ไทย - เกาหลี : ก่อนยุคการส่งออกวัฒนธรรม | จากรากสู่เรา ซีซัน 2

  Рет қаралды 8,258

Thai PBS

Thai PBS

Жыл бұрын

ความสัมพันธ์ไทย - เกาหลี ไม่ปรากฏหลักฐานเด่นชัดนักในอดีต จนกระทั่งปี 2493 ที่ไทยส่งทหารไปช่วยรบในสงครามเกาหลีทำให้คนไทยเริ่มรู้จักเกาหลีใต้ในฐานะประเทศที่ยากจน ผ่านกระแสของเพลงและภาพยนตร์เรื่อง “อารีดัง” หลังจากนั้นเรื่องราวทางวัฒนธรรมของเกาหลีก็เงียบหายไปจากการรับรู้ของสังคมไทย
กระทั่ง 10 กว่าปีที่ผ่านมา “Korean Wave (โคเรียน เวฟ)” ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก รวมถึงไทยด้วย หลายคนอาจคิดว่า โคเรียน เวฟ จะทำลายความเป็นไทยของเราหรือไม่ ? วัฒนธรรมไทยจะถูกกลืนหายหรือเปล่า ? เป็นคำถามที่หลายคนอาจกำลังสงสัยอยู่ในขณะนี้ !!!
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ไทย - เกาหลี : ก่อนยุคการส่งออกวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/JakRakSuRao
#จากรากสู่เรา #ประวัติศาสตร์สังคม #สารคดีไทยพีบีเอส #ไทย #เกาหลี #ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-------------------------------------------------------
กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : thaip.bs/YSBht5j
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : www.thaipbs.or.th
Facebook : www. ThaiPBS
Twitter : / thaipbs
Instagram : / thaipbs
LINE : www.thaipbs.or.th/AddLINE
TikTok : / thaipbs
KZfaq : / thaipbs

Пікірлер: 9
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ สมัยก่อนสยามหรือไทยเราก็ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ร่ำรวยมากนัก ความสำคัญในระดับโลกก็น้อย แต่ถึงกระนั้นก็มีการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศสยาม/ไทย มานานแล้วในหลายประเทศ เช่น 1. นายทองคำ ชาวเพชรบุรีที่ได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาในช่วงสมัยรัชกาลที่หก ช่วงแรกได้พักอาศัยกับศาสตราจารย์ Cornelius Bradley บุตรชายของ Dr. Dan Beach Bradley หรือคุณหมอบรัดเลย์ ตอนนั้นศาสตราจารย์ท่านสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พระราชพงศาวดารสยามที่ UC Berkeley รัฐแคลิฟอร์เนีย 2. พันเอกวิชา ฐิตวัฒน์ นักเรียนทหารไทยผู้ศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยของเยอรมนีช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เล่าว่าท่านไปเรียนภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ซึ่งมีสอนแทบทุกภาษาในโลกแม้แต่ภาษาไทย 3. ไทยเริ่มมีการสอนภาษาญี่ปุ่นช่วงทศวรรษที่ 1930 การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยและภาษาไทยในญี่ปุ่นน่าจะเริ่มต้นช่วงเดียวกันหรือก่อนหน้านั้น 4. ภาควิชาภาษาไทยของมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็เริ่มสอนตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1950 อาจารย์ในช่วงแรกๆ เป็นชาวจีนที่เกิดและโตในไทย ส่วนการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยมีในโรงเรียนจีนและในครอบครัวคนจีน ซึ่งมักสอนเป็นภาษาจีนถิ่นต่างๆ เป็นหลัก ต่อมาถูกห้ามในสมัยที่ไทยต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ หลังไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1975 แล้วก็ไม่ห้ามเช่นในอดีต เริ่มมีการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ประมาณทศวรรษที่ 1970 โดยเป็นภาษาจีนกลางมากขึ้น ส่วนภาษาจีนถิ่นต่างๆ ยังมีการพูดอยู่บ้างในบางครอบครัว 5. ของเกาหลีใต้เคยดูในรายการหนังพาไป มีเทปหนึ่งไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนภาษาไทยของมหาวิทยาลัย Hanguk University for Foreign Study ซึ่งในวิดีโอระบุว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีการเรียนการสอนภาษาไทยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ในขณะที่มหาวิทยาลัยของไทยเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในทศวรรษที่ 1990 ก่อนกระแสเกาหลี Korean Wave หรือ Hallyu จะมา จำไม่ได้ว่าระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ไหนเป็นที่แรกที่เริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในไทย เท่าที่ทราบมีประมาณนี้ ถ้าเป็นของอังกฤษกับฝรั่งเศสน่าจะมีการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองไทยมาในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันหรือก่อนหน้าประเทศเหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการตอบสนองต่อลัทธิจักรวรรดินิยม โชคดีที่สยามรอดมาได้ สยามเริ่มต้นเรียนรู้จากต่างประเทศอย่างเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ห้า เริ่มมีมหาวิทยาลัยสมัยรัชกาลที่หก การเรียนภาษาต่างประเทศในไทยยุคแรกๆ ก็มักเรียนภาษายุโรป ภาษาเอเชียเริ่มมีมากขึ้นช่วงหลัง บางสถาบันเช่นสถาบันของกองทัพ ก็มีการสอนภาษาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนก่อนมหาวิทยาลัยเสียอีก เพื่อตอบสนองความต้องการเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการทางทหารช่วงสงครามเย็น ต่อมาพอสงครามเย็นสงบ มีนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และกระแสอาเซียน ทำให้มีการเรียนการสอนภาษาของประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
ภาพวาดผู้หญิงเกาหลีสมัยรัชกาลที่ 3 วัดบางขุนเทียนนอกนี่น่าสนใจมาก เพราะตอนนั้นเกาหลีเป็นสมัยโชซอนซึ่งยังปิดประเทศอยู่ น่าสนใจว่าติดต่อกันช่วงนั้นได้อย่างไร
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
ดูในรายการหนังพาไป มีเทปหนึ่งไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนภาษาไทยของมหาวิทยาลัย Hanguk University for Foreign Study ซึ่งในวิดีโอระบุว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีการเรียนการสอนภาษาไทยมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ในขณะที่มหาวิทยาลัยของไทยเริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในทศวรรษที่ 1990 ก่อนกระแสเกาหลี Korean Wave หรือ Hallyu จะมา จำไม่ได้ว่าระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ไหนเป็นที่แรกที่เริ่มมีการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในไทย น่าสนใจว่าทำไมเกาหลีใต้ถึงเริ่มสอนภาษาไทยในช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งช่วงนั้นไทยยังไม่ค่อยพัฒนาและมีบทบาทไม่มากนัก และทำไมไทยถึงเริ่มสอนภาษาเกาหลีในช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งช่วงนั้นเกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งออก Soft Power แบบในปัจจุบัน ช่วงนั้น Soft Power ต่างชาติในไทยจะมาจากญี่ปุ่นและอเมริกาเป็นหลัก
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
เทปนี้น่าสนใจเช่นเคยครับ
@Chantawat2531
@Chantawat2531 24 күн бұрын
ประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2501 ครับ.
@thboy1037
@thboy1037 Жыл бұрын
มีเรื่องเล่าว่า อดีตประธานาธิบดีลี มยองบัค ครั้งหนึ่งเคยทำงานในบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งประมูลได้สัมปทานก่อสร้างถนนสายหนึ่งในจังหวัดปัตตานีที่ปัจจุบันเรียกว่า "ถนนเกาหลี" ตอนนั้นท่านต้องมาทำงานที่เมืองไทยบ่อยครั้ง และได้ชอบพอกับผู้หญิงไทยคนหนึ่ง ทว่าสุดท้ายก็ไม่ได้แต่งงานกัน
@weerayutnoiboontha4568
@weerayutnoiboontha4568 5 ай бұрын
ละตอนนี้
@dearea5139
@dearea5139 Жыл бұрын
แนวคิด รศ.ดร.ดำรงค์ ดีมากเลยค่ะ growth mindset
Пробую самое сладкое вещество во Вселенной
00:41
DO YOU HAVE FRIENDS LIKE THIS?
00:17
dednahype
Рет қаралды 49 МЛН
I’m just a kid 🥹🥰 LeoNata family #shorts
00:12
LeoNata Family
Рет қаралды 20 МЛН
He sees meat everywhere 😄🥩
00:11
AngLova
Рет қаралды 10 МЛН
5 маусым соңғы эфир!
2:27:27
QosLike / ҚосЛайк / Косылайық
Рет қаралды 508 М.
Добейти 100000 подписчиков | Тгк- @Rom4ik539
0:28
Papa yeh dila do ajse mein aapki behen 😢😊 #shorts
0:30
Sikha shorts and vlogs
Рет қаралды 113 МЛН