“ขนาดนิ้วมือยังไม่เท่ากัน แล้วคนจะเท่ากันได้ยังไง?” | Shortcut ปรัชญา EP.3

  Рет қаралды 39,405

THE STANDARD PODCAST

THE STANDARD PODCAST

Күн бұрын

ย้อนกลับไปยุคล่าอาณานิคม หนึ่งในเหตุผลที่หลายประเทศในยุโรปใช้อ้างคือ การเข้าไป ‘ศิวิไลซ์’ ผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ
และหากมีใครพูดว่า ทำไมคนเราไม่ควรเท่าเทียมกัน เหตุผลที่เราเคยได้ยินอาจเป็น ‘ขนาดนิ้วมือของคนเรายังไม่เท่ากัน แล้วคนจะเท่าเทียมกันได้ไง’
การให้เหตุผลเหล่านี้อาจเคย ‘ใช่’ ในช่วงหนึ่ง แต่ปัจจุบันล่ะ? มีเหตุผลไหนบ้างที่มนุษย์เคยเชื่อว่าถูกต้อง แต่วันนี้กลับไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้ว
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเหตุผล เมื่อเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทและความรู้ที่พัฒนาของมนุษย์ แล้วเหตุผลแบบไหนบ้างที่เราคิดว่า ‘ไม่ใช่’ แล้วสำหรับเรา ขณะเดียวกันเหตุผลที่ดูเหมือนก้าวหน้าจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้องเสมอไปหรือไม่?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Time Index:
00:00 Sneak Peek
00:32 เกริ่นนำ
00:50 เหตุผลคือสิ่งก้าวหน้า?
03:27 เหตุผลที่ดูก้าวหน้าถูกต้องเสมอไหม
05:50 เหตุผลที่เคยใช่ วันนี้ไม่ใช่แล้ว?
17:21 เหตุผลไม่เปลี่ยนแปลงได้ไหม
19:02 คำถามทิ้งท้าย
อ้างอิง: ยุคแสงสว่างแห่งภูมิปัญญา (Enlightenment) เป็นยุคที่ว่ากันว่าเหตุผลของมนุษย์รุ่งเรืองที่สุด แต่ขณะเดียวกัน การกดขี่และจับคนเป็นทาสที่ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางที่สุดเช่นกัน จนนักคิดหลายๆ คนมองว่า เหตุผลอาจไม่ได้เป็นเรื่องก้าวหน้าเสมอไป
ผมได้ไอเดียส่วนหนึ่งมาจากหนังสือ “In Defence of the Enlightenment” โดย ซเวตาน โทโดรอฟ (Tzvetan Todorov)
ข้อความของปาสกาลอยู่ในหนังสือ “Pensée” บทที่ 6 อ่านฉบับออนไลน์ได้ทาง www.leaderu.com/cyber/books/p...
ในภาษาไทย หนังสือที่เล่าปัญหาของการให้เหตุผลแบบต่างๆ ได้สนุกที่สุดเล่มหนึ่งคือ “เถียงแบบนี้มีแต่ฉิบหาย” โดย กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ
กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: bit.ly/45KZn3w
ติดตาม THE STANDARD PODCAST ในช่องทางอื่นๆ
Website: www.thestandard.co/podcast
Twitter: / thestandardpod
Facebook: / thestandardth
TikTok: / thestandard.podcast
Spotify: bit.ly/3NhRWZg
Apple Podcasts: bit.ly/42OGIkI
SoundCloud: / thestandardpodcast
#Shortcutปรัชญา #TheStandardPodcast #TheStandardTh #TheStandardCo #podcast #ปรัชญา #เหตุผล #ความเท่าเทียม

Пікірлер: 167
@TheStandardPodcast
@TheStandardPodcast 3 ай бұрын
ยุคแสงสว่างแห่งภูมิปัญญา (Enlightenment) เป็นยุคที่ว่ากันว่าเหตุผลของมนุษย์รุ่งเรืองที่สุด แต่ขณะเดียวกัน การกดขี่และจับคนเป็นทาสที่ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางที่สุดเช่นกัน จนนักคิดหลายๆ คนมองว่า เหตุผลอาจไม่ได้เป็นเรื่องก้าวหน้าเสมอไป ผมได้ไอเดียส่วนหนึ่งมาจากหนังสือ “In Defence of the Enlightenment” โดย ซเวตาน โทโดรอฟ (Tzvetan Todorov) ข้อความของปาสกาลอยู่ในหนังสือ “Pensée” บทที่ 6 อ่านฉบับออนไลน์ได้ทาง www.leaderu.com/cyber/books/pensees/pensees.html ในภาษาไทย หนังสือที่เล่าปัญหาของการให้เหตุผลแบบต่างๆ ได้สนุกที่สุดเล่มหนึ่งคือ “เถียงแบบนี้มีแต่ฉิบหาย” โดย กิตติศักดิ์ โถวสมบัติ 00:32 เกริ่นนำ 00:50 เหตุผลคือสิ่งก้าวหน้า? 03:27 เหตุผลที่ดูก้าวหน้าถูกต้องเสมอไหม 05:50 เหตุผลที่เคยใช่ วันนี้ไม่ใช่แล้ว? 17:21 เหตุผลไม่เปลี่ยนแปลงได้ไหม 19:02 คำถามทิ้งท้าย
@manu47193
@manu47193 3 ай бұрын
ฝากเงินแล้วรวย😅 ดอกเบี้ยเยอะเชียว😅
@phacharawanboonpromkul5512
@phacharawanboonpromkul5512 3 ай бұрын
เราคิดว่าแต่ละคนเกิดมาไม่เหมือนกัน แต่ก็เชื่อว่า "ความเป็นคน" มันควรจะเท่ากัน ความ "ควรจะ" ตรงนี้มันสะท้อนถึงอุดมคติ (ideal) จึงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้น เมื่อเราเชื่อว่าคนควรเท่ากัน จึงได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้ง และสิทธิ์ต่างๆ ที่กฎหมายคุ้มครอง ซึ่งไม่ได้มีมาแต่แรก กว่าโลกจะมาถึงจุดนี้ได้ หลายรัฐได้เลือกตั้งถ้วนหน้า (universal franchisement) ต้องเสียน้ำตา หยาดเหงื่อ และเลือดเนื้อไปมากค่ะ ทุกวันนี้ยังมีอีกหลายด้านมากที่คนไม่เท่ากัน สุดท้ายแล้วก็อาจจะไปไม่ถึงสังคมอุดมคติที่เท่าเทียมกันจริงๆ แต่ก็คิดว่าต้องพยายามไปเรื่อยๆ ค่ะ ขอบคุณรายการค่ะที่นำเรื่องสำคัญ+ชวนคิดมานำเสนอ ❤
@pao4siwat
@pao4siwat 3 ай бұрын
หรือสิ่งที่ดีอาจจะเป็นการที่ให้อำนาจกับรัฐน้อยที่สุด เก็บภาษีเท่าที่จำเป็น เท่าที่จะต้องใช้ ไม่จะเป็นต้องมีสวัสดิการ รัฐสร้างกฎระเบียบมาควบคุมสังคมให้น้อยที่สุด ทั้งหมดนี้ให้มันเป็นไปตามกลไกธรรมชาติ อาจจะ เสรีกว่า และจะเท่าเทียมกันเอง มากกว่าการที่รัฐเข้ามาควบคุมสังคใ
@theemeepeek2947
@theemeepeek2947 3 ай бұрын
ประเด็นดีมากเลย ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างดี ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ถ้างั้นการเปลี่ยนแปลงก็เป็นสิ่งดีด้วยสิ ถ้าใช้ตรรกะนี้เราก็ไม่ต้องไปห้ามคนที่เขาอยากจะเปลี่ยนแปลง ไม่เคยคิดมุมนี้เลยนะ
@user-qj6ft3ob6m
@user-qj6ft3ob6m 3 ай бұрын
คุณฟาง ดูสนุก สบายใจ ขึ้นเยอะ . เข้าทางนางล่ะ 👏👍🏽
@fin4305
@fin4305 3 ай бұрын
ความเท่าเทียมคือความเสมอภาค ทั้งทางด้านกฏหมายและโอกาส แต่คนดันเอาความเท่ากันมาปน มันไม่ใช่ คนเราไม่เท่ากัน รู้ แต่หน้าที่รัฐทำให้สิทธิ์ด้านพื้นฐานมันเท่าเทียมและเสมอภาค !
@MukdumOfficial
@MukdumOfficial 3 ай бұрын
จ่ายภาษียังไม่เสมอภาคเลย บางคนจ่ายแค่VAT อีกหลายคนจ่ายทั้งTAX/VAT
@fin4305
@fin4305 3 ай бұрын
@@MukdumOfficial นั่นก็เป็นหน้าที่รัฐที่จะทำให้คนมีรายได้เข้าเกณฑ์จ่าย สร้างเศรษฐกิจ อยากให้คนจ่ายภาษีก็ต้องส่งเสริมsmeให้แข็งแกร่ง จะจ่ายเท่ากันได้ยังไง ทุกอย่างมันมีกฏเกณฑ์
@user-ui7vq1tr7f
@user-ui7vq1tr7f 2 ай бұрын
ผิดแล้ว ความเท่าเทียมไม่ใช่ความเสมอภาค ความเท่าเทียม - แจกเงินคนรวย 100 บาท และแจกเงินคนจน 100 บาท ความเสมอภาค - แจกเงินคนรวย 10 บาท และแจกเงินคนจน 190 บาท
@TIRLOP99
@TIRLOP99 3 ай бұрын
คอนเทนต์โคตรดี ขอให้ออกมาเยอะ ๆ เลยครับ 🙏🙏🙏
@wi_y9682
@wi_y9682 3 ай бұрын
ฟังเพลินมากกก 20 นาทีแป๊ปเดียวเอง
@silanithimutrakul2312
@silanithimutrakul2312 3 ай бұрын
เราต้องใช้คำว่า “ยุติธรรม” นำหน้า “ความเท่าเทียม” ซึ่งคนเรามักจะมองความยุติธรรมในมุมแคบ คืออยู่ภายใต้กฎหมายและอำนาจของผู้ตัดสิน แท้ที่จริงแล้วความยุติธรรมประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม สิ่งใดที่สังคมมองว่าดีงาม สิ่งนั้นคือความถูกต้อง ดังนั้นความเท่าเทียมจึงอยู่ภายใต้คุณธรรมอีกทีนึง เราก็จะเลิกมองหามาตรวัดของความเท่าเทียม ไปสู่การผลัดดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่มีความยุติธรรมได้นั่นเอง
@misstangdao
@misstangdao 3 ай бұрын
ฟังตอนนี้แล้ว มีจุดที่อยากร่วมแลกเปลี่ยนมากๆ เลยค่ะ (ตรงกับที่พิธีกรรายการบอกเลย คือถ้าโยนประเด็นนี้ปุ๊บ ความอยากร่วมถกเถียงจะมาทันที 😂) คือ เรื่องความเท่าเทียม ความเสมอภาค คือแต่ก่อนเราก็คิด ว่าเราควรให้โอกาสทุกๆ คน ในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม เราคิดแบบ ถ้ามีการแข่งขัน เราก็ควรให้คนทุกคนได้เริ่มที่จุดสตาร์ทจุดเดียวกัน หลังจากนั้นคือความสามารถในการแข่งขัน การเตรียมตัวมาของแต่ละคน แต่ทีนี้ ในปีหลังๆ ถัดมา ความคิดเราก็เปลี่ยนไป อย่าง ถ้าโลกเรา มันเริ่มด้วยความไม่เท่ากัน มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เพศชายกับเพศหญิง คงลงแข่งในสนามเดียวกันไม่ได้ แต่ถ้าต้องลงแข่งในสนามเดียวกัน เราควรให้เพศหญิงได้เริ่มที่จุดสตาร์ทล้ำหน้ากว่าไหม ถึงจะช่วยให้มีโอกาสในการแข่งขัน มีอีกหลายเรื่องราว ที่โลกนี้จับคนหลากหลายมาแข่งขันกันในสนามเดียวกัน อย่างคนพิการ คนบนดอย ซึ่งก็พ่วงมาด้วยแนวคิดกำกับอย่างเรื่องการสงสารอีก ควรหรือไม่ อย่างไร หรือมีแนวคิดอื่นๆ อีก ที่ว่า คนเราเกิดมาด้วยพริวิเลจที่แตกต่างกัน หรือแปลอีกความหมายคือ พรสวรรค์ที่แตกต่างกัน นั่นทำให้เราแต่ละคนมีสิ่งที่เหนือกว่าคนอื่นๆ เสมอ เป็นเหมือนพรที่แต่ละคนได้มา อยู่ที่ว่าจะหยิบจับใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์ไม่ว่าจะแก่ตัวหรือคนอื่นๆ ซึ่งความสามารถแตกต่างหลากหลายของแต่ละคน ก็ทดแทนต้นทุนความไม่เท่ากันที่เกิดมา นี่ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง นั่นแปลว่า เราต้องออกแบบความเท่าเทียมร่วมกันอีกใช่ไหมคะ คนอื่นๆ เห็นว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งส่วนตัวก็สรุปว่า เยอะจัง ขี้เกียจคิดละ ไปซักผ้าดีกว่า จบดีกว่า จบแล้วค่ะ 🙏🏼 (กลัวเกิน shortcutปรัชญา พอพูดไปเรื่อยๆ ก็เริ่มลามไปประเด็นอื่นๆ 😂)
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
ขอบคุณมากเลยครับ ดีใจมากๆ ที่คิดกับประเด็นในอีพีอย่างจริงจัง 555 ผมคิดว่าถ้าคุยเรื่องความเท่าเทียมอย่างลึกๆ คงเป็นอย่างที่ว่ามาจริงๆ ครับ คือคนมองประเด็นนี้ในหลายมุม โดยทั่วไป คนก็มักเชื่อกันว่า ความเท่าเทียมคือการให้ 'โอกาสเท่าๆ กัน' เช่น ถ้าทุกคนมีสิทธิ์ได้เรียนฟรีก็ถือว่าพอแล้ว เท่าเทียมกัน เพราะเราปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนๆ กัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบอะไร แต่บางกลุ่มบอกว่า ไม่ได้ เราต้องดูที่ผลลัพธ์ต่างหาก เพราะแค่เปิดโอกาสให้เท่ากัน ไม่ได้การันตีว่า 'ช่องว่างทางโอกาส' นั้นจะเข้าใกล้กันมากขึ้นจริง เพราะคนที่ยากจนก็ยังเข้าถึงการศึกษาได้ลำบากกว่าอยู่ดีด้วยหลายเงื่อนไข บางประเทศก็เลยมีแนวคิดเรื่องสร้างความได้เปรียบให้ผู้เสียเปรียบ เช่น นโยบาย affirmative action ที่กันโควตาในการเข้าถึงการศึกษาให้กับคนบางกลุ่มเป็นพิเศษ เช่น คนผิวสี ด้วยแนวคิดว่าคนกลุ่มนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบมาตลอดประวัติศาสตร์ ดังนั้น ต่อให้มีโอกาสได้เข้าแข่งขันเหมือนๆ กับคนอื่น แต่ยากจะชนะหรือไปไหนได้ไกล ถ้าคู่แข่งล้วนแต่มีพื้นฐานหรือมีแรงหนุนที่ผลักดันให้ไปได้ไกลกว่าและเร็วกว่า เราจึงต้องการันตีผลลัพธ์ให้กับเค้าด้วย อีกแนวทาทงเสนอว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่เราควรสนใจไม่ใช่ 'โอกาสในการแข่งขัน' หรือ 'ผลลัพธ์ของการแข่งขัน' แต่คือการสร้างความเท่าเทียมในแง่สภาพแวดล้อม ให้คนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้เขาพัฒนาตัวเองและใช้ความสามารถของตัวเองได้เพื่อสร้างชีวิตที่ดีของตนและชุมชนขึ้นมาได้ แนวคิดนี้มองว่า ถึงที่สุดความสำเร็จในชีวิตของคนหนึ่งคนเป็นเพราะปัจจัยนอกเหนือจากตัวเขาอีกมาก ดังนั้น การจัดสรรและกระจายทรัพยากรใหม่ในระดับสังคม เพื่อให้สภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนชีวิตนี้ เกิดขึ้นในวงกว้างมากที่สุด อาจเป็นความหมายที่แท้จริงของความเท่าเทียม แนวคิดพวกนี้มีผู้วิจารณ์ไว้มาก และจริงๆ เรื่องความเท่าเทียมนี่มีแนวทางในการคิดได้หลากหลายจริงๆ ครับ ไว้มีโอกาสจะลองพูดถึงข้อถกเถียงเหล่านี้ให้มากขึ้นนะครับ ขอบคุณอีกรอบครับ 😄
@SkizzikArm
@SkizzikArm 3 ай бұрын
“ออกแบบความเท่าเทียมร่วมกัน” ผมเห็นด้วยนะ เพราะผมมองว่า ความเท่าเทียม ในบางมุมก็เป็นค่านิยม ซึ่งเป็นค่านิยม ณ ช่วงหนึ่งของสังคม ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามพลวัติของสังคม ถ้ามันเป็นค่านิยม มันก็น่าจะต้องมาจากสังคมนั้นๆเอง
@Sam799-ok2wp
@Sam799-ok2wp 3 ай бұрын
@@pknnn อ่ออ ให้โอกาสเท่ากัน หรือ สร้างสภาพแวดล้อมให้ทัดเทียมกัน เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสร้างความเท่าเทียม เฉียบครับ
@aeta2802
@aeta2802 3 ай бұрын
การสร้างสภาพแวดล้อม​ ก็เหมือนการทดลอง​ แต่พอเอามาทำจริงมันยาก​ แค่เลือกเกิดในสถานะต่างฯยังไม่ได้เลย​ การให้รัฐมาควบคุมมักจะออกไปในแนวทางคอมมิวนิส​มากกว่าประชาธิไตร
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
​@@aeta2802 จริงๆ มันเป็นแบบนั้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลกเลยนะครับ นโยบายต่างๆ ที่ออกมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษี การจัดสรรงบประมาณ ไปจนถึงการออกแบบหน้าตาของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา (เช่น เป็นของรัฐหรือของเอกชนดี) และการออกกฎหมายเพื่อกำหนดว่าใครสามารถเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศได้บ้าง มีตัวอย่างอีกไม่รู้จบ ทั้งหมดคือการทดลองจริงๆ ครับ คือทดลองสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อออกแบบสังคมที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แน่นอนว่าประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แน่นอนว่ามันยากจริง แต่ผู้คนก็ยังทำอยู่ด้วยความเชื่อว่ามันน่าจะมีประโยชน์บางอย่างอยู่ต่อสังคมโดยรวม ตัวอย่างง่ายๆ เลยคือ เมื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนได้ สังคมจะปลอดภัยขึ้น เมื่อมีนโยบายที่ส่งเสริมสุขภาพและทำให้สถานที่สำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและราคาถูก รัฐก็ไม่ต้องเสียต้นทุนมากมายเพื่อไปดูแลสวัสดิภาพของคนในระยะยาว เมื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ทำให้คนมีโอกาสได้มีความรู้ เช่น ความรู้ทางการเงิน และมีสถานการณ์ในชีวิตที่เอื้อให้เขาเห็นประโยชน์ของความรู้นั้นมากขึ้น เช่น ไม่ต้องวนเวียนอยู่วงจรหนี้สิน คนจะสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาสวัสดิการระยะสั้นของรัฐมากเกินไป เมื่อคุณภาพชีวิตพื้นฐานโดยรวมดีขึ้น และคนไม่ต้องดิ้นรนกับการเอาตัวรอดในชีวิตวันต่อวัน เป็นไปได้มากว่าเขาจะสามารถใช้ "เวลา" และ "กำลังแรงงาน" ที่มีเพื่อสร้างผลิตภาพหรือประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในระยะยาว ในมุมหนึ่ง การสร้างสภาพแวดล้อมพวกนี้มันเลยเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทุนนิยม แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยกับแนวทางนี้นะครับ ส่วนเรื่องที่ว่ารัฐควรเข้ามาควบคุมเรื่องไหนบ้าง เหมือนที่คุณ aeta บอก คือถ้าเราให้รัฐเข้ามากำกับทุกเรื่องในชีวิต เราก็จะได้โลกที่น่าขนลุกมากๆ เลย เพราะสุดท้ายยังไงก็จะลงเอยด้วยระบบเผด็จการ ไม่ว่าจะใช้ชื่อว่าคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ หรืออื่นๆ อีกเยอะเลย การบาลานซ์ระหว่างอำนาจของรัฐกับอำนาจของประชาชน คือโจทย์สำคัญในทางปรัชญาและการเมืองของหลายประเทศเลยครับ 🙂
@x20x200
@x20x200 3 ай бұрын
ชื่นชมผู้ดำเนินรายการครับ อธิบายได้ลื่นไหลมาก
@dkesm
@dkesm 3 ай бұрын
คนเราเปลี่ยนไปตลอดเวลา เราอ่านหนังสือหน้านึง หนึ่งเล่ม หรือดูละคร1ตอน หรือ1เรื่อง ฟังข่าวนิดๆหน่อยๆ เราก็เปลี่ยนไปทีละนิดทีละน้อย concept ที่มนุษย์ควรแน่วแน่คืออย่ายึดติดกับอะไรมาก แม้กระทั่งความรักที่เคยรักมากเขาเคยรักเรามาก แต่วันหนึ่งเรา-เขาอาจจะเปลี่ยนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่รักก็เท่ากับไม่รักก็ควรแยกย้าย ไม่ยึดติดและยอมรับความจริง เปิดตาเปิดหูเปิดใจอยู่ตลอดเวลา อย่าปิดตาปิดหูปิดใจ เพราะมันจะทำให้ตามืดบอดมองเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
@hseductive6591
@hseductive6591 3 ай бұрын
ชอบการใส่ต้นไม้เข้ามาในฉากด้วยมากๆ รู้สึกสบายตาทุกครั้งที่มองไปค่ะ
@q.chin.p
@q.chin.p 3 ай бұрын
เราว่า "ความรู้สึกต้องการเท่าเทียม" เป็นแรงตึงที่มีอยู่ในธรรมชาตินะคะเราแค่ใช้คำหยาบไปหน่อย"ความเท่าเทียม" มันเลยดูแบนๆและไม่มีจริง เท่านั้นเอง การเรียกร้องของสิ่งมีชีวิตใต้อานัตเป็นการแสดงออก การขัดขืนของสมาชิกจะยืนยันลำดับอำนาจของผู้นำ เพื่อไม่ให้ถูกทอดทิ้งจากอำนาจและสิทธ์ในฝูงมากเกินไป และโดยธรรมชาติแล้วความเห็นอกเห็นใจ กับความกลัวก็จะตอบสนอง เพื่อถ่วงดุลพีระมิดให้สมาชิกไม่ต่างชั้นกับจ่าฝูงหรือสิ่งที่มีความสามารถควบคุมที่เหนือกว่าจนถูกทอดทิ้ง ทุกอย่างที่เกิดขึ้นแล้วตามธรรมชาติจึงมีความสำคัญต่อระบบนิเวศและวัฒจักรได้ทั้งหมด สิ่งที่ไม่มี่ความหมายก็ตายส่งพลังงานต่อไป คิดว่านะคะ อาจจะเป็นความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมหรืออยากรวมฝูงประมาณนั้นะค่ะ
@pmnz9483
@pmnz9483 3 ай бұрын
เห็นด้วยครับ รูปแบบเหล่านี้สังเกตุได้จากสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ธรรมชาติไม่เคยสร้างความเท่าเทียม ความหลากหลายต่างหากที่ทำให้เกิดธรรมชาติ
@Prince128260
@Prince128260 25 күн бұрын
คำถามท้ายรายการครับ เคยครับ ตอบแบบหลีกเลี่ยงนะครับ คือเดิมเคยเชื่อ ศรัทธา เขาที่สมุมติตัวเองเป็นผู้วิเศษ มีพิธีกรรมมากมาย ปัจจุบัน ไม่แล้ว เขาก็คือมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น ทีต้องการอำนาจ เพื่อเสวยภาษี เท่านั้นเอง
@sunnyarunwong4353
@sunnyarunwong4353 3 ай бұрын
ฟังเพลินๆ ครับ แปบเดียวจบซะแล้ว ฟังแล้วได้คิดตาม
@Jr.crocodile
@Jr.crocodile 3 ай бұрын
Q : เคยมีมะ อะไรที่เคยเชื่อ+เคยยึดถือ!!! แต่มาวันนี้ เีาไม่เชื่อ และไม่ยึดถืออีกต่อไปแล้ว ??? A : ตอบแล้วจะติดคุกมั๊ยอ่ะ ???
@GGcxvw558
@GGcxvw558 3 ай бұрын
กษัตริย์😂 ความเคารพนับถือเป็นสิ่งที่เขาจะให้มาเอง ไม่ใช่การร้องขอหรือคำสั่ง
@Jr.crocodile
@Jr.crocodile 3 ай бұрын
@@GGcxvw558 ตำรวจ Police.....555+
@dkesm
@dkesm 3 ай бұрын
555555555555555555555555555555555555555555555 ผมว่าเรื่องพวกนี้มันเข้าข่าย "ความเชื่อ" คือจะเอาเหตุผลมางัดค้านไม่ได้หรอก เหมือนศาสนาที่ไม่กินหมูอ่ะเขาจะอ้างว่าหมูสกปรก ยุคนี้หมูสะอาดกินได้กินดีแล้วนะก็มันผ่านมา2-3พันปีแล้ว ความเชื่อ กับ เหตุและผล มันคนละทางกันครับในคลิปนี้พูดถึงเหตุผล ลองดูบางศาสนาสอนให้คนไปตายเพื่อเป็นวีรบุรุษ ควงระเบิดพลีชีพก็เยอะแยะ มันไม่มีเหตุและผลเลย555
@patpat7065
@patpat7065 3 ай бұрын
เคารพหรือไม่เคารพ ไม่ติดคุก ไม่ผิด เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เมื่อไหร่ที่หมิ่นประมาท อาฆาตมาตรร้าย จะเข้าข่ายตามกม.และผิดกม.ทุกประเทศมีกม.คุ้มครองประมุขของรัฐมากกว่าคนปกติทุกประเทศ ทุกคนรู้อยู่แก่ใจแหละว่าตัวเองทำผิดตามกม.รึไม่ แต่ส่วนใหญ่ทำผิดแล้วโดนโทษแล้วโวยวายว่าไม่ได้ทำ ดิ้นรนหาพวกพ้อง พวกพ้องก็จะออกมาปกป้องแม้รู้อยู่แก่ใจ และศาลดูตามเจตนา เดียวดายหน้าศาลกันทุกคน
@SkizzikArm
@SkizzikArm 3 ай бұрын
@@GGcxvw558 คุกแล้วหนึ่ง 5555
@macbookpong
@macbookpong 3 ай бұрын
ภัยพิบัติ ไม่มีอยู่จริง เป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติ การเกิดขึ้นของการเคลื่อนที่ของดิน น้ำ ไฟ ลมเป็นปกติของธรรมชาติ แต่มนุษย์ที่ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เพราะตัวเองเดือดร้อนจากการดำเนินไปปกติของธรรมชาติ จึงบัญญัติว่ามันคือ ภัยพิบัติ แต่จริงๆแล้วก็เป็นเพียงปรากฏการณ์หรือกระบวนการปกติของธรรมชาติ
@bright.boj48
@bright.boj48 3 ай бұрын
ติดตามตลอดครับ
@ppbrown
@ppbrown 2 ай бұрын
content ดีมากๆครับ ขอสนับสนุน และให้กำลังใจผู้ผลิตคอนเท้นต์ครับ อยากให้นำเด็กๆน้องๆในสังคมได้ฟังเยอะๆ เป็นประโยชน์มากครับ
@Jirat-lj3fq
@Jirat-lj3fq 3 ай бұрын
ถ้าโลกนี้เท่าเทียมกัน พี่แว่นป๋องแป๋งคงไม่ตกงานเพราะtoxic ในขณะที่ดาราหล่อๆล่อขืนใจสาว ทำตัวtoxicกว่าตั้งเยอะยังลอยหน้าลอยตาในวงการหรอกครับ 😁
@SkizzikArm
@SkizzikArm 3 ай бұрын
เรื่องที่ยกตัวอย่างมา มันสร้างความชอบธรรม ให้ความไม่เท่าเทียมเรื่องอื่นๆไปด้วยมั๊ยครับ? ดาราไม่เท่าเทียม แล้ว โรงเรียนควรไม่เท่าเทียมด้วยมั๊ยครับ?
@thelitlebearmistero5361
@thelitlebearmistero5361 3 ай бұрын
คิดถึงพี่ฟางมากค่ะ จะติดตามรายการนี้ไปเรื่อยๆ❤
@GGcxvw558
@GGcxvw558 3 ай бұрын
เหตุผลบ้งๆส่งประกวด “ทหารเป็นรั้วของชาติ ต้องมาปราบโกง รัฐประหาร”
@user-jc5hr6hl6b
@user-jc5hr6hl6b 2 ай бұрын
อีก 5-10 ปีบางทีอาจจะมีคนมานั่งขำนั่งอะไรวะกับตรรกะในตอนนี้ก็ได้ครับ เหตุการณ์ ประสบการณ์ มันเป็นเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง ในรัฐรัฐนึง ไม่สามารถให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทุกอย่างได้เพราะความรู้ ความคิด และทรรศนคติของคนนั้นไม่เท่ากัน ต้องยอมรับตรงนี้ให้ได้ รับไม่ได้ลองยกตัวอย่างประเทศที่ ปชช ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในทุกอย่างมาหน่อย ส่วนการปกครองของไทยในตอนนี้เป็นประชาธิปไตยแบบหลอกคนโง่้พื่อปกครองคนเก่ง แต่เราใช้วิธีแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องแบบการรัฐประหาร เลยยังย่ำอยู่กับที่แบบนี้ ควรปล่อยให้มันเป็นไปตามระบบ ให้คนได้มีประสบการณ์ล้มลุกคลุกคลานกับความเชื่อของตัวเอง ยอมเจ็บเพื่อจบดีกว่าตัดตอน
@viewnoijung
@viewnoijung 3 ай бұрын
สิ่งสำคัญคือเรามองสิ่งต่างๆตามพลวัตของสิ่งนั้นๆหรือไม่ เราจึงจะเข้าใจและอยู่กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
@s-maew
@s-maew 3 ай бұрын
นำไปสู่ความคิดว่า ในทางการเมือง การสร้างกฏหมาย บนพื้นฐานว่า คนกลุ่มหนึ่งมีสิทธิกำหนดกติกามากกว่าคนกลุ่มใหญ่ที่มีความรู้น้อยกว่า... น้องฟางน่ารักมากค่ะ...ไส้ติ่ง555
@soburapha9486
@soburapha9486 3 ай бұрын
ขอบคุณครับ
@vintagegrado2109
@vintagegrado2109 3 ай бұрын
อยากเห็นวันนึงที่ทุกคนบนโลกมีรายได้เท่ากัน มีทรัพย์สินเท่ากัน ทำงานหนักเท่ากัน ไม่ต้องมีผู้นำไม่ต้องมีผู้ตาม ไม่มีใครมีอำนาจสั่งใคร ควรรณรงค์เรื่องนี้เหมือนเรื่องไม่ทิ้งขยะลงพื้น เริ่มในสังคมที่เล็กที่สุดคือครอบครัว ขยายไปเป็นขุมชน ที่ทำงาน จนถึงประเทศ บ้าน โรงเรียน กับที่ทำงาน คือสังคมที่มีโครงสร้างอำนาจต่างกันเยอะที่สุด พ่อ แม่ ลูก ควรทำงานหนักเท่ากัน มีรายได้เท่ากัน อายุ ขนาดร่างกาย ไม่ใช่สิ่งที่จะขวางความเท่าเทียม โรงเรียนไม่ต้องมีครูผู้ใช้อำนาจสั่งให้ทำแบบนั้นแบบนี้ นักเรียนก็ไม่ควรมี เด็กควรทำงานเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และทุกคนสามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลาพัฒนาตัวเองตลอดเวลาได้อยู่แล้ว ที่ทำงานจึงเป็นส่วนสำคัญของความเท่าเทียม ที่นี่จะไม่มีหัวหน้าลูกน้อง ไม่มีเด็กผู้ใหญ่ ทุกคนจะทำงานหนักเท่ากันและมีรายได้เท่ากัน ประเทศและกฏหมายต่างๆ อาจไม่จำเป็น เพราะทุกคนจะเป็นพลเมืองของโลก กฏหมายต่างๆ ไม่ต้องมี เพราะกฏข้อเดียวคือ ต้องเท่าเทียม หากมีการกระทำที่ไม่เท่าเทียม นั่นคือผิดกฏ แต่ก็จะลงโทษกันไม่ได้เพราะ ไม่มีใครมีอำนาจกว่าคนอื่นไปลงโทษคนทำผิดกฏ ผมรอไม่หวแล้ว ที่จะได้อยู่ในโลกแห่งความเท่าเทียมนี้ ช่างเป็นโลกที่เหมือนอยู่ในยุคพระศรีอารย์ จริงๆ
@vintagegrado2109
@vintagegrado2109 3 ай бұрын
เงินที่ใช้กันในยุคแห่งความเท่าเทียมคือบิทคอยน์ บิทคอยน์คือสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม บิทคอยน์จะมีค่ามากขึ้น มากขึ้น ดังนั้นอาชีพที่ทำงานไม่หนัก ทำได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกคนบนโลกทำได้เท่าๆกันคือ ขุดหาบิทคอยน์ โลกยุคนั้นจะเป็นโลกแห่งดิจิทัลอย่างแทร่ทรู เมื่อได้ค่าแรงเป็นบิทคอยน์ ทุกคนก็จะไปแลกดิจิทัลฟู๊ดมาเป็นอาหาร กินจนอิ่มก็ไปฟาร์มขุดหาบิทคอยน์กันต่อ ลืมบอกไปว่าเพื่อขจัดความแตกต่างของร่างกายของแต่ละคน เราจะไม่ใช้ร่างกายอีกต่อไป เราจะใช้เครื่องจำลองความคิดและจิตใจเราไปเป็นแบบดิจิทัล ร่างกายเนื้อจะเป็นสัญลักษณ์ของความไม่เท่าเทียม เป็นสิ่งเน่าเหม็น และเป็นภาระ หลังเชื่อมจิตไปเป็นดิจิทัล ร่างกายทุกคนจะถูกย่อยสลาย และเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับเครื่องจักรขุดหาบิทคอยน์ โอโห ผมแทบรออยู่ในยุคแห่งความเท่าเทียมไม่ได้แล้วจริงๆ อยากให้เกิดขึ้นเร็วๆ
@wutthiphongboodnon
@wutthiphongboodnon 3 ай бұрын
คือแนวคิดคอมมิวนิสต์ครับ ถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆคงจะน่ากลัวมาก แค่คิดตามที่คุณว่ามาก็สยองแล้ว
@okido1220
@okido1220 3 ай бұрын
โหหคำถามตอนนี้คือตึกเลยครับเมื่อก่อนเคยเชื่อว่าเราเกิดมาจุดนี้ยังมีคนอยู่สูงกว่าเรานะ เราต้องเชิดชูเค้านะเพราะว่าเค้าคือเจ้าของที่เราอยู่เราพึ่งพิงอาศัยเค้าทั้งๆที่เราก็ไม่รู้เลยว่าที่เราทำไปนั้นทำไมกันนะ แต่พอโตมาแล้วคำถามนั้นก็ถูกตอบได้ด้วยที่เราเห็นเองเลย เข้าใจเองกับคำว่ากดให้จนแล้วแจก กดให้โง่แล้วปกครองเลยครับ ใครที่เห็นต่างก็จะโดนกระทำอย่างเช่นที่พี่ๆพูดไว้ในคลิปว่าถ้าคุณมีอำนาจมากพอคุณก็จะสามารถทำให้เหตุผลนั้นคงที่ได้โดยใช้กฎหมายกดเหตุผลต่างนั้นลงไป นี่แหละครับสิ่งที่อยากเปลี่ยน
@sulhasan5282
@sulhasan5282 3 ай бұрын
มาสักที รอมานาน
@MrNataphong
@MrNataphong 3 ай бұрын
แต่ผมไม่เขื่อว่าคนเท่าเทียมกันทุกคนนะครับ เพราะถ้าเท่ากันจริง มันจะยังมีปัญหาอยู่หรอ? ความพอใจของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ที่เท่ากันก็แค่ มี1ชีวิตอยู่ในร่างเผ่าพันธุ์มนุษย์ ไม่เหมือนกัน/แตกต่างกัน ไม่ใช่ ไม่เท่ากัน แต่เพราะไม่เท่ากันถึงแตกต่างกัน ประเด็นคือ เราไม่ควรนำความไม่เท่ากันนั้น มาเป็นปัญหาทำร้ายกัน แม้แต่ตนเอง
@j.j.2853
@j.j.2853 3 ай бұрын
เห็นน้องฟางแล้วคิดถึงพี่ป๋องแป๋ง
@user-pn1wi3hg7m
@user-pn1wi3hg7m 3 ай бұрын
ไม่คิดจะฟัง แต่ก็สงสัย เลยลองฟัง พอฟังแล้ว ก็เป็นอย่างที่คิด
@sephirothlp1
@sephirothlp1 3 ай бұрын
พ้อตย์ของคลิปนี้อยู่ที่ถามผมว่าอะไร ถ้าถามว่าคนเท่าเทียมกันไหม ส่วนตัวผมว่าไม่ครับ แต่ถ้าถามว่าจะพยายามจะไปทำให้ไม่เท่าเทียม หรือจะไม่ทำอะไรเลย ส่วนตัวผมไม่ใช่ครับ ผมเชื่อว่า คนเราไม่เท่าเทียมกัน มีความเหลื่อมล้ำตลอดชั่วชีวิต และเราคงไม่มีทางทำให้เท่าเทียม แต่ผมเชื่อว่ามนุษย์ต้องพยายามทำให้ความไม่เท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำมันน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ถ้ามองในส่วนมนุษย์ผมก็มองว่าเราต้องมองถึงตำแหน่ง อำนาจ เงิน ทุกอย่างล้วนรวมกันประกอบเป็นมนุษย์ครับ
@nicktanawut915
@nicktanawut915 3 ай бұрын
ก็มีเหตุมีผล เช่น คนนึ่งมี1000 อีกคนมี10000 คุณว่าต่างรึยัง? อย่างการพัฒนาคุณก็ต้องมีเงินมาทำโน้นนี่นั้น แล้วถ่าไม่มีละทำอะไรได้ไหม? จะทำอะไรทำคนเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีกลุ่มมีทีมงานช่วยกันคิดช่วยกัน ทำ ถ้ามั่วแต่จะแข่งกันต่างฝ่ายจะเอาชนะ แล้วไงต่อ?
@riobiz7581
@riobiz7581 4 күн бұрын
ความสุข และ ความทุกข์ไงที่เท่าเทียม ต่อให้มีเงินมากความสุขก็ไม่ได้มากกว่าความทุกข์ ต่อให้มีเงินน้อยความทุกข์ก็ใช่จะมากกว่าความสุข นะ (หากมองลึกขึ้น)เพราะสิ่งนี้มันเกิดขึ้นภายในหาใช่วัตถุโดยรอบตัวหรือแม้ตัวเองก้ไม่ใช่ความสุขจริงๆ อยู่ทีืมายเซท
@sephirothlp1
@sephirothlp1 4 күн бұрын
@@riobiz7581 ผมมองว่ามันอยู่ที่เราจะตีกรอบว่า "คน" มันคือขนาดไหนครับ ถ้าตีกว้าง ๆ แล้วดูแค่บางหัวข้อในชีวิต "ความตาย" ก็ทำให้เท่าเทียมครับ จากที่คุณเสนอความเห็นมาผมมองว่าสิ่งที่คุณกล่าวคือ "ความสุข" และ "ความทุกข์" นั้นเท่าเทียม เพราะไม่ว่าใครก็เจอ ไม่ใช่คนที่เท่าเทียมครับ ผมเลยบอกตั้งแต่ต้นว่า อยู่ที่คำถามจะถามเราว่าอะไร และอยู่คน ๆ นั้นจะตีความ . ขอบคุณที่แลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ
@user-us7ne5gh5f
@user-us7ne5gh5f 2 ай бұрын
ศาสนา เลยค่ะเป็นเพียงเรื่องแต่งที่ใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเพียงเท่านั้น หลักเหตุผล หายไปตั้งแต่ การถืดกำเนิดจากช้างเผือกแล้วถือดอกบัว มันจบแล้วค่ะ ชีวิตที่ดีที่ฝันเป็นอย่างไร ฉันจะเป็นคนกำหนดเอง จะทำตามที่ที่คิดว่าถูกต้องด้วยหลักเหตุผลของวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้
@Prince128260
@Prince128260 26 күн бұрын
ผมก็เคยคิดแบบนั้น ก็เลยมาทำกาศึกษา พุทธธรรม ของท่าน ป.อ.+จิตวิทยา 101 + การทำงานของสมอง+การทำงานของระบบประสาท+การทำงานของ AI ลองดูครับ
@Guzter10
@Guzter10 2 ай бұрын
ความเท่าเทียมในมุมแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในมุมมองของผม ผมมองว่าทางกายภาพมนุษย์มีความต่างกันอยู่แล้ว แต่ในเมื่อมนุษย์ในยุคนี้อาศัยร่วมกันโดยมีการแต่งตั้งรัฐ เป็นผู้ควบคุม ความเท่าเทียมควรเป็นการให้โอกาสกับมนุษย์ที่อยู่ในสังคมอย่างเท่สเทียม แต่จะประเด็นในเรื่องคนนึงมีความสามารถเข้าถึงโอกาส แต่อีกคนไม่สามารถแม้แต่จะเคยเห็นโอกาสนั้น ซึ่งมันจะเหมือนว่าทุกคนอาจไม่เท่าเทียมกันก้ได้ แต่สิ่งที่ทุกคนควรมีเท่าเทียมกันคือสิทธิในการคิด ซึ่งไม่ควรโดนแทรกแทรงโดยรัฐหรือคนหมู่มากคับ
@bearkimhongwit3735
@bearkimhongwit3735 2 ай бұрын
ย่างสด ฮะ เถื่อนบันเทิงสันทนาการและ....
@tatayom
@tatayom 3 ай бұрын
ชอบ : เท่าเทียม ≠ เหมือนกัน
@uyarij1001
@uyarij1001 3 ай бұрын
ขอตัังชื่อep.ว่า พัฒนาการการเปลี่ยนเเปลงบรรทัดฐานความถูกต้องเชิงเเนวคิด
@phinix1655
@phinix1655 3 ай бұрын
ยิ่งฟังยิ่งชอบ ประโยคโดนโดนมาทุก็ตอน
@legallyball1738
@legallyball1738 3 ай бұрын
คิดถึงคุณฟาง ^^
@UkritC
@UkritC 3 ай бұрын
การที่คุณยกคำถามขึ้นมาว่า "ถ้าคิดว่าคนไม่เท่าเทียมกัน แปลว่าไม่ต้องมีกฏหมายรึเปล่า" ผมว่ามันไม่เชื่อมโยงกันซะทีเดียวนะครับ กฏหมายอาจจะมีการพยายามสร้างความเท่าเทียม แต่ผมว่าหัวใจมันคือการปกครองสังคมให้อยู่ร่วมกันได้ เพราะงั้นถึงต่อให้ไม่เท่าเทียมกัน เราก็ยังต้องปกครองให้สังคมอยู่ร่วมกัน ผมมองว่าจริงๆแล้ว ความเท่าเทียมมันน้อยลงไปส่วนหนึ่งก็เพราะความเจริญนั่นแหล่ะ เรามาเริ่มให้ค่าสิ่งต่างๆ เราเริ่มมีความคิดที่ต้องการปกครอง ถ้าย้อนไปในยุคแรกเริ่ม ทุกคนก็เป็นแค่มนุษย์ยุคหินเหมือนกันนั่นแหล่ะ ไม่มีเมือง ไม่มีประเทศ ไม่มีศาสนา ทุกคนก็แค่เอาชีวิตรอด นั่นแหล่ะความเท่าเทียมของแท้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมคิดว่าการลดความเหลื่อมล้ำ การให้ความยุติธรรม เป็นสิ่งที่สมควรทำ และไม่เห็นด้วยกับการเหยียด แต่ผมมองว่าเป็นการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันมากกว่า ไม่ได้ไปโฟกัสว่าทุกคนจะต้องมาเท่าเทียมกัน หลายๆครั้งแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองและบางครั้งมันไม่ได้พาไปสู่ทางแก้ปัญหา
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
อยากอธิบายประเด็นเรื่องกฎหมายนิดนึงครับ ผมยกตัวอย่างนั้นขึ้นมา เพราะมันเป็นวิธีให้เหตุผลแบบเดียวกับการพูดว่า "เราไม่ควรเสียเวลาทำให้คนเท่าเทียมกันยิ่งขึ้น เพราะการสร้างความเท่าเทียมกันร้อยเปอร์เซนต์ เป็นไปไม่ได้" ตรรกะชุดนี้เสนอว่า เพราะสิ่งหนึ่งๆ ไม่สามารถเป็นจริงได้ร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำ ถ้าเราประยุกต์กับเคสความยุติธรรม ก็จะพูดว่า "เราไม่ควรเสียเวลาทำให้สังคมยุติธรรม (ด้วยการมีกฎหมาย) เพราะการสร้างความยุติธรรมร้อยเปอร์เซนต์ เป็นไปไม่ได้" ทำนองนี้ครับ ส่วนที่เหลือ ผมคิดว่าถกเถียงกันได้มากๆ เลยเน้นไว้ตอนท้ายเหมือนกันว่า ต่อให้ชุดตรรกะที่สนับสนุนว่า คนไม่ควรเท่าเทียมกันเหล่านี้จะมีปัญหา และจริงๆ ในทางวิชาการคนโต้แย้งกันมามากมาย แต่ไม่ได้แปลว่า ดังนั้น เราจึงต้องทำให้คนเท่าเทียมกันในทุกๆ เรื่องโดยไม่มีข้อยกเว้น หรือการทำให้คนเท่าเทียมกันต้องเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป เพราะอย่างที่คุณ UkritC ว่ามาเลยครับ แนวคิดเรื่องนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเช่นเดียวกับแนวคิดอื่นๆ จะดีไม่ดีจึงต้องพิจารณาอีกหลายด้าน อีพีนี้แค่ชวนคิดเรื่องตรรกะเท่านั้น ผมอาจจะอธิบายไม่ค่อยเคลียร์เลยชวนให้เข้าใจผิดไป ยังไงขอบคุณมากสำหรับความเห็นนะครับ ดีใจมากครับ :)
@aeta2802
@aeta2802 3 ай бұрын
แต่เราว่าใช่​ ตามหลักการของคอมมิวนิส​รัฐมีกฏหมายควบคุมคือสังคมที่มีความเท่าเทียมสุดแล้ว​ แจกสวัสดิการให้เท่ากัน​ หาเงินมาก็ส่งให้รัฐ​คนรวยก็รวยน้อยลง​คนจนก็รวยมากขึ้น​ ผิดกับประชาธิไตรที่ประชาชนต้องใช้ชีวิตอิสระ​ และตัวแลกเปลี่ยนในที่นี้คือเงินที่มีอำนาจสูงสุด​ อยากให้ประเทศเป็นประชาธิไตรมากขึ้นรัฐควรลดบทบาทของตัวเองลง​ แล้วควรลดการเก็บภาษี​ และ​สวัสดิการด้วย​ ส่วนเงินควรนำไปพัฒนาประเทศแทน​ ยิ่งประชาชนใช้ชีวิตอิสระมากเท่าไหร่ความเหลื่อมล้ำ​ก็ยิ่งมากขึ้น
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
@@aeta2802 เห็นด้วยในระดับนึงเลยครับ คือถ้าระบอบการเมืองมันเข้ามาครอบงำทุกอย่างในชีวิต แล้วอ้างว่านี่คือความเท่าเทียม ยอมรับซะ แล้วปฏิเสธเสรีภาพในตัวมนุษย์โดยสิ้นเชิง ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าเราจะมีความเท่าเทียมไปทำไม 5555 ในทางปรัชญาการเมือง มันเลยเป็นการรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพกับความเสมอภาคอันไรแบบนั้น ผมเลยย้ำตอนท้ายว่า ที่พูดมาทั้งหมดไม่ได้ว่า ความเท่าเทียมมันดีในตัวเองทันทีทุกกรณี มันมีเคสพวกนี้ให้เห็นอยู่ตลอดว่ารัฐบาลพร้อมจะอ้างทุกแนวคิดมาสนับสนุนการปกครองของตัวเอง ผมว่าที่น่าสนใจกว่าคือเราจะสร้าง 'ภูมิคุ้มกัน' ให้ประชาชนได้อย่างไร ให้สามารถดูแลตัวเองได้ และคิดถึงความเดือดร้อนของคนอื่นได้ ไม่ใช่เชื่อทุกอย่างที่รัฐบาลมา พูดอีกอย่างคือทำให้ประชาชนมีอำนาจต่อรองกับรัฐบาลมาก โจทย์นี้มีคำตอบได้หลากหลายมาก ถ้าเป็นจุดยืนแบบอิสรเสรีนิยมแบบที่คุณ aeta ว่ามา ก็คงเสนอแบบนั้นครับ ให้รัฐลดบทบาทลง ส่งเสริมเสรีภาพของมนุษย์มากขึ้น แต่ก็มีหลักปรัชญาการเมืองอีกหลายแขนงที่พยายามบอกว่า รัฐควรมีบทบาทอยู่ในเรื่องสำคัญๆ บางเรื่องในชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยและการคุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคลแบบที่สายอิสรเสรีนิยมเชื่อเท่านั้น และที่รัฐต้องทำก็ไม่ใช่เพื่อจะได้ดูแลคนไปจนตาย แต่ต้องทำ เพื่อเกื้อหนุนให้คนสามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้น ทำให้เขาตระหนักว่าตัวเองเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพ มีเหตุมีผล และต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองมากขึ้น ทำให้เขาเห็นคุณค่าของชีวิต และพัฒนาตัวเองได้มากขึ้นด้วย เดี๋ยวไว้อีพีต่อๆ จะพูดถึงดีเบทเรื่องนี้แน่นอนครับ อันนี้ไม่ได้ตั้งใจพูดเรื่องเลยจริงๆ 5555
@PNatsgallery
@PNatsgallery 3 ай бұрын
ส่วนตัวเราคิดว่าการตั้งคำถามที่ไม่ดี ก็ไม่สามารถนำไปสู่คำตอบได้นะคะ เช่น มนุษย์เท่าเทียมกันหรือไม่ ต่อให้คำถามเป็นหรือไม่ มันก็ต้องมาตีค่าเป็นตัวเลขอีก โดยปกติแล้วก็คงไม่มีใครถามว่าเจ้าสี่ขากลุ่มนั้นเป็นหมาเท่าเทียมกันไหม แล้วงั้นเจ้าด่างเป็นหมากี่เปอร์เซ็นต์ หมาตัวนั้น กับตัวโน้นก็เป็นหมาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าฉลาดกว่าเป็นหมา 100% นอนกินบ้างกินเมืองทั้งวันเป็นหมา 20% หรือขี้เรื้อนทั้งตัวเป็นหมา 10% หมาก็คือหมา หมาเลี้ยงกับหมาบ้าน พฤติกรรมต่างกัน กินอาหารต่างกัน แต่มันก็ยังเป็นหมา เราเลยคิดในลักษณะเดียวกันว่า ถ้ามองว่าสิ่งมีชีวิตตรงหน้าก็คือโฮโมเซเปียน เซเปียน aka มนุษย์ มนุษย์ก็คือมนุษย์ ไม่ว่าขอบเขตศักยภาพทางร่างกาย และเงินทองจะแตกต่างกันยังไง มนุษย์ตรงหน้าคุณก็มีโอกาสสูงมากที่ศักยภาพทางสมองมากกว่าหมา อีกา โลมาและช้าง และเมื่อคิดกันออกได้ว่าตัวคุณเองก็เป็นมนุษย์ มนุษย์คนอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวคุณก็เป็นมนุษย์ ไม่ต้องเปรียบเทียบต่อว่าเพราะเขามีศักยภาพแบบนั้น นิสัยแบบนั้น จึงควร/ไม่สมควรได้ปัจจัย xxx อะไรที่มนุษย์ต้องการเป็นปัจจัยพื้นฐาน มนุษย์อื่น ๆ ก็สมควรที่จะได้รับสิ่งเดียวกัน สิทธิในการออกความเห็นก็ 1:1 ได้ เพราะเขาเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับคุณ ปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเงินทอง อำนาจ การศึกษา หรืออะไรก็ตาม เป็นปัจจัยภายนอกที่ได้มาหลังจากที่คุณเกิดมาเป็นมนุษย์ แน่นอนว่าก็สามารถภาคภูมืใจกับมันได้ ว่าคุณเก่งขึ้นกว่าตัวคุณเองเมื่อวาน หรือเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่บอกว่าเพราะคุณมีความสามารถมากกว่าคนอื่นจึงควรมีสิทธิมากกว่า เพราะสิทธิมันตัดสินไปแล้วตอนที่ทุกคนเกิดมา ทุกคนก็ถือครองสิทธินี้ไว้ และเมื่อเห็นว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนที่ทำให้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งมีอยู่ต่อไปอย่างปกติสุขได้ ก็สามารถเรียกร้องให้เกิดการจัดสรรให้คล้ายคลึงกันได้ ส่วนตัวไม่ได้ติดกับการที่อยู่ ๆ วันหนึ่งประเทศมีสวัสดิการที่ดี มีการศึกษาที่ดี แล้วคนรอบตัวก็มีแต่คนที่ใส่ใจวิชาการ ขยันฝึกฝน เข้าถึงทรัพยากรได้ไม่แตกต่างจากเรา ดีเสียอีกว่าคิดงานอยู่แค่ไม่กี่คนหัวจะระเบิด มีคนอีกซัก 3 คน 5 คน มาช่วยกันคิด แล้วแต่ละคนมีศักยภาพ เราก็เหนื่อยน้อยลง เครียดน้อยลงมาก แล้วก็มีระบบการปกครองที่ฉลาด ๆ ออกมา ต่อให้เปลี่ยนผู้นำไปกี่ยุค ประเทศก็เติบโตไปได้อย่างดี เพราะประชาชนมีพื้นฐานที่ดี
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
เห็นด้วยเลยครับ คำถามว่า 'มนุษย์เท่าเทียมกันหรือไม่' นี่มันแล้วแต่ว่าเราไปถามใคร เพราะเราจะตอบว่าเท่าก็ได้ ไม่เท่าก็ได้ ถ้านิยามดีๆ ก็ถูกต้องทั้งคู่ แต่เรื่องสำคัญกว่าคือ แล้วมนุษย์เราควรเท่าเทียมกันหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้เองที่นำมาซึ่งชุดเหตุผลและข้อถกเถียง ของคนที่เชื่อว่ามนุษย์ควรเท่าเทียมกัน และที่เชื่อว่ามนุษย์ไม่ควรเท่าเทียมกัน เพียงแต่สำหรับหลายคน คำตอบที่ว่า มนุษย์ 'ควร' เท่าเทียมกันหรือไม่ มันถูกโยงกับคำถามที่ว่า 'มนุษย์เท่าเทียมกันหรือไม่' มันเลยทำให้คำถามนี้เป็นประเด็นขึ้นมา ในอีกแง่ มนุษย์นี่มีศักยภาพจะมองมนุษย์ตรงหน้าไม่ใช่มนุษย์สูงมากนะครับ 5555 อะไรพวกนี้แหละที่นำมาซึ่งชุดตรรกะเหตุผลบางอย่าง ที่ถูกใช้สนับสนุนว่า ทำไมคนเราจึงไม่ควรเท่าเทียมกัน หรือกระทั่งมีใครบางคนที่ควรยิ่งใหญ่กว่าคนอื่นครับ
@user-pn1wi3hg7m
@user-pn1wi3hg7m 3 ай бұрын
ถามว่าควรไหม ไม่ควรอย่างยิ่ง คนเราโง่ซะเป็นส่วนใหญ่อ่อนแอซะเป็นส่วนมาก แต่ที่พูดนี่คือบทบาททางสังคมต้องมีผู้นำผู้ตาม แต่ถ้าพูดถึงสิทธิควรเท่าเทียมใช่ควร แต่ก็เป็นคำถามที่ไม่น่าถาม เพราะทุกคนมันเท่าเทียมในสิทธิของตัวเองอยู่แล้ว ยกเว้นบางประเทศ เกาหลีเหนือ หรือประเทศมุสลิม อันนั้นล่ะไม่เท่าเทียมแน่
@cablecabilee
@cablecabilee 3 ай бұрын
เหตุผลที่เคยเชื่อคือเรื่องทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว(ในชาติกำเนิดหน้า) ตอนนี้มองเป็นแค่เหตุปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึก ชอบหรือไม่ชอบก็เท่านั้น ไม่ได้มีภพภูมิอะไรอย่างที่โบราณเขาว่ากัน
@tkung13ot
@tkung13ot 3 ай бұрын
เวลาเจอตรรกะแบบนี้ ส่วนตัวจะคิดว่า จริงๆ มันควรจะเป็น "แม้นิ้วมือคนเราจะยาวไม่เท่ากัน แต่มนุษย์ทุกคนมี 10 นิ้วมือ เท่ากันตั้งแต่เกิดมา"
@aeta2802
@aeta2802 3 ай бұрын
ควรรวมคนพิการไปด้วยนะตระกะจะได้สมบูรณ์​ขึ้น
@wutthiphongboodnon
@wutthiphongboodnon 3 ай бұрын
มันก็ถามต่อได้อีกว่า คนพิการที่มีนิ้วมือ 8 นิ้ว หรือ 12 นิ้วล่ะ?
@Merlin41
@Merlin41 3 ай бұрын
เคยเชื่อว่ายิ่งมีตำแหน่ง หรือ อำนาจ ทำให้เราทำอะไรก็ได้ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ผลลัพธ์จะออกมาดี ตอนนี้เชื่อว่า ถ้าใช้อำนาจในทางที่ดีจะดีมากเป็นทวี ถ้าใช้อำนาจในทางไม่ดี ผลลัพธ์ในทางไม่ดีก็จะทวีตามอำนาจเช่นเดียวกัน
@GGcxvw558
@GGcxvw558 3 ай бұрын
อำนาจคือตัวทวีคูณผลมากกว่า ตัดสินใจดี + มีอำนาจก็รุ่งเรือง ตัดสินใจแย่ + มีอำนาจก็หายนะ อำนาจช่วยให้ผลลัพธ์มันไปได้สุดทาง
@user-pn1wi3hg7m
@user-pn1wi3hg7m 3 ай бұрын
คนๆนึงไม่ได้มีอำนาจเหนือใครเลย แต่อำนาจที่เขามีมาจากคนอื่นๆมอบให้ มอบให้เขาเป็นผู้นำ ถ้าเขาทำตัวเป็นภัยต่อผู้ให้อำนาจเขาก็จะถูกลดทอนอำนาจเอง
@macbookpong
@macbookpong 3 ай бұрын
วัดจากอะไรนะว่า ก้าวหน้า หรือถอยหลัง
@petdootaku733
@petdootaku733 3 ай бұрын
คุณฟางน่ารักจริงๆ 5555
@nanajampie5914
@nanajampie5914 Ай бұрын
อยากให้พูดเรื่อง free will จังเลยค่ะ ว่าจริงๆแล้วมนุษย์เรามีเจตจำนงเสรีจริงๆหรือไม่
@468BanPhai
@468BanPhai 2 ай бұрын
คำว่าเหตุผลคือคำกลางๆ เหตุผลมีทั้งเหตุผลถูกและผิด ดีไม่ดี หรืออื่นๆ ส่วนคำถามบางคำถามผู้ฟังอาจจะเข้าใจคำถามในมุมที่ต่างกันได้ จึงได้คำตอบที่ต่างกัน และเหตุผลบางอย่างอาจเปลี่ยนไปได้ตามกรอบกำหนด อยู่ที่คุณจะโฟกัสกรอบไหน
@GodzyDream
@GodzyDream 3 ай бұрын
รักแท้ ต้องตลอดไป ผมไม่เชื่ออีกแล้ว...
@apisitha.1554
@apisitha.1554 3 ай бұрын
15.00 เราจะพินิจพิจารณาได้อย่างไรว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี เพียงเพราะตัวเราเอาเราไปตัดสินเอง ทั้งคำว่าธรรมชาติสร้างมาแบบนี้ เพราะ “มนุษย์ คือ มาตรวัดสรรพสิ่ง” 14:13
@NP09str
@NP09str Ай бұрын
ep มี hidden agenda ค่อนข้างเข้มข้นเลยนะครับ ใครฟังอยู่ก็อย่าลืมใช้เหตุผลอย่างมีตรรกะกลั่นกรองมันออกมาด้วย
@user-cd5ym7kx1l
@user-cd5ym7kx1l 29 күн бұрын
การเรียนรู้..การเข้าถึงความจริง...เหตุและผล...เรื่อง..สัจจะ..คือความจริง....หรือ สัจจะธรรม คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย...นีคือความจริง...ทุกรูปนาม..นีคือ..รูป นาม ขันธ็ 5 ที่หนีไม่พ้น..จะมั่งมี รวย จน ยศ ฐานะ...อารัยก็แล้วแต่..หนีไม่พ้น.... ทุกข์...ที่ปรากฎ..คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ ความปรารถนาไม่ได้ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเปนทีรักที่พอใจ ความหวังทีไมได้ก็เปนทุกข์....นี่คือ....ความจริง...ฉะนั้น...ศีลธรรม...มันคือกฎหมายอยู่แล้ว....แต่มนุษย์ปฎิเสธ.....เพราะอารัย...เพราะการฝืนใจ บังคับใจ อดทน อดกลั่นต่อ..กิเลสในใจไม่ไหว...เลยละเมิดจากการปฎิบัติ..ต่อข้อกฎหมาย...ฉะนั้นกฎหมายทำให้เท่าเทียมกันได้.....แต่คนใช้กฎหมาย..อาจจะทำให้เท่าเทียมกันไม่ได้...อำนาจ เงิน..ผลประโยชน์...มันแฝง...สังคมมันมี ถูก กับผิดเท่านั้น...มันจึงบอกว่ามือคนเราไม่เท่ากัน..มันขึ้นอยู่ว่า..เรามีเหตุผลและความจริงมากน้อยขนาดไหน..ยิ่งประชาธิปไตยแล้ว.ที่เรียกว่าเสรี..ในความคิด..มันจะไม่ปรากฎความเท่าเทียมเลยก็ว่าได้....ความเท่าเทียมยิ่งหาไม่เจอเลย..ทุกอย่างมันแข่งขันกันหมด...การค้า การขาย โรงงาน..เพราะเสรีจนขาดความควบคุม.... มันมีแต่กฎหมาย.เท่านั้น..ที่ทำให้เท่าเทียมกันได้...ผู้ใช้กฎหมายก็ต้องตรง....ผู้ปฎิบัติตามก็ต้องตรง....อันนี้สิ...ความเท่าเทียมเกิดแน่.....รวยทำผิดก็ต้องรับโทษ...คนจนทำผิดก็ต้องรีบโทษ.....ฉะนั้น...มันอยู่ทีเราเลือก..คยประเภทไหนเข้ามาทำงาน..เกี่ยวกับ...การเมือง..บทกฎหมาย...เที่ยงธรรม...มีศีล..มีธรรม..ประจำจิต.....หากอยู่ในมือ คนไร้ศีล ไร้ธรรม...บ้านเมืองก็เข้าสู่...ยุคมืด....เพราะอำนาจความชั่วบดบังความดี....ศาสนาพุทธ...มีบทตอน...ไม่ว่าจะวรรณะใด ลัทธิใด. มาบวชในศาสนา...ย่อมไหลรวมสู่ที่เดียว...คือ ศาสนาพระพุทธเจ้า..มีหลักธรรมวินัยเปนเครื่องอยู่..... ไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นใดๆทั้งสิ้น....ธรรมวินัย..นี้แหล....ที่ทำให้เห็น ความเปน เพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งนั้น....
@user-rq7wf2rx5e
@user-rq7wf2rx5e 3 ай бұрын
เย้ คุณฟางกลับมาแล้ว เอาจริงๆเสียดายรายการใดๆในโลกล้วนฟิสิกซ์นะ ไม่อยากให้ลบทิ้งเลย ไม่ใช่ว่าเสียดายคนนั้นนะ แต่เสียดายที่คลิปเหล่านั้นมีคุณฟาง น่าจะเปลี่ยนบุคคลแต่ดำเนินรายการต่อ
@14125004
@14125004 3 ай бұрын
เกิดมาผู้หญิงก็อ่อนแอกว่าผู้ชาย เป็นตั้งแต่เกิดจนตาย คุณเคยเห็นผู้หญิงสร้างอาคารบ้านเรือนที่เป็นหนึ่งในอารยธรรมของมนุษย์ไหมล่ะครับ
@THEWORLD-fi1mz
@THEWORLD-fi1mz 3 ай бұрын
ผมหยุดมองคุณฟางไม่ได้ รู้สึกคุณฟางน่ารักเกิน
@ChonlasitSukkhid
@ChonlasitSukkhid 3 ай бұрын
พิธีกรอาชีพที่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆตลอดเวลา❤
@BDTPTCKP1982
@BDTPTCKP1982 3 ай бұрын
การเปลี่ยนแปลง คือ สัจธรรมแห่งชีวิต มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 🤟👪🏕️🏡🌃🙏👶🌏🇹🇭🌩️🏙️🌧️⚡🔥🌀⛈️🌧️
@nguenga
@nguenga 3 ай бұрын
แต่ละตอนผมว่าจี๊ดสุดๆเลยครับ
@Azhary-qi7pk
@Azhary-qi7pk 2 ай бұрын
พี่ภาคิน นี่เสียงเหมือนแคชเกมเมอร์ชื่อ ขอรบกวนในชุดนอนเลยครับ
@augustspring5560
@augustspring5560 3 ай бұрын
ฟังแล้วอยากเรียนปรัชญาเลย
@heisewiz
@heisewiz 3 ай бұрын
อย่่างน้อยที่สุด การที่เราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากันก็ทำให้มีความพยายามในการลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมโอกาสให้กลุ่มที่ด้อยโอกาสมากขึ้น ซึ่งถ้าคนมีอำนาจเชื่อว่าให้ตายยังไงก็ไม่เท่ากันก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
@user-ku6kx4fc6j
@user-ku6kx4fc6j 3 ай бұрын
ธรรมชาติของมนุษย์คือความไม่รู้เป็นเหตุแห่งความกลัวความกล้า
@famobile889
@famobile889 3 ай бұрын
คนที่ไม่มีวุฒิภาวะจะเลือกตั้งส.ส.มีจริงๆแม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม เขาแทบไม่รู้เรื่องการเมืองการปกครองเลย เห็นมีอยู่เข้าใจได้แค่ฟังเขาคุยกัน เรารู้จักเขาดีด้วย.
@pawenawayne5104
@pawenawayne5104 3 ай бұрын
การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เท่าเทียม ยิ่งเสี่ยงต่อสงครามกลางเมือง และสุดท้ายจะกลับมาไม่เท่าเทีบมกันเอง เช่น ไทย ไม่เท่ากับพม่า เป็นต้น “...เสรีนิยมแท้ๆ ไม่มีคอนเซปต์เรื่องการพัฒนา มันมีแต่ 'การแข่งขัน' ... จากใคร ? จากเสรีชน โดยที่ทุกคนมุ่งผลกำไรส่วนของตน หน้าที่ของประชาชน คือหากำไรเท่าที่จะหาได้ แล้วจากกลไกนี้ ทุกอย่างจะปรับตัวของมันเอง..." . “... การพัฒนา หมายถึงการเบี่ยงเบนผลจากที่หนึ่ง ไปใส่อีกที่หนึ่ง มันคือรูปแบบหนึ่งของการปล้น ดังนั้นมันจึงขัดแย้งกับเสรีภาพ...” การพัฒนา คืออีกด้านของ 'การปล้น' ในทางปรัชญามันเป็นอย่างนั้น เพราะมันมีค่าเสียโอกาส มันมี crowding out effect (ภาวะเบียดอีกที่หนึ่ง ไปเพิ่มให้อีกที่หนึ่ง) ถ้าเรียนมหภาคตัวต้นก็จะรู้ . สายเสรีจะมองว่าเมื่อรัฐใช้ทรัพยากร ย่อมแย่งโอกาสการพัฒนาตามกลไกตลาดเสรี . ยิ่งเอาไปกระจาย ยิ่งจะก่อความขัดแย้ง และการสงคราม
@siraphopnilbodee45
@siraphopnilbodee45 3 ай бұрын
เคยเชื่อว่ามนุษย์ควรเท่าเทียมกันฮะ
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
แวะมาบอกว่าติดตามคุณขิงและทีม rightshift อยู่ตลอดนะครับ ผมเข้าใจว่าฐานคิดเราอาจจะต่างกันในบางเรื่อง แต่ผมสนุกมากๆ และดีใจที่มีคนสนใจ libertarianism อย่างเป็นจริงเป็นจังขนาดนี้ หวังว่าจะมีโอกาสได้พูดคุยกันจริงๆ สักครั้งครับ 😄
@siraphopnilbodee45
@siraphopnilbodee45 3 ай бұрын
@@pknnn ขอบคุณครับ เขินเลยฮะ ☺
@guugugh
@guugugh 3 ай бұрын
มาฟังเพราะดราม่า
@tanoi4047
@tanoi4047 2 ай бұрын
เนื้อหาดีและน่าสนใจมากครับ แต่เสียงแบล็คกราวด์น่ารำคาญ เหมือนเสียงโทรเข้าของโทรศัพท์..
@anusondongjohn5406
@anusondongjohn5406 3 ай бұрын
เคยเชื่อใจคนคนนึงว่าเขาจะรักเราเหมือนที่เรารักเขา😢
@macbookpong
@macbookpong 3 ай бұрын
ทำไมบนธรบัตรสหรัฐยังเขียนว่า “In god we trust” ครับ?
@whatTabouTyoU
@whatTabouTyoU 2 ай бұрын
ขอแค่ความเท่าเทียมเท่ากันนั้นเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมก็พอแล้ว
@shankusualice
@shankusualice 2 ай бұрын
คำถามทิ้งท้าย... พูดได้หราาาา
@DidierSomnuke
@DidierSomnuke 3 ай бұрын
เราจะฝืนธรรมชาติและห้ามไม่ให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ
@56789kaka
@56789kaka 3 ай бұрын
เชื่อว่าพอได้ยินคำถามปิดท้ายจากน้องฟาง คำว่า เบิกเนตร กับ ตาสว่าง แว๊บมาในสมองหลายคนแน่ๆ😅😅😅
@macbookpong
@macbookpong 3 ай бұрын
ดี? ดีของมนุษย์? หรือดีของธรรมชาติ?
@wutthiphongboodnon
@wutthiphongboodnon 3 ай бұрын
ดีของมนุษย์ครับ ถ้าดีของธรรมชาติก็ควรจะลบมนุษย์ออกไปจะดีกว่า อากาศ ป่าไม้ ทะเล ทุกอย่างจะดีหมดเลยถ้าไม่มีมนุษย์
@north9854
@north9854 3 ай бұрын
คนพูดก็ยึดติดว่า “เท่าเทียม” คือสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่เห็นให้เหตุผลซักอย่างว่ามัน ดี/ถูกต้อง ยังไง 🤭🤭🤭
@showcase389
@showcase389 3 ай бұрын
ไม่น่านะครับ เขาพูดอยู่ตอนท้ายว่าไม่ได้แปลว่าความเท่าเทียมเป็นสิ่งที่ดี 16:39
@heisewiz
@heisewiz 3 ай бұрын
“มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน…แต่ก็มีมนุษย์บางคนเท่าเทียมกว่าคนอื่น”
@BIP141
@BIP141 3 ай бұрын
@bearkimhongwit3735
@bearkimhongwit3735 2 ай бұрын
เข้าหอสมุด เลือกหนังสือเล่มไหน ขฏมย จนมาก ช่างมัน นัดต่อย กำลังกายวัด
@sgshshszvsgsg5208
@sgshshszvsgsg5208 3 ай бұрын
11... 😂
@dreamingacacia
@dreamingacacia 2 ай бұрын
นิ้วมืออาจไม่เท่ากัน แต่ข้อมือเท่ากันนะครับ
@dreamingacacia
@dreamingacacia 2 ай бұрын
ส่วนตัวไม่เชื่อในความเท่าเทียมครับ ผมเชื่อในบรรทัดฐานสังคมและสิทธิมนุษยชนมากกว่า ถ้าอยากให้คนเท่าเทียมกันก็ต้องเริ่มจากตรงนี้ก่อน ส่วนเรื่องที่สูงขึ้นไปอีกผมคิดว่าเราควรจะเริ่มต้นจากจริยธรรม ethic เป็นหลัก หลังจากตรงนี้ถ้าเราแก้ได้แล้วก็ค่อยให้คนที่มีควาวมรู้เฉพาะทางเสนอแนวทางแก้ไขขึ้นมา คนที่เกิดในยุคที่บรรทัดฐานของสังคมเป็นเนินเขาและสิทธิมนุษยชนไม่ทั่วถึงอย่างผมไม่อาจมองเห็นสิ่งที่ไกลกว่านี้ได้ ภูเขามันบังอยู่ ถ้าพูดถึง Hierarchy ยังไงก็ต้องมีครับ สังคมจะวุ่นวายถ้าทุกคนมีอำนาจเท่ากัน ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพ และความถนัดของคนเราแตกต่างกัน การมอบภาระหน้าที่และอำนาจให้กับแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสังคมและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงความรู้ควรถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสม ความรู้พื้นฐานควรเป็นสิ่งที่ใครก็เข้าถึงได้ ส่วนความรู้ระดับสูงจะต้องได้รับความยินยอมจากระบบก่อน ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์ตัวเองด้วยการสอบในหัวข้อนั้นๆ หรือการมีภาระหน้าที่ที่จำเป็นจะต้องใช้งานความรู้ในส่วนนั้น ก็ประมาณนี้ ผมพยายามพัฒนา ideology ของตัวเองผ่านความรู้และประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ผมตั้งชื่อว่า Silver Erudite แต่มันยังไม่พร้อมที่จะเผยแพร่ให้ผู้คนได้อ่านกัน อาจจะต้องอีกหลายสิบปีกว่ามันจะเสร็จ หรือมันอาจจะไม่มีวันที่จะเสร็จเลยก็ได้
@WishayadaCoco
@WishayadaCoco 3 ай бұрын
สังคมที่ตั้งคำถามยากคือ เราตั้งคำถามแล้วโดนว่าโง่ แล้วบางทีไม่ได้คำตอบด้วยนะ 😅
@BC_-hg9pv
@BC_-hg9pv 3 ай бұрын
ผู้ชำนาญการชี้นิ้ว
@eak9110
@eak9110 3 ай бұрын
เหตุผลไหนที่เราเคยเชื่อ แต่ไม่ใช่สื่งที่เชื่ออีกแล้ว? เด๋วมันมีเคสยอดนิยมขึ้นมาว่าเป็นเรื่อง "สถาบัน" แต่เด๋วก่อนนนน ลองตอบคำถามตัวเองในใจก่อนว่า "เราเคยใช้เหตุผลกับเรื่องสถาบันมาก่อนจริงๆ รึป่าว" หรือแม้กระทั้งปัจจุบันที่คุณไม่เชื่อเรื่องนี้แล้ว "มันมาจากเหตุผลมากกว่าอารมณ์จริงรึป่าว?" เพราะมันมักจะมีชุดความคิดนึงที่อ้างว่า เมื่อก่อนเชื่อ แต่ปัจจุบันไม่เชื่อ ทั้งที่เมื่อก่อนก็ไม้ได้เชื่อแต่แรกแล้วแค่เฉยๆ (ไม่มีเหตุผลของความเชื่อด้วยซ้ำ) พอเวลาผ่านไปถึงปัจจุบันกลับอ้างว่า "เคยเชื่อแต่ตอนนี้ไม่เชื่อ" เพื่ออธิบายเหตุผลให้ตัวเองมีความก้าวหน้า ตื่นรู้ ตาสว่างกว่าใคร และสุดท้ายย้ำในสิ่งที่ content ตอนนี้สอนไว้ "มันจะก้าวหน้าก็จริง และรู้สึกว่านั่นคือเหตุลที่ก้าวหน้าแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะถูกต้องตลอดไป" ***แค่มันถูกใจคุณในตอนนี้ ที่อธิบายมาจะสรุปให้ว่า ทำไมพอวันนึงเราไม่เชื่อในเหตุผลของสิ่งนั้นแล้ว เราจำเป็นต้องมีความอคติและโกรธเกลียดสิ่งนั้นด้วยหรือป่าว? ถ้ายังมีความคิดแบบนี้อยู่ ส่วนตัวผมไม่คิดว่าคุณเข้าใจในเหตุผลใหม่ ที่ทำให้เปลี่ยนความเชื่อหรอก คุณแค่กำลังถูก blends ความคิดกับเชื่อที่เกลียดชัง
@baxjk
@baxjk 3 ай бұрын
สังคมนิยมยัง ไม่ได้เลย ยังมีผู้นำ อย่าฝัน
@sper8556
@sper8556 3 ай бұрын
คลาสสิก "ถ้าคนเราเท่าเทียมกัน ใครจะทำงานเก็บขยะ ทำนา" อื่นๆ บลาๆๆ
@aeta2802
@aeta2802 3 ай бұрын
นั้นเปลี่ยนเป็นประโยชน์​แห่งอนาคต​ ถ้าคนเราเท่าเทียมกันทำไมมีคนยอมเป็นทาส​ ต้องทำตามคำสั้ง ต้องให้มาเลี้ยงดู​ ต้องรับการเลี้ยงดู​ และอื่นฯ
@bearkimhongwit3735
@bearkimhongwit3735 2 ай бұрын
ฆ่าแม่ด้วยความหิว กล้องข้าวน้อย คิดได้ไง Morel
@SkizzikArm
@SkizzikArm 3 ай бұрын
เหตุผลที่เคยเชื่อ แต่ปัจจุบันไม่เชื่อ: ศาสนา
@JumpTaeyeon
@JumpTaeyeon 3 ай бұрын
ผมลองคิดว่าอีก 200 ปีจากนี้ ทุกคนที่อยู่บนโลกในตอนนี้ก็จะไม่มีชีวิตอยู่แล้วอย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ "เหตุผล" ต่างๆ ที่จะส่งต่อไปยังคนรุ่นต่อไป ผมเชื่อว่าทุกเหตุผลของแต่ละคนมีความหมาย และความสำคัญตามแต่บริบทของคนนั้นๆ แต่ช่วยเถอะ ขอเหตุผลที่มันไม่บ้งได้ไหม ผมเบื่อออออ 55555555
@dvgamerr
@dvgamerr 2 ай бұрын
" ภาษี เอาไว้พัฒนาประเทศ "
@manu47193
@manu47193 3 ай бұрын
❤ผมเป็น FC (ทาส) ครับ😅
@momo-ql4sg
@momo-ql4sg 3 ай бұрын
ศาสนา ไม่เชื่อต่อไปแล้ว
@pmnz9483
@pmnz9483 3 ай бұрын
ธรรมชาติรู้ด้วยเหรอครับอะไรดีไม่ดี ผมว่าธรรมชาติก็แค่รักษาสมดุลของมันเอง
@pmnz9483
@pmnz9483 3 ай бұрын
ถ้ามองแค่ด้านคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ มนุษย์ก็อาจเท่าเทียมกัน แต่ความเป็นจริง มนุษย์มีอารมณ์ มีความต้องการต่างๆ ที่ทำให้เราแตกต่าง จากมนุษย์คนอื่น ผมว่านี้คือธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ว่ายังไงมนุษย์ก็หาทางที่จะสร้างความไม่เท่าเทียมอยู่ดี ผมว่ายังไงมนุษย์ก็ไม่เท่าเทียมกัน ถึงคนส่วนมากอยากให้เท่าเทียม❤
@GGcxvw558
@GGcxvw558 3 ай бұрын
รู้สิ การวิวัฒนาการไง ไม่ดีก็สูญพันธ์ ดีก็ไปต่อสืบเผ่าพันธ์ได้
@GGcxvw558
@GGcxvw558 3 ай бұрын
เหมือนกันนะทำไม่ได้ แต่เท่าเทียมทำได้ อย่างน้อยก็ในมิติของสังคม ภาษีก็คือส่วนหนึ่งของการพยายามทำให้สังคมเท่าเทียม และเป็นเครื่องมือสำคัญ
@pknnn
@pknnn 3 ай бұрын
@@pmnz9483 ขอบคุณมากเลยครับ คำถามข้างบนผมเดาว่าน่าจะหมายถึงคำว่า 'ธรรมชาติ' ในวลี 'ธรรมชาติของมนุษย์' ใช่ไหมนะครับ ถ้าใช่ ธรรมชาติในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายความว่า ธรรมชาติแบบ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สัตว์ป่า หรือสิ่งที่ดำเนินไปในโลก แต่น่าจะเป็นทำนอง 'ลักษณะพื้นฐาน' ของมนุษย์มากกว่าครับ เหมือนเวลาเราพูดว่าธรรมชาติของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก็คือมันมี 'ลักษณะพื้นฐาน' คือตั้งอยู่บนการพิสูจน์ ทดลอง ตรวจสอบได้ พิสูจน์ผิดได้ เป็นต้น พูดอีกแบบก็คือ เวลาพูดถึงธรรมชาติของมนุษย์ เรากำลังบอกว่า มนุษย์มีลักษณะทั่วๆ ไปที่จะเป็นแบบนี้ ในข้อเสนอของ ep นี้ก็คือ มนุษย์อาจจะทั้งเอารัดเอาเปรียบกัน แต่ก็ช่วยเหลือกันได้ อาจจะคิดถึงประโยชน์ส่วนตน แต่ยังคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมได้ เข่นฆ่าใช้ความรุนแรง แต่ก็พัฒนากฎเกณฑ์หรือวัฒนธรรมมากำกับสิ่งเหล่านั้นไว้ ในแง่นี้ ธรรมชาติของมนุษย์จึงน่าจะกว้างว่าที่เราทั่วไปนิยาม กลับมาตอบคำถาม ธรรมชาติในความหมายนี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่ 'รู้' อะไรได้นะครับ
@pmnz9483
@pmnz9483 3 ай бұрын
@@pknnn @pknnn นิยามธรรมชาติที่ผมเข้าใจก็คือ ความเป็น ไปของทุกสรรพสิ่ง ตั้งแต่อะตอม ถึง เอกภพ ผมไม่รู้มาก่อนว่ามนุษย์มีนิยามธรรมชาติเป็นของตัวเองด้วย หรือผมเข้าใจผิดครับ
@kittikhunk4788
@kittikhunk4788 3 ай бұрын
ฟังไปเห็นภาพของตรรกะบ้งๆของสังคมไทยในบริบทปัจจุบันมากๆ
@Kitti-td8fd
@Kitti-td8fd 3 ай бұрын
ป๋องแป๋งต้องมาแร้ว
@aunzekasit2240
@aunzekasit2240 3 ай бұрын
นึกถึงประโยคนั้นที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวนั้นเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางตัวเท่าเทียมกว่า ในแอนิมอลฟาร์มเลยครับ 55555
@DataRockie
@DataRockie 3 ай бұрын
ปรัชญาคือการค้นหา fundamental truths หรือความจริงในโลกนี้ ส่วน "เหตุผล" เป็นแค่วิธีหนึ่งที่เราใช้หาความจริง ความจริงที่มันเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เปลี่ยนตามสถานการณ์ บางอย่างเคยจริงในอดีต วันนี้อาจไม่จริงแล้ว สิ่งเดียวที่แน่นอนคือ ความไม่แน่นอน ความรักก็เช่นกัน สาธุ
@afreedomoil7202
@afreedomoil7202 3 ай бұрын
แอดทอยย ไหมนะ
@DataRockie
@DataRockie 3 ай бұрын
@@afreedomoil7202 คร้าบ 55
@tupped
@tupped 3 ай бұрын
สถาบัน
@kengcg8057
@kengcg8057 3 ай бұрын
ขอเถียงครับน้ำท่วมไม่ดีต่อมนุษย์แต่อาจจะดีกับปลาครับเพราะฉะนั้นธรรมชาติถูกต้องเสมอ 55555
@SkizzikArm
@SkizzikArm 3 ай бұрын
ตรรกะชุดนี้ลึกซึ้งนะครับเนี่ย
@pornchaitantivitayapitak5424
@pornchaitantivitayapitak5424 3 ай бұрын
ความไม่เท่าเทียมกัน(ในแง่ของความเป็นมนุษย์) อาจไม่ใช่เรื่องของการให้เหตุผลอย่างเดียว แต่ใช่แน่ที่เหตุผลเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องราวของความไม่เท่าเทียมกัน มันดำรงอยู่นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มเข้าสู่ยุคเกษตรกรรม การแบ่งชนชั้นและกำหนดให้มนุษย์บางเผ่าพันธุ์เหมือนสัตว์(ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน) เป็นเรื่องปกติที่ไม่ต้องการเหตุผลอธิบาย แม้เราจะอธิบายว่าเพราะการใช้อำนาจหรือการกดขี่อะไรก็แล้วแต่ แต่พวกเขาเชื่อว่า คนไม่เท่ากันแน่นอน เหมือนกับที่เราไม่มีทางเท่ากับพระเจ้า ความไม่เท่าเทียม จึงเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่า เหมือนเรื่องเล่าเกี่ยวกับเทพจำนวนมาก การต่อสู้และการกบฏในอดีต ไม่ได้ต้องการปลดปล่อยให้คนเท่าเทียมกัน เป็นการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ตราบจนกระทั่ง การเปลี่ยนแปลงความคิดครั้งใหญ่ในยุค Enlightenment ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความรู้ และพัฒนาการทางการเมืองในยุคก่อนหน้า ความคิดว่ามนุษย์เท่าเทียมกันจึงลงหลักปักฐาน เหตุผลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ส่วนพัฒนาการของสังคมที่เปลี่ยนไป คือเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
Best father #shorts by Secret Vlog
00:18
Secret Vlog
Рет қаралды 22 МЛН
ปรัชญาคืออะไร?
34:12
อาจวรงค์ จันทมาศ
Рет қаралды 92 М.