะมีสาเหตุต่างๆ มากมายที่สามารถทำให้เกิด AF ได้ ซึ่งพอจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ 🔹กลุ่มแรก เกิดจากเหตุกระตุ้นจากภายนอกหัวใจเช่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจเช่นสารคาเฟอีนในกาแฟ ชา โสม แอลกอฮอล์เป็นต้น ภาวะเครียดทางกายและใจจากการทำงานหนักพักผ่อนไม่พอก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน นอกจากนี้ความเจ็บป่วยต่างๆ ก็กระตุ้น AF ได้ เช่นกัน เช่น หอบหืด ปอดอักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ การรักษา AF ในกลุ่มนี้ต้องกำจัดสาเหตุ หรือตัวกระตุ้นต่างๆ ให้หมดโอกาสที่ AF จะหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษาก็เป็นไปได้มาก 🔹กลุ่มที่สอง เป็นความผิดปกติของหัวใจเอง เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ้นหัวใจตีบ หัวใจทำงานล้มเหลวสามารถกระตุ้นให้เกิด AF ได้ทั้งสิ้น การรักษาในกลุ่มนี้ต้องมุ่งแก้ความผิดปกติที่เป็นปฐมเหตุด้วยถ้าแก้ไขไม่ได้โอกาสที่จะทำให้ AF หายเป็นปกติก็จะเป็นไปได้ยาก 🔹กลุ่มที่สาม เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจห้องบนเอง AF ที่เกิดขึ้นก่อนอายุ 65 ปี มักจะเป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่เป็นมาตั้งแต่เล็ก แต่ถ้าเกิดหลังอายุเกิน 65 ปีมักเป็นความเสื่อมของระบบไฟฟ้าของหัวใจเปรียบเหมือนระบบไฟฟ้าในบ้านเราเมื่อใช้งานมานาน ก็อาจมีปัญหาไฟติดติดดับๆ ต้องได้รับการแก้ไข อาจต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ หรือเดินสายไฟใหม่ก็ได้
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ FragranzaTrippa ขอบคุณมากนะคะ ⚘💙⚘
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูล🏵️🌺🌸🌼💚💜
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
Atrial Fibrillation สามารถแบ่งสาเหตุได้ดังนี้ ❤️เป็นผลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหลังผ่าตัดหัวใจ ❤️เป็นผลจากโรคของระบบอื่น เช่น ภาวะสูงวัย โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเบาหวาน โรคลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด โรคปอดเรื้อรัง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคติดเชื้อไวรัส ภาวะการaติดเชื้อในกระแสเลือด ❤️ไม่ทราบสาเหตุ กลไกการเกิดโรค 1.มีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในหัวใจ เช่น ความดันในห้องหัวใจที่เพิ่มขึ้น หรือปัจจัยจากภายนอก เช่น ระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ตำแหน่งของจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ผิดปกติมักอยู่ที่ pulmonary veins (เส้นเลือดดำจากปอดที่ต่อกับหัวใจห้องบนซ้าย) 2.มีวงจรไฟฟ้าหมุนวนหลายตำแหน่ง จากพยาธิสภาพต่างๆ ที่ทำให้พังผืดเพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าของเซลล์หัวใจ ซึ่งนำไปสู่การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติเกิดเป็นวงจรหมุนวนขึ้น 3.ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีกลไกการเกิดทั้งสองแบบร่วมกัน
@onewin1279
@onewin1279 Жыл бұрын
อยากทราบว่า ไทยรอยด์เป็นพิษรักษายังไงคับ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
@@onewin1279 โพสต์ใหม่ค่ะ ใต้คอมเม้นท์ดิฉัน คุณหมอจะไม่เห็นค่ะ
@narlaw1342
@narlaw1342 Жыл бұрын
@banditnj2592
@banditnj2592 Жыл бұрын
สวัสดีครับคุณหมอผมเป็นมา5ปีแล้วครับผมรักษาหายแล้วครับด้วยการผ่าตัดเพราะว่ามีเนื้องอกที่หัวใจด้านบนทำการรักษาผ่าตัดที่อเมริกาตอนนี้ปกติดีแล้วครับ
@sasikan9388
@sasikan9388 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะวันนี้ฟังไว้ประดับความรู้ค่ะอันนี้แค่ผิวเผินยังมึนๆงงๆ ยอมรับเลยว่าคนที่เป็นแพทย์ต้องเก่งความจำต้องเลิศ สมองอันน้อยนิดของเราได้รับข้อมูลขนาดนี้ก็พอใจมากล่ะค่ะ
@user-ot9dj3pg5t
@user-ot9dj3pg5t Жыл бұрын
สรุปว่าคุณแฟนหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตรวจอาการเจอตอนช่วงผ่าตัดเนื้องอกลำไส้ ตอนนี้กินยาละลายลิ่มเลือด 1-2เดือน ถ้าอาการดีขึ้นก็หยุดยา ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ
@winyou7654
@winyou7654 Жыл бұрын
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะคุณหมอได้ความรู้มากมายเลยค่ะ
@pannko8888
@pannko8888 Жыл бұрын
โอ๊ยหัวใจเดอะค่ะ😘คุณหมอช่วยด้วยค่ะ💏💏
@user-jp1gt9wy7q
@user-jp1gt9wy7q Жыл бұрын
ผมไปตรวจร่างกายเพื่อเอาใบรับรองแพทย์ เพื่อเข้างาน คุณหมอบอกว่าตรวจพบหัวใจเต้นผิดปกติ แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติม
@jintanaop.1715
@jintanaop.1715 Жыл бұрын
อาจารย์มีเทคนิคในการทำให้จำและเข้าใจekgได้แบบไม่หลุดไม่หลงไหมคะขอความอนุเคราะห์ ด้วยนะคะ...ขอบพระคุณมากค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่มีอะไรพิเศษครับ จำรูปแบบต่างๆ มองดูบ่อยๆให้จำเหมือนจำหน้าคนครับ แต่ถ้าต้องการถึงขั้นวิเคราะห์ได้เลยอันนี้ต้องอาศัยความเข้าใจมากน่ะครับ
@jitpakornboonna9565
@jitpakornboonna9565 Жыл бұрын
🙏👨‍⚕️ค่าา มาพบนักเรียนตรงเวลาในช่องให้ความรู้หลากหลาย ทุกๆ วัน วันนี้มีพร้อบเป็นเสื้อแขนยาว อากาศเริ่มเย็นแล้วเหรอคะ คุณหมอรักษาสุขภาพด้วยคะ ฝากจุ๊บกระหม่อมโรซี่1ทีด้วยค่าาา
@anuphongkhamma635
@anuphongkhamma635 7 ай бұрын
อธิบายเรื่องจี้ใน AF หน่อยครับ
@DrTany
@DrTany 7 ай бұрын
ควรถามหมอที่รักษาครับ ถ้าเขาแนะนำให้จี้ก็ควรทำครับ
@chakengineer8735
@chakengineer8735 Жыл бұрын
อยากให้อาจารย์พูดเรื่อCO enzyme Q10 มีผลช่วยหรือไม่กับโรคหัวใจด้วยครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
เคยพูดไปบ้างแล้วครับ ไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่นอกจากความสบายใจครับ ถ้ามีเงินและอยากจะกินก็ได้ครับ แนะนำว่าอย่างน้อยต้อง 100 mg ขึ้นไปครับ ส่วนตัวผมไม่กินครับ
@user-vr8cy1zc3x
@user-vr8cy1zc3x Жыл бұрын
😊🙏
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
💓 Pacemaker เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ โดยทั่วไปเครื่องกระตุ้นหัวใจจะช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้ากว่าที่ควร เนื่องจากหัวใจที่เต้นช้ากว่าปกติ จะไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง บางรายอาจถึงขั้นหมดสติได้ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ สัญญาณไฟฟ้าจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล🌺🌼
@maneeann
@maneeann Жыл бұрын
@@kanyamuay3748 GN kaaa 😴
@AvecBella
@AvecBella Жыл бұрын
Wishing you a Wonderful Wednesday ka Doctor Tany! I hope your day started with a big bright Smile…🌤😃 Atrial fibrillation! An arrhythmia that can lead to blood clots in the heart. A-fib increases the risk of stroke, heart failure and other heart-related complications. Be back for my review! ♥️❤️♥️ Happy Wednesdayyy! 🙃 🌱🌺🍀
@siriphonsprague6402
@siriphonsprague6402 Жыл бұрын
👍
@B.B12
@B.B12 Жыл бұрын
อยากให้คุณหมอทำคลิปแชร์ประสบการณ์มุมดาร์กวงการแพทย์หน่อยครับ เพราะเคยไปฟังของช่องอื่นมา บางเรื่องน่าตกใจมากครับ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่น่าตกใจหรอกครับ มันมีแบบนั้นจริงๆ ขึ้นกับใครจะเจอแค่ไหนครับ
@rujeejoy8943
@rujeejoy8943 Жыл бұрын
พอดีอันนี้ฟังดุแล้วยังใหม่อยู่ป้าเขียนหาหมอตลอดแต่มันนานเป็นปีสองป้าก็เขียน ถามตลอดเวลาเที่ยวนี้ป้าคงได้คำตอบจากหมอนะป้าจะรอคำตอบและคำแนะนำถือว่าช่วยเหลือคนจะได้บุญเยอะๆนะหมอป้า อายุก็ 63 ปีแล้ว ลุกชายป้าอายุ38 ปีป้าอยากไปเยี่ยมหลานสาว สองคนก่อนป้าจะเป็นอะไรไปและลุกสาวอยู่ที่นี่เรียนยังไม่จบป้าอยากเห็นลุกสาวมีงานทำป้าก็สบายใจแล้ว
@FragranzaTrippa
@FragranzaTrippa Жыл бұрын
คลิป _โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา_ ยอดวิว ณ เวลา 8.00 น.💥12,185 ครั้ง💥แล้วค่ะ 💐💐💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐💐💐
@stayathomedaddysahd4000
@stayathomedaddysahd4000 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรู้นะคะ ฟังเพลินเลยค่ะ ถ้าคนไข้มี new onset of Afib แล้วเรทอยู่ที่ 100-115 bpm at rest และอาจจะขึ้นไป 130-135 bpm ตอนที่คนไข้anxious กรณีนี้คือน่ากังวลไหมคะ พยาบาลควรจะรีบบอกหมอไหมคะ ถ้าคนไข้รับยาmetoprolol and Coumadin ด้วย
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่ต้องรีบขนาดนั้นครับ แต่ควรรักษาครับ
@user-hb1fj6gc1s
@user-hb1fj6gc1s Жыл бұрын
ผมใส่เครื่องpacemaker โรคนี้น่ากล้วมั้ยครับ คุณหมอ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
Pacemaker ไม่ใช่โรคครับ ดังนั้นไม่น่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้ต้องใส่นั่นแหละครับ ที่มันจะน่ากลัวได้ ตรงนี้ต้องถามหมอที่รักษาให้กระจ่างเลยครับ
@sunaww8184
@sunaww8184 Жыл бұрын
ขอบคุณสำหรับความรุ้ดีๆนะคะ ลุกสาวก็เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะค่ะ เขาบอกว่าบางทีหัวใจจะกระตุก แล้วแปปเดียวก็หาย พาไปหาหมอ ตรวจคลื่นหัวใจหมอบอกปกติค่ะ หรืออาจจะเป็นเพราะเครียดเรื่องเรียน แต่ก็ยังเป็นห่วง ยังกังวลอยุ่ดีค่ะ คุณหมอช่วยแนะนำด้วยนะคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ถ้าเป็นแค่บางช่วงไม่ต้องทำอะไรครับ ส่วนมากเป็นชนิดที่เรียกว่า PVC, PAC พวกนี้ป้องกันด้วยการเลี่ยงคาเฟอีน นอนพักผ่อนให้พอ ออกกำลังกาย อย่าเครียดมากๆต้องไปหาวิธีคลายเครียดครับ แต่ถ้าเป็นบ่อยควรไปตรวจดูไทรอยด์ด้วยครับ
@jojotalented5300
@jojotalented5300 Жыл бұрын
ยา Methylphenidate มีผลต่อหัวใจไหมครับหมอ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
มีครับ
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
😊🌼🍃สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation (แก้ไขได้และมักเป็นชั่วคราว) 🔺️ สาเหตุที่แก้ได้และมักจะเป็นชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ฮอร์โมนมันหลั่งมากจนเกินไปทำให้หัวใจเต้นสั่นพลิ้วเพิ่มขึ้น ถ้าเราไปแก้ที่ไทรอยด์บางทีมันก็หายขาดไม่จำเป็นต้องรักษาต่อก็ได้ 🔺️ หรือบางคนเป็นเพราะว่ามีการหยุดหายใจขณะหลับ คนที่หยุดหายใจขณะหลับจะเจอบ่อยที่ว่าเป็น โรคหัวใจเต้นผิดปกติ (Atrial Fibrillation) ขึ้นมาได้ พวกนี้ถ้าไปแก้บางคนก็หายเหมือนกัน 🔺️ บางคนเป็นจากการเจ็บป่วยบางอย่างเช่นอดหลับอดนอนนานๆก็จะเป็นได้ เครียดมากๆก็เป็นได้ 🔺️ หรือว่าบางคน รับประทานยาบางชนิด กินกาแฟเยอะๆสามารถที่จะเป็น AF ได้ เราต้องไปหยุดเรื่องพวกนี้ถึงจะหาย คลิป โรคหัวใจเต้นผิดปกติ Atrial Fibrillation เสี่ยงอัมพฤกษ์ถ้าไม่รักษา #โรคหัวใจ ขอบคุณมากค่ะ 🌹❤🌹
@boomsong5729
@boomsong5729 Жыл бұрын
@ เอื้องมะลิ ขอบคุณมากนะคะคุณครู ⚘❤⚘ @ Doctor Tany ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ 🌻🧡🌻
@Euang-Mali
@Euang-Mali Жыл бұрын
@@boomsong5729 😊🧡 ขอบคุณมากค่ะ นอนหลับฝันดีนะคะ
@kanyamuay3748
@kanyamuay3748 Жыл бұрын
ขอบคุณค่ะน้องมะลิ🌼🌸🌺🏵️
@JIIB480
@JIIB480 Жыл бұрын
มีอาการหยุดหายใจขณะหลับค่ะ และจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ บางครั้งเหมือนจังหวะหายไป บางครั้งเหมือนจังหวะมาเร็ว ตรวจร่างกายด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจทุกปี แต่ผลการตรวจปกติดี เป็นไปได้ไหมค่ะที่ตอนตรวจไม่มีอาการก็เลยไม่เจอ แบบนี้ควรทำอย่างไรดีค่ะ
@user-gx3th6lq2m
@user-gx3th6lq2m Жыл бұрын
ไปตรวจตอนมีอาการ
@mamakochtzuhause3154
@mamakochtzuhause3154 7 ай бұрын
ใจเต้นแรง บางครั้งเหมือนนั่งรถลงสะพานค่ะ เหนื่อยง่ายผิดปกติไปตรวจเอ็คโค่หัวใจไม่พบความผิดปกติ ได้ทานยาลดการเต้นของหัวใจ เดือนต่อมามีอาการมาอีก วัดความดันปกติแต่ขึ้นสัญลักษณ์หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบนี้ควรไปตรวจซ้ำใช่มั้ยคะ เอาผลให้หมอประจำตัวดูเขาบอกปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ไม่ได้สูงไป เขาไม่ส่งต่อให้หมอหัวใจอีกรอบ แต่เรามีอาการมือสั่นขาสั่นร่วม เหนื่อยง่ายด้วยค่ะ
@DrTany
@DrTany 7 ай бұрын
ควรตรวจซ้ำแล้วก็ถามจากหมอที่ตรวจให้เข้าใจทุกอย่างก่อนออกมาจากห้องครับ นอกจากนี้ต้องรู้จักชื่อโรคที่หมอเขาวินิจฉัยเป็นภาษาทางการแพทย์ รวมทั้งยาที่กินก็ต้องรู้จักทุกอย่างด้วยครับ
@tuktik399
@tuktik399 Жыл бұрын
มีปัญหากับตัวเองอยู่ค่า
@kamjohnmanorueng1573
@kamjohnmanorueng1573 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะคุณหมอ ตอนนี้หนูเป็นไทรอยด์ไฮเปอร์อยู่ค่ะ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น กำลังรักษาอยู่ค่ะ เวลาเจอคนเยอะๆ เสียงดังๆ ใจจะสั่น ก่อนจะเจอโรคนี้ หนูเป็นผื่นขึ้นตามตัว ไปเทสว่าแพ้อะไรก็ไม่แพ้อะไรเลยค่ะ ต่อมาเกิดมือสั่น ใจสั่น หมอเลยส่งตรวจไทรอยด์ พบเป็นแบบไฮเปอร์ค่ะ เหนื่อยมากค่ะ จากคนที่ชอบทำอะไรเร็วๆ ต้องทำช้าลง ไม่ค่อยชินเลยค่ะ หนูชอบฟังคลิปคุณหมอค่ะ ได้รับความรู้มากค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
รักษาได้ครับ
@wirakansansu230
@wirakansansu230 Жыл бұрын
เราก็เป็นไทรอยด์ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ตอนนี้รักษาอยู่คะ กินยามาหลายเดือนแล้ว
@crrvtt6442
@crrvtt6442 Жыл бұрын
เคยเป็นค่ะ รักษาโดยการจี้ไฟฟ้าเข้าทางขาหนีบ ตอนแรกๆหมอก็ว่าเป็นไทรอยด์ แต่พอมีอาการบ่อยและไปมีอาการที่หาดใหญ่ หมอที่โรงบาลหาดใหญ่ตรวจหัวใจแบบละเอียดมากและก็บอกว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะ จี้ไฟมา6ปีกวาและไม่มีอาการมีแต่ใจกระตุกบางครั้งแต่ไม่ถึงกับเต้นเร้ว
@user-qh2tp5ko5l
@user-qh2tp5ko5l Жыл бұрын
จี้ไฟฟ้าเจ็บมากไหมครับ หมอนัดจี้เดิอนหน้าครับ
@crrvtt6442
@crrvtt6442 Жыл бұрын
@@user-qh2tp5ko5l ไม่เจ็บค่ะ ของเราหมอจะแทงเข็มนำสายไฟที่ขาหนีบ หลังจี้ไฟห้ามกระดิ้กต้ว6ชั้วโมง นอนโรงาบาล1คืนหมอก็ให้กลับบ้านแล้วนัดมาดูอาการ
@matthanakhorchidklang973
@matthanakhorchidklang973 Жыл бұрын
รักษาโดยการใส่แบตเตอรี่หัวใจได้ไหมค่ะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่ได้ครับ
@nubnungnubnung3640
@nubnungnubnung3640 Жыл бұрын
สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ถ้าเกินในเด็กอายุ13ปี หัวใจเต้นผิดปกติ และเป็นหัวใจโตนิดๆ เราต้องดูแลอาหารการกินแบบไหนดีค่ะ และอาหารต้องห้ามกิน อาหารที่กินได้ มีอะไรบ้างคะ
@DrTany
@DrTany Жыл бұрын
ไม่เกี่ยวอะไรกับอาหารเท่าไหร่ครับ ในเด็กควรต้องหาหมอหัวใจเด็กและถามให้เข้าใจครับ เพราะมันเป็นเรื่่องเฉพาะที่ต่างจากผู้ใหญ่มากครับ
Hypertension explained
32:41
Doctor Tany
Рет қаралды 478 М.
หายใจอย่างไรให้ถูกวิธี
29:17
DO YOU HAVE FRIENDS LIKE THIS?
00:17
dednahype
Рет қаралды 48 МЛН
MEGA BOXES ARE BACK!!!
08:53
Brawl Stars
Рет қаралды 35 МЛН
Вечный ДВИГАТЕЛЬ!⚙️ #shorts
00:27
Гараж 54
Рет қаралды 13 МЛН
เรื่องต้องรู้เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ (25-12-61)
44:10
รายการหนี้แผ่นดิน ช่อง TNN2
Рет қаралды 71 М.
DO YOU HAVE FRIENDS LIKE THIS?
00:17
dednahype
Рет қаралды 48 МЛН